ผลการค้นหา "{{keyword}}" ไม่ปรากฎแต่อย่างใด
การใช้และการจัดการคุกกี้
ธนาคารมีการใช้เทคโนโลยี เช่น คุกกี้ (cookies) และเทคโนโลยีที่คล้ายคลึงกันบนเว็บไซต์ของธนาคาร เพื่อสร้างประสบการณ์การใช้งานเว็บไซต์ของท่านให้ดียิ่งขึ้น โปรดอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมที่ นโยบายการใช้คุกกี้ของธนาคาร
การใช้และการจัดการคุกกี้
ธนาคารมีการใช้เทคโนโลยี เช่น คุกกี้ (cookies) และเทคโนโลยีที่คล้ายคลึงกันบนเว็บไซต์ของธนาคาร เพื่อสร้างประสบการณ์การใช้งานเว็บไซต์ของท่านให้ดียิ่งขึ้น โปรดอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมที่ นโยบายการใช้คุกกี้ของธนาคาร
เพิ่มโอกาสผลตอบแทนด้วย Sector Rotation
Sector Rotation คือ การปรับน้ำหนักการลงทุนในหุ้นจากหมวดธุรกิจหนึ่งไปยังอีกหมวดธุรกิจหนึ่ง โดยการวิเคราะห์ประเมินจากปัจจัยหลัก 2 ประการ คือ ด้านเศรษฐกิจ และแนวโน้มการเติบโตทางธุรกิจของตัวบริษัทจดทะเบียน ซึ่งสถานการณ์เศรษฐกิจในช่วงระยะเวลาหนึ่ง อาจส่งผลให้ความสามารถในการทำกำไรของกลุ่มธุรกิจหนึ่งเติบโตได้มากกว่าในขณะที่หมวดธุรกิจอื่นต่ำกว่า
ยกตัวอย่างเช่น Standard & Poor’s (S&P) และ Morgan Stanely Capital International (MSCI) แบ่งหมวดธุรกิจหลัก ๆ ของทั่วโลกไว้ประมาณ 11 หมวดธุรกิจ ขณะที่ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย แบ่งออกเป็น 28 หมวดธุรกิจ (Sector) โดยใช้หลักการจัดหมวดธุรกิจที่มีลักษณะใกล้เคียงกันไว้ในหมวดเดียวกัน การจัดแบ่งหมวดหมู่เหล่านี้เป็นผลดีต่อผู้ลงทุนในการใช้เปรียบเทียบเพื่อประกอบการตัดสินใจลงทุน
Sector Rotation ทำงานอย่างไร
สิ่งที่นักลงทุนควรเรียนรู้ก่อนการใช้กลยุทธ์ Sector Rotation คือ สภาวะตลาดหุ้นมีความเชื่อมโยงและเป็นการคาดการณ์วงจรเศรษฐกิจ (Economic Cycle) ล่วงหน้าได้ ดังนั้น การวางแผนลงทุนจะต้องทำความเข้าใจสภาวะตลาดเพื่อเลือกใช้กลยุทธ์ได้อย่างมีประสิทธิภาพเหมาะกับสภาวะเศรษฐกิจที่กำลังจะเกิดขึ้น โดยภาวะตลาดหุ้นนั้นสามารถแบ่งได้ 4 ระดับ คือ
1.ระดับต่ำสุดของตลาดหุ้น (Market Bottom)
เป็นการส่งสัญญาณคาดการณ์ว่าสภาพเศรษฐกิจกำลังเข้าสู่สภาวะถดถอย (Recession) โดยประเมินจากตัวเลขทางเศรษฐกิจต่างๆ ที่เริ่มทยอยปรับตัวลดลง เช่น ตัวเลขการผลิตลดลง ตัวเลขการทำกำไรของบริษัทจดทะเบียนเริ่มลดลง ตลาดหุ้นช่วงนี้จึงมีโอกาสที่จะทำจุดต่ำสุด
2.ตลาดหุ้นช่วงขาขึ้นหรือตลาดกระทิง (Bull Market)
เป็นการคาดการณ์ล่วงหน้าว่าเศรษฐกิจมีแนวโน้มจะปรับตัวดีขึ้น (Early Recovery) นักลงทุนมีความเชื่อมั่นว่าบริษัทจดทะเบียนมีแนวโน้มเติบโตและมีกำไร ทำให้มีการซื้อขายในตลาดหุ้นอย่างหนาแน่น จึงมีการปรับตัวทั้งดัชนีและปริมาณการซื้อขาย
3.ช่วงที่ตลาดขึ้นสู่จุดสูงสุด (Market Top)
