ผลการค้นหา "{{keyword}}" ไม่ปรากฎแต่อย่างใด
การใช้และการจัดการคุกกี้
ธนาคารมีการใช้เทคโนโลยี เช่น คุกกี้ (cookies) และเทคโนโลยีที่คล้ายคลึงกันบนเว็บไซต์ของธนาคาร เพื่อสร้างประสบการณ์การใช้งานเว็บไซต์ของท่านให้ดียิ่งขึ้น โปรดอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมที่ นโยบายการใช้คุกกี้ของธนาคาร
การใช้และการจัดการคุกกี้
ธนาคารมีการใช้เทคโนโลยี เช่น คุกกี้ (cookies) และเทคโนโลยีที่คล้ายคลึงกันบนเว็บไซต์ของธนาคาร เพื่อสร้างประสบการณ์การใช้งานเว็บไซต์ของท่านให้ดียิ่งขึ้น โปรดอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมที่ นโยบายการใช้คุกกี้ของธนาคาร
5 ขั้นวางแผนทางการเงิน ฉบับมือใหม่หัดออม
เมื่อลองถามคนรอบข้างว่ามีการวางแผนทางการเงินอย่างไรบ้าง ส่วนใหญ่บอกว่าไม่เคยวางแผนเพราะมองว่าเป็นเรื่องยุ่งยาก บ้างอยากวางแผนแต่ไม่รู้ว่าจะเริ่มต้นอย่างไร และบางคนยังบอกว่าวางแผนไปก็ไร้ประโยชน์เพราะทุกวันนี้ใช้เงินแบบเดือนชนเดือน แท้จริงแล้วการวางแผนทางการเงินเป็นเรื่องจำเป็นสำหรับทุกคน เพราะทำให้รู้สถานะทางการเงินของตัวเองว่าเป็นอย่างไร มีรายรับรายจ่ายเท่าไหร่ มีหนี้สินมากน้อยแค่ไหน ยิ่งคนที่อยากจะมีอิสรภาพทางการเงิน อยากเกษียณโดยไม่ต้องกังวลเรื่องเงินๆทองๆ การวางแผนทางการเงินจึงเปรียบเสมือนแผนที่ชีวิต ที่จะนำพาความมั่นคงและความมั่งคั่งมาสู่ผู้ที่ลงมือทำอย่างแท้จริง
5 ขั้นตอนง่ายๆ วางแผนการเงิน
ขั้นตอนที่ 1 สำรวจตัวเอง
รู้เขา-รู้เรา รบร้อยครั้งชนะร้อยครั้ง นี่คือ กลยุทธเพื่อการพิชิตคู่ต่อสู้ ซึ่งไม่ต่างจากกลยุทธในการเอาชนะใจตัวเองเพื่อเก็บเงินให้ได้ตามเป้าหมายที่ฝันไว้ สิ่งแรกที่ต้องรู้คือ รู้จักตัวเองสำรวจตัวเองว่ามี รายรับ-รายจ่าย เป็นอย่างไร เมื่อรู้สถานะทางการเงินจะทำให้ตระหนักได้ว่าความจริงแล้วเรามีรายได้มากกว่ารายจ่ายหรือรายจ่ายมากกว่ารายได้ เรามีเงินเก็บมากน้อยแค่ไหนในแต่ละเดือน ฟังดูเหมือนง่ายแต่พอถามกันจริงๆ ส่วนใหญ่จะบอกไม่ได้ว่าในแต่ละเดือนมีสถานะทางการเงินเป็นอย่างไร มีเงินพอใช้กันหรือเปล่าโดยมากมักจะบอกว่ามีเงินพอใช้แต่ก็ลุ้นว่าเมื่อไหร่จะถึงสิ้นเดือน ขั้นตอนการสำรวจตัวเองจึงเป็นสิ่งจำเป็นเพื่อเรียนรู้พฤติกรรมการใช้จ่ายเงินว่าเป็นอย่างไร
ตัวอย่าง รายรับ-รายจ่าย ของนาย A
รายรับ………บาท / เดือน
|
รายจ่าย………บาท / เดือน |
เงินเก็บ.........บาท/ เดือน |
1.เงินเดือน 35,000 บาท |
1. สาธารณูปโภค 3,000 บาท |
1.ธนาคาร 5,000 บาท |
2.ขายของออนไลน์ 3,000 บาท |
2. ค่าเดินทาง 2,000 บาท |
|
|
3.ค่าอาหาร 16,000 บาท |
|
|
4.ค่าใช้จ่ายส่วนตัว 12,000 บาท |
|
รวม 38,000 บาท |
รวม 33,000 บาท |
รวม 5,000 บาท |
