ผลการค้นหา "{{keyword}}" ไม่ปรากฎแต่อย่างใด
การใช้และการจัดการคุกกี้
ธนาคารมีการใช้เทคโนโลยี เช่น คุกกี้ (cookies) และเทคโนโลยีที่คล้ายคลึงกันบนเว็บไซต์ของธนาคาร เพื่อสร้างประสบการณ์การใช้งานเว็บไซต์ของท่านให้ดียิ่งขึ้น โปรดอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมที่ นโยบายการใช้คุกกี้ของธนาคาร
การใช้และการจัดการคุกกี้
ธนาคารมีการใช้เทคโนโลยี เช่น คุกกี้ (cookies) และเทคโนโลยีที่คล้ายคลึงกันบนเว็บไซต์ของธนาคาร เพื่อสร้างประสบการณ์การใช้งานเว็บไซต์ของท่านให้ดียิ่งขึ้น โปรดอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมที่ นโยบายการใช้คุกกี้ของธนาคาร
ขอติดตั้ง Solar Rooftop หลังคาบ้าน ต้องทําอย่างไรบ้าง?
เทรนด์รักษ์สิ่งแวดล้อมกลายเป็นเรื่องที่คนยุคใหม่ให้ความสำคัญเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะการใช้พลังงานทดแทนจากธรรมชาติ ซึ่งหนึ่งในพลังงานสะอาดที่เขตโซนร้อนอย่างบ้านเรามีใช้ตลอดทั้งปีก็คือ พลังงานจากแสงอาทิตย์ และด้วยเทคโนโลยีที่ก้าวล้ำทำให้ในปัจจุบันการติดตั้งระบบผลิตพลังงานแสงอาทิตย์ที่ติดตั้งบนหลังคาบ้าน หรือโซลาร์รูฟ (Solar Roof) เพื่อผลิตไฟฟ้าไว้ใช้เองที่บ้านไม่ใช่เรื่องไกลเกินเอื้อมอีกต่อไป เพราะสามารถเข้าถึงได้ง่ายเนื่องจากมีหลากหลายบริษัทผู้ให้บริการติดตั้งพร้อมอุปกรณ์ที่ได้มาตรฐานให้เลือก ซึ่งมีราคาถูกลงกว่าในอดีต แต่รู้หรือไม่ว่า? การจะติดตั้งโซลาร์รูฟที่บ้านเพื่อผลิตไฟฟ้าไว้ใช้จะต้องมีการขออนุญาตจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเสียก่อน โดยมีหน่วยงานใดบ้างและวิธีการขอเป็นอย่างไรบทความนี้มีคำตอบให้
การติดตั้งระบบโซลาร์รูฟจะต้องดำเนินเอกสารแจ้งขออนุญาตกับ 3 หน่วยงานด้วยกัน
1. ที่ทำการท้องถิ่น (เขต)
การติดตั้งโซลาร์รูฟท๊อปจะต้องได้รับการประเมินพื้นที่ติดตั้งผ่านการตรวจสอบความมั่นคงแข็งแรง ติดตั้งแผงเซลล์แสงอาทิตย์ตามหลักวิศวกรโยธา โดยไม่เข้าข่ายดัดแปลงอาคาร ประกอบด้วยเอกสารแบบแปลนแสดงแผนผังและโครงสร้างหลังคา โครงสร้างรองรับแผงโซลาร์เซลล์ รายละเอียดการติดตั้ง
2. คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.)
ระบบโซลาร์รูฟ มีขนาดกำลังผลิตติดตั้ง (kWp) ต่ำกว่า 1000 kVA จะต้องยื่นแบบแจ้งการประกอบกิจการพลังงานที่ได้รับการยกเว้นไม่ต้องขอรับฝบอนุญาตต่อสำนักงาน กกพ.