เป็นการส่งสัญญาณว่าในช่วงถัดไป เศรษฐกิจจะเข้าสู่สภาวะอิ่มตัว (Full Recovery) เพราะผลประกอบการและการเติบโตของบริษัทจดทะเบียนมีความชัดเจนแล้ว แต่ยังไม่มีปัจจัยใด ๆ ที่เป็นบวกต่อตลาดอีก ตลาดจึงมีระดับการซื้อขายไม่เคลื่อนไหวมากนัก
4.การเคลื่อนตัวสู่ตลาดขาลงหรือตลาดหมี (Bear Market)
เป็นการคาดการณ์ว่าเศรษฐกิจกำลังไปสู่สภาวะถดถอย (Early Recession) เป็นช่วงที่นักลงทุนส่วนใหญ่จะทำการขายหุ้นออก ทำให้มูลค่าการซื้อขายและราคาหลักทรัพย์ปรับตัวลดลงอย่างต่อเนื่อง
ดังนั้น หากเข้าใจภาวะตลาดหุ้นและวงจรเศรษฐกิจจะช่วยให้นักลงทุนประเมินพอร์ตการลงทุนและปรับกลยุทธ์การลงทุนได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเลือกหมวดธุรกิจลงทุนเพื่อสร้างโอกาสทำกำไรหรือป้องกันความเสี่ยงได้อย่างเหมาะสม สำหรับกลยุทธ์การลงทุนโดยใช้ Sector Rotation เพื่อช่วยบริหารสินทรัพย์ลงทุน มีดังนี้
1.ลงทุนผ่านกองทุน ETF
โดยกองทุน ETF เป็นกองทุนที่มุ่งสร้างผลตอบแทนอ้างอิงดัชนีราคาหุ้นตามหมวดธุรกิจ โดยมีผู้จัดการกองทุนคัดสรรหมวดธุรกิจซึ่งมีการคำนวณวิเคราะห์ข้อมูลต่าง ๆ และประเมินผลตอบแทนที่คาดว่าจะได้รับเสนอขายต่อผู้ลงทุน วิธีการนี้เหมาะสำหรับนักลงทุนมือใหม่ที่ไม่มีเครื่องมือที่จะช่วยวิเคราะห์หุ้นเป็นรายธุรกิจอีกทั้งมีต้นทุนค่าใช้จ่ายที่ไม่สูงและไม่ซับซ้อน
2.การจัดสรรสินทรัพย์ลงทุน (Asset Allocation)
เป็นการให้น้ำหนักการลงทุนในแต่ละหมวดธุรกิจโดยใช้สภาวะตลาดในแต่ละช่วง ข้อมูลทางเศรษฐกิจและบริษัทจดทะเบียนประกอบการตัดสินใจ ซึ่งเหมาะสำหรับผู้มีประสบการณ์การลงทุน มีข้อมูลเชิงลึก วิเคราะห์ความเคลื่อนไหวด้านเศรษฐกิจได้และมีการติดตามผลการดำเนินงานของบริษัทจดทะเบียนที่สามารถสะท้อนภาพรวมของธุรกิจ เช่น ช่วงเกิดการระบาด COVID-19 หมวดธุรกิจที่สร้างโอกาสทำกำไรจะเป็นหมวดเทคโนโลยีเพื่อการสื่อสารที่ตอบรับวิถี Next Normal หมวดโลจิสติกส์และการขนส่ง หรือหมวดอาหาร เป็นต้น
สำหรับการตัดสินใจในการทำ Sector Rotation นักลงทุนควรหาตัวช่วยเพื่อทำให้ง่ายต่อการตัดสินใจ เช่น ติดตามอ่านบทวิเคราะห์เพื่อให้เห็นภาพและแนวโน้มของธุรกิจนั้น ๆ วิเคราะห์ข้อมูลให้ออก หาปัญหาต่าง ๆ ที่จะส่งผลกระทบในเชิงบวกหรือเชิงลบต่อธุรกินนั้น ๆ ว่าจะยาวนานแค่ไหน (ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย)
หลังจากตัดสินใจทำ Sector Rotation ควรศึกษาและทำการบ้านหมวดธุรกิจที่จะเปลี่ยนเข้าลงทุน และการปรับเปลี่ยนอาจทยอยปรับบางส่วนหรืออาจปรับทั้งพอร์ตการลงทุนก็ได้ แล้วแต่ความเหมาะสม โดยต้องติดตามประเด็นการลงทุนต่าง ๆ ในหมวดธุรกิจที่เข้าลงทุนว่าในแต่ละช่วงเวลาจะมีปัจจัยอะไรเข้ามากระทบหรือไม่ ถ้ามีประเด็นหรือสัญญาณเตือนบางอย่างที่ไม่ดีก็ควรรีบพิจารณาและตัดสินใจว่าควรจะต้องทำ Sector Rotation อีกครั้งหรือไม่