จากตัวอย่างจะเห็นได้ว่า หากดูผิวเผิน นาย A มีรายรับ-รายจ่าย ที่สมดุลไม่ใช้จ่ายเกินตัว ไม่มีหนี้สิน แถมยังมีเงินเก็บอีกด้วย แต่ถ้ามองลึกลงไปจะพบว่า หากนาย A มีการวางแผนทางการเงินมากกว่านี้ นาย A จะสามารถลดค่าใช้จ่ายเรื่องอาหารหรือค่าใช้จ่ายส่วนตัวลงไปได้อีก ทำให้นาย A สามารถนำเงินไปเก็บออมเพิ่มหรือนำไปลงทุนเพื่อสร้างความมั่นคงทางการเงินให้กับตัวเองในอนาคตได้อีกด้วย
ขั้นตอนที่ 2 กำหนดเป้าหมาย
เมื่อสำรวจรายรับ-รายจ่าย ในแต่ละเดือนแล้ว การกำหนดเป้าหมายก็เป็นสิ่งสำคัญ เพราะทำให้มีทิศทางที่แน่นอนไม่ไร้จุดหมาย เป้าหมายที่ดีจะต้องมีรายละเอียด มีกำหนดระยะเวลา เพื่อความชัดเจนในการปฎิบัติ รวมทั้งเป้าหมายควรมีระยะสั้น กลางและยาว เพื่อที่จะได้เก็บเกี่ยวความสำเร็จในแต่ละช่วง ทำให้มีกำลังใจไม่ท้อใจหรือหมดใจไปก่อนที่จะถึงเป้าหมายระยะยาว
ตัวอย่าง การกำหนดเป้าหมาย
|
เป้าหมาย |
จำนวนเงิน(บาท) |
ระยะเวลา |
จำนวนเงิน เก็บ/เดือน |
ระยะสั้น |
|
40,000 |
8 เดือน |
5,000 |
ระยะกลาง |
|
100,000 |
20 เดือน |
5,000 |
ระยะยาว |
|
2,100,000 |
35 ปี |
5,000 |
ขั้นตอนที่ 3 วางแผนการเงิน 4 ส่วน
เมื่อได้เป้าหมายแล้ว ขั้นต่อไป คือ การบรรลุเป้าหมายด้วยการวางแผนทางการเงิน โดยแผนที่ดีควรแบ่งรายได้ในแต่ละเดือนออกเป็น 4 ส่วน ดังนี้
ขั้นตอนที่ 4 ลงมือปฏิบัติอย่างมีวินัย
สิ่งที่ทำให้แผนการเงินส่วนใหญ่ไม่ประสบความสำเร็จ ก็คือ ไม่สามารถทำตามแผนที่วางไว้ได้ ดังนั้น การมีวินัยลงมือปฏิบัติอย่างจริงจังจะทำให้แผนนั้นเป็นจริงได้ วิธีง่ายๆ คือ เมื่อได้รับเงินเดือนมาแล้ว สิ่งแรกที่ต้องทำคือ ออมก่อนหรือลงทุนก่อน จากนั้นค่อยเอาเงินส่วนที่เหลือมาใช้จ่าย เพราะถ้าไม่ทำแบบนี้โอกาสที่จะเก็บเงินได้ตามเป้าหมายมีน้อยมาก เพราะจะมีข้ออ้างต่างๆ นานา เพื่อไม่ทำตามแผน อีกวิธีคือ สั่งหักบัญชีอัตโนมัติเป็นประจำทุกเดือน ทำให้เก็บออมและลงทุนได้ตามแผนที่วางไว้ และถ้าสามารถบรรลุเป้าหมายระยะสั้นได้โอกาสที่ระยะกลางและยาวจะประสบความสำเร็จมีได้สูง เพราะเราคุ้นเคยกับการออมก่อนใช้นั่นเอง
ขั้นตอนที่ 5 หมั่นทบทวนแผนการเงินอยู่เป็นประจำ
การทบทวนแผนการเงินทำให้เราสามารถประเมินได้ว่าแผนที่วางไว้ประสบความสำเร็จมากน้อยแค่ไหน ผลตอบแทนที่ได้รับเป็นไปตามที่คาดหรือไม่ สาเหตุเพราะอะไร เราจะได้ทบทวนหรือปรับแผนให้เหมาะสมกับสภาวะเศรษฐกิจและผลิตภัณฑ์การลงทุนที่เหมาะสมตามช่วงเวลานั้นๆ รวมถึงควรทบทวนเป้าหมายของตัวเองอยู่เป็นประจำว่ายังเหมือนเดิมหรือไม่ มีอะไรที่อยากปรับเปลี่ยน มีความสามารถในการรับความเสี่ยงได้มากน้อยแค่ไหน รวมถึงควรจะเพิ่มเงินลงทุนใหม่แล้วหรือยัง เพื่อให้เป้าหมายต่างๆ ที่วางไว้มีความเป็นไปได้มากที่สุด
แม้ว่าคุณจะไม่เคยมีประสบการณ์ในการวางแผนทางการเงิน หากคุณมีความตั้งใจจริงที่จะเก็บเงิน มีวินัยที่จะทำตามเป้าหมาย โอกาสที่จะประสบความสำเร็จมีเงินเก็บเป็นกอบเป็นกำ สร้างความมั่นคงมั่งคั่งให้กับชีวิตในวัยเกษียณก็เป็นเรื่องที่ไม่ไกลเกินเอื้อม เพราะอนาคตที่สดใสเกิดขึ้นได้จากมือของคุณเอง