ดิจิทัลแบงก์กิ้ง
SCB EASY App
เริ่มลงทุนง่ายๆ ด้วย SCB EASY App
ผลการค้นหา "{{keyword}}" ไม่ปรากฎแต่อย่างใด
การใช้และการจัดการคุกกี้
ธนาคารมีการใช้เทคโนโลยี เช่น คุกกี้ (cookies) และเทคโนโลยีที่คล้ายคลึงกันบนเว็บไซต์ของธนาคาร เพื่อสร้างประสบการณ์การใช้งานเว็บไซต์ของท่านให้ดียิ่งขึ้น โปรดอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมที่ นโยบายการใช้คุกกี้ของธนาคาร
การใช้และการจัดการคุกกี้
ธนาคารมีการใช้เทคโนโลยี เช่น คุกกี้ (cookies) และเทคโนโลยีที่คล้ายคลึงกันบนเว็บไซต์ของธนาคาร เพื่อสร้างประสบการณ์การใช้งานเว็บไซต์ของท่านให้ดียิ่งขึ้น โปรดอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมที่ นโยบายการใช้คุกกี้ของธนาคาร
โปรดระวังดอลลาร์ ‘กลับทิศ’
เมื่อพิจารณาภาพเศรษฐกิจการลงทุนทั่วโลกในปีที่ผ่านมาเมื่อเทียบกับปีนี้ เหมือนเป็นหนังคนละม้วน ในปีที่แล้วสินทรัพย์เสี่ยงอย่างดัชนีหุ้นทั่วโลกส่วนใหญ่ โดยเฉพาะในประเทศพัฒนาแล้วที่ปรับตัวลดลงในระดับ 10-20% จะมีเพียงบางตลาด เช่น ดัชนีหุ้นไทย ที่แทบจะไม่เปลี่ยนแปลงจากปีก่อน ขณะที่ผลตอบแทนพันธบัตรก็ปรับขึ้นรุนแรง โดยเฉพาะพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐอเมริกาที่ปรับขึ้นในระดับ 3.00-3.50% (หรือ 3.0-3.5%) ทำให้การลงทุนทั้งในหุ้นและพันธบัตรขาดทุนพร้อมกันเป็นครั้งแรกในรอบหลายทศวรรษ
ด้านราคาสินค้าโภคภัณฑ์ก็มีความผันผวนมากเช่นเดียวกัน โดยราคาน้ำมันดิบช่วงต้นปีและสิ้นปีดูเหมือนจะไม่เปลี่ยนแปลงเลย โดยอยู่ที่ระดับราคาประมาณ 80 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล แต่ในระหว่างปีราคาพุ่งขึ้นไปทำจุดสูงสุดถึงกว่า 125 ดอลลาร์ต่อบาร์เรลหลังจากรัสเซียบุกยูเครน และทำให้ราคาโภคภัณฑ์อื่นๆ ทั้งโภคภัณฑ์หนักอย่างนิกเกิลและทองแดง และโภคภัณฑ์เบาอย่างข้าวสาลีและถั่วเหลืองพุ่งขึ้นรุนแรง โดยราคาของสินทรัพย์บางตัวพุ่งถึงกว่า 1 เท่าตัวในบางช่วง แต่กลายเป็นว่าในช่วงท้ายปีราคาของโภคภัณฑ์หนักและเบาโดยเฉลี่ยต่ำกว่าราคาต้นปีเสียด้วยซ้ำ
ผ่านไป 1 เดือนในปีนี้ ผลตอบแทนของสินทรัพย์ต่างๆ ดูเหมือนกลับทิศ
ภาพที่เกิดขึ้นในตลาดการเงินในช่วงตั้งแต่ต้นปีผ่านมา ได้แก่
การปรับตัวขึ้นของสินทรัพย์ทั้งหมดมีจุดร่วมคือทิศทางดอลลาร์ที่อ่อนค่า โดยหากนับจากจุดที่ดอลลาร์อ่อนที่สุดในช่วงนี้ อันได้แก่ ช่วงเดือนตุลาคม 2022 ถึงปัจจุบัน ดัชนีค่าเงินดอลลาร์เมื่อเทียบกับคู่ค้าสกุลหลัก (หรือที่เรียกว่า DXY) แข็งค่าขึ้นประมาณ 10.6% โดยมีสาเหตุ 4 ประการ คือ
อย่างไรก็ตาม แม้ว่าดอลลาร์จะอ่อนค่าลงมากในช่วงนี้ และอาจจะอ่อนต่อไปอีกระยะหนึ่ง ท่ามกลางกระแสการชะลอการขึ้นดอกเบี้ยของ Fed แต่เรามองว่าในระยะต่อไปความเสี่ยงของเศรษฐกิจยังอยู่ในระดับสูงและอาจรุนแรงขึ้น ทั้งจาก
แต่หลายฝ่ายมองว่าเป็นสัญญาณที่ BOJ เตรียมจะยกเลิกนโยบายดังกล่าว (หรือที่เรียกว่าเป็นการทำให้นโยบายการเงินกลับมาเป็นปกติ หรือ Normalization) ดังนั้น BOJ จึงถูกตลาดทดสอบมากขึ้นเรื่อยๆ โดย Short หรือขายพันธบัตรรัฐบาลในตลาดล่วงหน้า และทำให้ BOJ ถูกบังคับให้ซื้อพันธบัตรจำนวนมหาศาลเพื่อพยายามลดอัตราผลตอบแทน โดยในวันที่ 12 และ 13 มกราคม BOJ ต้องซื้อถึง 9.5 ล้านล้านเยน (7.2 หมื่นล้านดอลลาร์) อย่างไรก็ตาม เมื่อวันที่ 18 มกราคม BOJ ยังคงส่งสัญญาณทำนโยบายการเงินผ่อนคลายต่อไป ทำให้นักลงทุนที่ Short Sale ขาดทุนมหาศาล
ในมุมมองของเรา เรามองว่าในระยะต่อไป (โดยเฉพาะช่วงที่เข้าใกล้เดือนเมษายน อันเป็นเดือนที่จะมีการเปลี่ยนตัวผู้ว่าการฯ) ความผันผวนด้านการเงินจะรุนแรงมากขึ้น เนื่องจากกระแสการเก็งกำไรในพันธบัตรญี่ปุ่น ค่าเงินเยน รวมถึงค่าเงินเอเชียจะมีมากขึ้น และหาก BOJ ยกเลิกมาตรการ YCC จริง จะทำให้ภาระดอกเบี้ยของภาครัฐและเอกชนญี่ปุ่นเพิ่มขึ้นมาก และกระทบต่อผลประกอบการของธุรกิจและรัฐบาลญี่ปุ่น
เราเชื่อว่าปัจจัยเสี่ยงทั้ง 7 ประการ รวมถึงปัจจัยเสี่ยงอื่นๆ ที่อาจเพิ่มขึ้นในระยะต่อไป อาจทำให้ตลาดการเงินผันผวนรุนแรง ดอลลาร์ในฐานะสินทรัพย์ปลอดภัยแข็งค่าขึ้น และทำให้สินทรัพย์เสี่ยงปรับตัวลดลงได้ ซึ่งในมุมมองของเรา เราเชื่อว่าจะเห็นความเสี่ยงเหล่านี้มากขึ้นในช่วงกลางปีเป็นต้นไป
ข้อมูล ณ วันที่ 29 มกราคม 2566
บทความโดย : ดร.ปิยศักดิ์ มานะสันต์ ฝ่ายวิจัยการลงทุน บ.หลักทรัพย์ไทยพาณิชย์ จำกัด
ที่มา :
The Standard Wealth