SSF พิเศษ ต่างกับ SSF ปกติอย่างไร ใครควรลงทุน

เมื่อวันที่ 10 มีนาคม 2563 คณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติให้ผู้ลงทุนใน Super Saving Fund หรือ SSF กองพิเศษ สามารถนำเงินที่ลงทุนมาลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาเพิ่มถึง 2 แสนบาท ก็คงสร้างความดีใจให้กับนักลงทุนหลายๆ คนไม่มากก็น้อย อย่างไรก็ตามนักลงทุนส่วนใหญ่ ก็อาจจะมีความสงสัยและมีคำถามในใจอยู่ว่า “ SSF แบบพิเศษ จะต่างกับกองทุน SSF แบบปกติอย่างไร และใครบ้างควรลงทุนในกองนี้? ” บทความนี้มีคำตอบ

เงื่อนไขการลงทุน

กองทุนรวมเพื่อการออม (Super Saving Fund, SSF)

Retirement Mutual Fund, RMF

แบบพิเศษ

แบบปกติ

วงเงินที่ได้รับสิทธิลดหย่อน

ไม่มีข้อจำกัดเรื่องเงินได้ แต่ลดหย่อนสูงสุดได้ไม่เกิน 200,000 บาท

30% ของเงินได้พึงประเมิน ลดหย่อนสูงสุดได้ไม่เกิน 200,000 บาท

30% ของเงินได้พึงประเมิน สูงสุดไม่เกิน 500,000 บาท

เงื่อนไขวงเงินลดหย่อน

ไม่มี

นับรวม RMF, SSF, PVD, กบข. ประกันชีวิตแบบบำนาญแล้วไม่เกิน 500,000 บาท

ระยะเวลาถือครอง

10 ปีนับจากวันที่ซื้อ

10 ปีนับจากวันที่ซื้อ

ขายได้เมื่ออายุไม่ต่ำกว่า 55 ปี แต่ต้องถือครองมาแล้ว 5 ปีนับจากวันซื้อครั้งแรก

ปีที่ใช้สิทธิลดหย่อนภาษี

ต้องซื้อระหว่าง 1 เม.ย. – 30 มิ.ย. 2563 เท่านั้น

ต้องซื้อระหว่างปี 2563 - 2567

ลงทุนได้เรื่อยๆ ยังไม่มีข้อกำหนดในการสิ้นสุดการลงทุน

หลักทรัพย์ที่ลงทุน

ลงทุนหุ้นไทยไม่น้อยกว่า 65%

ลงทุนได้ทุกหลักทรัพย์

ลงทุนได้ทุกหลักทรัพย์

จำนวนซื้อขั้นต่ำ

ไม่มี/ ไม่ต้องซื้อต่อเนื่องทุกปี

ไม่มี/ ไม่ต้องซื้อต่อเนื่องทุกปี

ไม่มี/ ต้องซื้อต่อเนื่องทุกปี

(เดิมซื้อขั้นต่ำ 3% ของเงินได้ หรือไม่น้อยกว่า 5,000 บาท)

ใครเหมาะที่จะลงทุนใน SSF พิเศษ?

ก่อนที่จะตัดสินใจลงทุนในกองทุน SSF พิเศษ คุณควรพิจารณาเรื่องต่างๆ นี้ก่อน

1. ช่วงอายุและระยะเวลาในการลงทุน

หากคุณอายุน้อยกว่า 45 ปี เมื่อคำนวณระยะเวลาในการลงทุนแล้ว การซื้อกองทุน SSF พิเศษก็น่าจะเหมาะกว่ากองทุน RMF เพราะระยะเวลาลงทุนสั้นกว่า คือ ถือหน่วยลงทุนไว้อย่างน้อย 10 ปีเต็มนับจากวันที่ซื้อก็สามารถขายคืนได้แล้ว ต่างจากกองทุน RMF ที่ต้องลงทุนต่อเนื่องจนถึงอายุ 55 ปีบริบูรณ์ และต้องลงทุนอย่างน้อย 5 ปีเต็มนับจากวันลงทุนวันแรกด้วย จะเห็นได้ว่า หากลงทุน RMF ตามเงื่อนไข กว่าจะขายคืนได้ก็ต้องอายุอย่างน้อย 55 ปีบริบูรณ์ ซึ่งเท่ากับว่าจะลงทุนมากกว่า 10 ปีขึ้นไป


