ลงทุนลดหย่อนภาษีเพื่อการออม SCBVIET-SSF และ SCBRMVIET กับตลาดหุ้นเวียดนาม ดินแดนแห่งโอกาสและศักยภาพเติบโตระยะยาว

ปี 2565 แม้ตลาดหุ้นเวียดนามจะเป็นตลาดหมี  แต่โอกาสลงทุนที่ดีจะเป็นของผู้ค้นหา


ถ้าคุณเป็นนักลงทุนที่ลงทุนในตลาดหุ้นเวียดนามมานานหลายปี จะทราบดีว่านี่คือหนึ่งในตลาดหุ้นที่ให้ผลตอบแทนดีที่สุดแห่งหนึ่งในโลก และให้ผลตอบแทนสูงกว่าตลาดหุ้นไทยเป็นอย่างมาก ทำให้ 3 ปีที่ผ่านมา หลายท่านเคยได้รับประสบการณ์ “หุ้นขึ้น” อย่างน่ายินดี  ข้อมูลเปรียบเทียบผลตอบแทนระหว่างตลาดหุ้นเวียดนามและตลาดหุ้นไทย ปี 62-64  คือ
 

ปี

ผลตอบแทนตลาดหุ้นเวียดนาม (VN Index)

ผลตอบแทนตลาดหุ้นไทย (SET Index)

2562

+8.1%

+1.0%

2563

+14.2%

-8.3%

2564

+34.6%

+14.4%

 

มาปีนี้ 2565 เป็นที่ทราบกันดีว่า ปัจจัยการลงทุนมหภาคดูแย่ลงในแทบทุกภาคส่วน จากปัญหาเงินเฟ้อเพิ่มขึ้นสูงในรอบหลายสิบปี คำว่า “ความเสี่ยงเศรษฐกิจถดถอย(Recession)” ถูกนำมาพูดถึงกันซ้ำๆอย่างน่ากลัว มีสงครามความขัดแย้งที่ยืดเยื้อ ราคาพลังงานที่พุ่งสูง นำไปสู่การแก้ปัญหาด้วยนโยบายการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางทั่วโลกและนโยบายลดสภาพคล่อง ส่งผลให้ผลตอบแทนของตลาดหุ้นทั่วโลกในปีนี้ YTD (Year to Date ถึงเดือนตุลาคม) ติดลบกันแทบทั้งสิ้น เช่น อเมริกา S&P500 -23.1%, จีน CSI300 -24%, เกาหลีใต้ KOSPI -25.5%, ไต้หวัน TWSE -28.9%, และ ฮั่งเส็งฮ่องกง -30.4% เป็นต้น สำหรับตลาดหุ้นเวียดนาม ก็ลดลงอย่างมีนัยสำคัญเช่นกัน โดยตลาดหุ้นเวียดนาม (VN Index) ให้ผลตอบแทนติดลบที่ -29.4% ซึ่งนับเป็นการปรับตัวลงที่หนักมาก


ถ้าเราสังเกตดู จะพบว่าตลาดหุ้นทั่วโลกแม้จะติดลบลงมาเหมือนกัน แต่กลับมีพื้นฐานเศรษฐกิจทั้งในปัจจุบันและภาพอนาคตที่ไม่เหมือนกัน ด้วยปัจจัยเฉพาะตัวของแต่ละประเทศ ซึ่งหนึ่งในประเทศที่มีตัวเลขเศรษฐกิจปี 65 สะท้อนการฟื้นตัวที่ดีในหลายภาคส่วน คือประเทศเวียดนาม ที่กำลังก้าวข้ามผ่านวิกฤตโควิดอย่างสมบูรณ์ กำลังเปิดประเทศรับเม็ดเงินลงทุนทางตรงจากบริษัทยักษ์ใหญ่ทั่วโลก กำลังเปิดรับนักท่องเที่ยวต่างชาติ และที่สำคัญตลาดหุ้นเวียดนาม กำลังปรับฐานผ่านรอบย่อจนกระทั่ง Valuation ไม่แพงแล้ว