3. การไฟฟ้านครหลวง / การไฟฟ้าภูมิภาค
สำหรับบ้านพักอาศัยที่ใช้ไฟฟ้า สามารถยื่นเรื่องขอขนานไฟฟ้าติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์หรือ Solar Roof เพื่อเชื่อมต่อกับระบบโครงข่ายไฟฟ้าแบบออนไลน์ได้เลย โดยในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑลจะต้องแจ้งกับการไฟฟ้านครหลวง (MEA) https://spv.mea.or.th/ และนอกเหนือจากนั้นแจ้งต่อการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (PEA) https://ppim.pea.co.th/
โดยที่ในการติดตั้งนี้ อุปกรณ์ที่ใช้ในการผลิตไฟฟ้าจะต้องเป็นไปตามมาตรฐานของการไฟฟ้า โดยอุปกรณ์หลักที่ใช้ต้องให้ความสำคัญเป็นพิเศษคือ อินเวอร์เตอร์และอุปกรณ์ป้องกันไฟฟ้าไหลย้อนกลับ (ดูรายชื่ออุปกรณ์ที่ได้มาตรฐาน https://www.mea.or.th/minisite/vspp/about/845) และจะต้องได้รับการตรวจสอบจากเจ้าหน้าที่ชำนาญการของการไฟฟ้าฯ เพื่อความปลอดภัยของผู้ใช้งานและของเจ้าหน้าที่การไฟฟ้าฯ ที่เข้ามาปฏิบัติงาน รวมไปถึงเพื่อป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นกับอุปกรณ์ที่อาจส่งผลกระทบต่อโครงข่ายระบบไฟฟ้าทั้งระบบ
การยื่นขออนุญาตมี 2 กรณีคือ
กรณีที่ 1 เพื่อใช้ภายในบ้าน / อาคารเพียงอย่างเดียว ผู้ใช้ไฟฟ้าสามารถขอติดตั้งระบบ Solar Rooftop ขนานกับระบบจ่ายไฟของการไฟฟ้า เพื่อผลิตไฟฟ้าไว้ใช้ภายในบ้าน
กรณีที่ 2 เพื่อใช้ภายในบ้าน / อาคาร และขายส่วนที่เหลือให้การไฟฟ้า โดยต้องเป็นผู้ใช้ไฟฟ้าประเภทที่ 1 ตามประกาศของการไฟฟ้า และสามารถขายไฟฟ้าส่วนที่เหลือให้กับการไฟฟ้าในอัตรารับซื้อ 2.20 บาท/หน่วย โดยมีระยะเวลารับซื้อไฟฟ้า 10 ปี
เอกสารประกอบการขอเชื่อมต่อระบบไฟฟ้า มีดังนี้
1 .แบบคำขอเชื่อมต่อฯ ดาวน์โหลด https://www.mea.or.th/minisite/vspp/about/845
2.สำเนาบัตรประชาชนเจ้าของเครื่องวัดฯ (กรณีบุคคคลธรรมดา)
3.หนังสือรับรองนิติบุคคล ที่มีวัตถุประสงค์ผลิตและจำหน่ายไฟฟ้าไม่เกิน 6 เดือน และสำเนาบัตรประชาชนของกรรมการผู้มีอำนาจลงนาม (กรณีนิติบุคคล)
4.หนังสือมอบอำนาจติดอากรแสตมป์ 30 บาท (กรณีมอบอำนาจ) ดาวน์โหลด https://www.mea.or.th/minisite/vspp/about/845
5.สำเนาบัตรประชาชนผู้รับมอบอำนาจ (กรณีมอบอำนาจ)
6.แผนผังแสดงที่ตั้งของสถานที่เชื่อมต่อฯ
7.แผนภูมิระบบไฟฟ้า (Single Line Diagram) ที่มีวิศวกรรับรองแบบ
8.สำเนาใบประจำตัวผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรที่ยังไม่หมดอายุ
9.เอกสารแสดงรายละเอียดคุณสมบัติของเครื่องกำเนิดไฟฟ้า
10.แบบแจ้งความประสงค์ในการใช้งานอุปกรณ์ควบคุมการจ่ายไฟไหลย้อนเข้าสู่ระบบโครงข่ายไฟฟ้าของ กฟน. (กรณีใช้อุปกรณ์ Zero Export Controller) ดาวน์โหลด https://www.mea.or.th/minisite/vspp/about/845
11.รายละเอียดอุปกรณ์ควบคุมการจ่ายไฟไหลย้อนเข้าสู่ระบบโครงข่ายไฟฟ้า (ระดับแรงดัน 12 kV ขึ้นไป)
การขออนุญาต
การไฟฟ้านครหลวง (MEA)
การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค PEA
ระยะเวลาการพิจารณา ประมาณ 30 วัน
ค่าใช้จ่ายในการยื่นขออนุญาต 9,095 บาท (รวม Vat) เป็นค่าเปลี่ยน Smart Meter
จะเห็นได้ว่าการขอติดตั้ง Solar Rooftop ที่หลังคาบ้านต้องมีการเตรียมเอกสารและมีขั้นตอนการยื่นขอที่ค่อนข้างซับซ้อน แต่ไม่ต้องกังวลใจไป หากเลือกใช้บริการติดตั้งโซลาร์เซลล์ผ่านบริษัทชั้นนำที่ได้มาตรฐานจะมีบริการแบบครบวงจรตั้งแต่การยื่นขออนุญาตติดตั้งระบบโซลาร์รูฟตลอดจนบริการหลังการขายให้กับลูกค้าแบบ All in one หากเป็นลูกค้าสินเชื่อบ้านของ SCB สามารถใช้บริหารสินเชื่อบ้านได้เพิ่มเพื่อติดตั้ง Solar Rooftop ดูรายละเอียดที่ /th/personal-banking/loans/home-loans/top-up.html/th/personal-banking/loans/home-loans/top-up.html
ที่มา :