นอกจากนี้จะต้องพิจารณาถึงสภาพคล่องของคุณด้วย เนื่องจากเงื่อนไขในการลงทุน คือ ต้องถือหน่วยลงทุนไว้อย่างน้อย 10 ปีเต็มนับจากวันที่ซื้อ โดยนับแบบวันชนวัน คุณจึงต้องมั่นใจว่าจะสามารถถือหน่วยลงทุนจนครบกำหนดได้ โดยไม่มีปัญหาเรื่องสภาพคล่องจนต้องขายหน่วยลงทุนออกมาก่อนครบกำหนด

2. ความสามารถในการรับความเสี่ยงจากการลงทุน

ต้องไม่ลืมว่าการลงทุนในกอง SSF พิเศษนี้จะต้องลงทุนในหุ้นไทยไม่น้อยกว่า 65% ขึ้นไป (หรือเท่ากับระดับความเสี่ยงระดับ 6 จากสูงสุดระดับ 8) รวมถึงไม่สามารถสับเปลี่ยนหน่วยลงทุนไปยังกองทุน SSF ปกติได้ หากต้องการสับเปลี่ยนจะสับเปลี่ยนได้เฉพาะในกลุ่ม SSF พิเศษด้วยกันเท่านั้น ดังนั้นเราจึงต้องมีความเข้าใจในเรื่องความเสี่ยงของสิ่งที่เรากำลังจะลงทุนด้วย และเมื่อเปรียบเทียบกับ SFF แบบปกติ และ RMF จะเห็นว่าทั้ง SSF แบบปกติ และ RMF สามารถลงทุนได้ในทุกหลักทรัพย์ ทำให้สามารถกระจายความเสี่ยงจากการลงทุนได้ดีกว่า

3. ฐานภาษี

หากคุณมีรายได้ที่ค่อนข้างสูง ตั้งแต่ประมาณ 80,000 บาทต่อเดือนขึ้นไป ซึ่งหากยังไม่ได้มีสิทธิ์ลดหย่อนอะไร จะทำให้คุณเสียภาษีในระดับ 20% ซึ่งถือว่าเป็นรายได้ทั้งปีที่ค่อนข้างสูง และมีภาระที่ต้องเสียภาษีในฐานที่สูง แนะนำให้ซื้อกองทุน SSF พิเศษเพื่อใช้สิทธิลดหย่อนภาษีได้มากขึ้น อีกทั้งในช่วงวิกฤตไวรัสคิด-19 ตลาดหุ้นไทยมีความผันผวน และดัชนีได้ตกลงมาอยู่ในระดับที่ต่ำ จึงเป็นโอกาสดีในการเข้าลงทุน เพราะจะทำให้คุณมีโอกาสได้ต้นทุนเฉลี่ยที่ค่อนข้างต่ำด้วย และมีโอกาสได้รับผลตอบแทนจากการลงทุนในระยะยาวที่สูงขึ้น เพราะเมื่อวิกฤตผ่านไป ราคาของหุ้นที่ตกลงไปมาก ก็จะฟื้นตัวกลับมาได้ในอนาคต


จากข้อมูลทั้งหมดนี้ น่าจะช่วยให้คุณตัดสินใจได้ดีขึ้นแล้วว่า ควรลงทุนใน SSF หรือไม่…และ SSF แบบไหนที่เหมาะกับคุณ ขอให้โชคดีในการลงทุน

บทความโดย : นิภาพันธ์ พูนเสถียรทรัพย์ CFP® นักวางแผนการเงินอิสระ นักเขียนและวิทยากร

สนใจลงทุน SSF พิเศษ ดูรายละเอียด -เพิ่มเติม-

หรือ SCB Easy App