สัญญาณนี้ไม่ดีแน่ รีบตรวจสอบกระแสการเงินตัวเองดีกว่า

ในภาวะที่รายรับรายจ่ายพ่อค้าแม่ขายไม่แน่ไม่นอน เรื่องเงินทองอาจสร้างความกลัดกลุ้ม แต่ถึงแม้จะใจหายไปบ้าง แต่ไม่ควรนิ่งนอนใจ ควรใช้จังหวะนี้ตรวจสอบกระแสการเงินของตัวเองให้ดี เพื่อจะได้รู้ว่าควรดึงเบรกมือตอนไหน โดยให้สัญญาณเตือนภัยและวิธีตั้งรับมือเหล่านี้เป็นตัวช่วย


- ใจเริ่มไม่นิ่งเวลาเปิดดูยอดเงินคงเหลือ


ถ้าใจเริ่มสั่นเวลาจะเช็คยอดเงินในแอปพลิเคชันธนาคาร อาจถือเป็นสัญญาณว่า เราต้องให้ความสำคัญกับการเงินเพิ่มขึ้นอีก เพราะในใจเราย่อมรู้ดีอยู่แล้วว่า จ่ายเงินออกไปสวนทางกับตัวเลขเงินเข้าขนาดไหน แต่สุดท้ายตัวเลขสุทธิที่เห็นผ่านสายตา จะเป็นตัวบอกเราได้ดีว่าการเงินของตัวเองมีปัญหาเข้าให้แล้ว


- เริ่มหงุดหงิดเมื่อมีความข้อความหรือโทรศัพท์ทวงหนี้


ปกติทุกเดือนจะมีการส่งข้อความหรืออีเมล์เตือนหากใกล้ถึงเวลาต้องชำระหนี้ ซึ่งถ้าปล่อยผ่านงวดที่ต้องชำระ จะมีโทรศัพท์อัตโนมัติและข้อความเตือนให้ไปชำระหนี้ หากทุกครั้งที่ได้ข้อความแล้วหงุดหงิดกับการทวงถาม นี่คือเสียงเตือนภัยให้เราระวังว่า หากเพิกเฉยอาจมีชื่อติดในเครดิตบูโรเป็นของแถม


4 วิธีตรวจสอบกระแสการเงิน


1. เริ่มวางแผนตรวจสอบเส้นทางการเงินตัวเอง


หากเริ่มมีสัญญาณเตือนสองข้อแรก ควรเริ่มปรับพฤติกรรมใหม่ บังคับตัวเองให้บันทึกรายจ่ายทุกครั้งที่ต้องหยิบเงินในกระเป๋าสตางค์หรือหยิบมือถือมาสแกนคิวอาร์โค้ดชำระเงิน ลองใช้แอปพลิเคชันบันทึกรายรับรายจ่าย มีการแยกหมวดชัดเจนว่าเป็นรายได้หรือรายจ่ายประเภทไหน เดี๋ยวความจริงจะปรากฎให้เห็นเองว่า อะไรคือรายจ่ายหลักที่ทำให้ชีวิตปั่นป่วนตอนนี้ และเราเร่งลดส่วนไหนที่ไม่จำเป็นออกไปได้บ้าง

bad-sign-to-cash-flow-banne-01

2. เทียบรายได้กับรายจ่ายแบบค่าเฉลี่ยให้เห็นภาพ


ลองถอดรหัสรายได้ออกมาเป็นต่อชั่วโมงว่าเท่าไร ด้วยจำนวน 22 วันต่อเดือน หารเป็นรายวันและรายชั่วโมง จากนั้นก็ลองเทียบค่ากาแฟแก้วละร้อยกว่าบาทว่า ซื้อ 1 แก้ว จะเทียบเท่ากับการที่จะต้องนั่งขายของกี่ชิ้นถึงจะได้กาแฟแก้วนั้นมา เมื่อเห็นภาพชัด น่าจะทำให้เกิดความใส่ใจระมัดระวังกับการใช้เงินมากขึ้น


3. ถอดรหัสค่าใช้จ่าย


รวบรวมเอกสารค่าใช้จ่ายตลอดทั้งเดือนว่ามีอะไรบ้าง ตั้งแต่ใบแจ้งยอดหนี้บัญชีการเงินทั้งหมด ยอดชำระหนี้ทั้งหมด เช่น บัตรเครดิต ค่าผ่อนรถ ค่าผ่อนบ้าน หรือใบเสร็จต่างๆ และอย่าลืมค่าใช้จ่ายประจำวันหรือรายเดือน โทรศัพท์ ค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าอินเทอร์เน็ตด้วย


4. จัดลำดับความสำคัญของค่าใช้จ่าย


เมื่อเห็นความจำเป็นในการใช้จ่าย ให้แบ่งยอดเหล่านั้นตามระยะต่างๆ ดู เริ่มจาก “ระยะสั้น” คือ รายจ่ายประจำวันเพื่อการดำรงชีวิต เช่น ค่าอาหาร ของใช้ในบ้าน ค่าเดินทาง ค่าน้ำ ค่าไฟ ที่อย่างไรก็ต้องเตรียมให้พร้อม


ต่อมาคือ “ระยะกลาง” รายจ่ายความสุขเพื่อตัวเอง เช่น ท่องเที่ยว การซื้อของขวัญให้ตัวเอง ซึ่งอาจเป็นหนี้ที่ต้องผ่อนชำระ ตามด้วยค่าใช้จ่าย “ระยะยาว” คือ หนี้ที่ต้องชำระอย่างต่อเนื่อง เช่น ค่าผ่อนรถ ค่าผ่อนบ้าน


ส่วนค่าใช้จ่าย “ระยะครั้งคราวแต่มาบ่อยๆ” เช่น ค่าภาษีสังคม งานแต่ง งานบวช งานศพ งานช่วยอื่นๆ ก็ให้เตรียมไว้พอประมาณหากต้องใช้ขึ้นมาด่วนๆ ถ้าลองจัดลำดับความสำคัญค่าใช้จ่ายแบบนี้แล้ว เราจะเห็นน้ำหนักว่าไปอยู่ส่วนไหนเยอะ และกล้าปรับลดสิ่งไม่จำเป็นออกไปได้


สัญญาณหนักใจเรื่องเงิน อาจเป็นเรื่องเบาๆ ในอนาคตถ้าเรารู้เท่าทันตั้งแต่วันนี้ การวางแผนการใช้จ่ายอาจไม่ใช่เรื่องถนัดของใครหลายคน แต่ในแอป SCB EASY ก็มีตัวช่วยด้วยฟังก์ชั่น Just For You ที่เป็นผู้ช่วยด้านการเงินส่วนตัวอัจฉริยะที่ให้คุณรู้ทุกการใช้จ่ายผ่านบัญชีหรือบัตรเครดิตที่ผูกไว้กับแอป SCB EASY ทำให้สามารถจัดการการใช้จ่าย การออมเงิน และการลงทุนได้ดียิ่งขึ้น บวกกับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมกันสักนิด อาจไม่ต้องถอนหายใจเมื่อเช็คยอดคงเหลือในบัญชีเดือนหน้าก็ได้ ดูรายละเอียด Just For You เพิ่มเติมที่นี่

ที่มา
https://wealthmeup.com/21-02-05-trackspending/
https://takwarint.com/บทความ/f/สุขภาพการเงินจะ-แข็งแรง-ได้-ต้องดูที่อะไรบ้าง