ด้วยภาพการเติบโตระยะยาวที่ดีผนวกกับตลาดหุ้นที่เพิ่งผ่านรอบย่อครั้งใหญ่ จึงนับเป็นโอกาสดีที่นักลงทุนจะได้วิเคราะห์ Risk and Return ในการลงทุนระยะยาวกับตลาดหุ้นเวียดนาม 

scb-vietnam-ssf-rmf-01

ส่อง 5 ปัจจัย เหตุใดตลาดหุ้นเวียดนามปรับตัวลง


ประเทศเวียดนามถือเป็นดาวเด่น Rising Star ทางด้านเศรษฐกิจของโลก ตลาดหุ้นเวียดนามเป็นตลาดหุ้นที่นักวิเคราะห์มีมุมมอง overweight มากที่สุดแห่งหนึ่ง แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่าผลตอบแทนการลงทุนนับจากต้นปี กลับเป็นหนึ่งในตลาดหุ้นที่ให้ผลตอบแทนน่าผิดหวังที่สุด แม้ว่า 3 ปีที่ผ่านมา จะให้ผลตอบแทนที่ดีอย่างต่อเนื่อง แต่นับจากต้นไตรมาสสอง ปี 65 เป็นต้นมา หลังจากที่ดัชนี VN Index ไปแตะระดับสูงสุดที่ประมาณ 1,530 จุด หลังจากนั้นก็มีการปรับตัวลดลงกระทั่งเหลือ 1058 จุด  จากความกังวลหลัก 5 เรื่อง


1)  ภาครัฐเวียดนามตรวจสอบเข้มข้น


ทางการเวียดนามเริ่มทำการตรวจสอบ ตลาดหุ้น ตลาดหุ้นกู้และตลาดอสังหาริมทรัพย์ ส่งผลไปสู่การจับกุมนักธุรกิจหลายรายที่มีการฝ่าฝืนกฏระเบียบ โดยมีการจับกุมและอายัดทรัพย์สินของประธานบริษัทและผู้บริหารไปหลายราย ด้วยข้อหาปั่นหุ้น ข้อหาออกหุ้นกู้โดยนำเงินไปใช้ผิดวัตถุประสงค์ ทางการเวียดนามจึงปรับนโยบายการออกหุ้นกู้ของบริษัทอสังหาริมทรัพย์ให้เข้มงวดมากยิ่งขึ้น ทำให้กระทบต่อภาพรวมและมุมมองอนาคตของบริษัทอสังหาริมทรัพย์ และบริษัทมหาชนที่พึ่งพาการออกหุ้นกู้


2) นักลงทุนรายย่อยสูญเสียความเชื่อมั่นระยะสั้น


ผลกระทบจากการที่ภาครัฐตรวจสอบเข้มข้น ก่อให้เกิดข่าวลือลามไปสู่บริษัทอื่นๆ ว่าอาจจะถูกสอบสวนด้วยคดีในลักษณะเดียวกัน เกิดความกังวลในเรื่องการจับกุมผู้บริหารบริษัทมหาชนอื่นๆ หรือการล้มเป็นโดมิโน ส่งผลให้นักลงทุนรายย่อยที่เป็นสัดส่วนกว่า 90% ของตลาดหุ้นขาดความเชื่อมั่น จึงขายหุ้นออกมา


3) ธนาคารกลางเวียดนามขึ้นดอกเบี้ยแรง


ธนาคารกลางเวียดนามขึ้นดอกเบี้ยสูงถึง 1% ทำให้อัตราดอกเบี้ยเงินฝากในประเทศเวียดนามสูงถึง 6-8%   ยิ่งเป็นอัตราดอกเบี้ยหุ้นกู้ของบริษัทเอกชนบางแห่งอาจสูงเกิน 10% นั่นยิ่งเป็นการซ้ำเติมตลาดทุนที่นักลงทุนส่วนใหญ่เป็นนักลงทุนรายย่อย ทำให้มีนักลงทุนจำนวนไม่น้อยตัดสินใจขายหุ้น เพื่อมาฝากธนาคารหรือซื้อหุ้นกู้เพื่อลดความเสี่ยง และรับผลตอบแทนจากดอกเบี้ยธนาคารแทน


4) ภาครัฐเวียดนามมีเกณฑ์การปล่อยสินเชื่อภาคอสังหาริมทรัพย์เข้มงวดมากขึ้น


มีการออกกฎระเบียบที่เข้มงวดมากขึ้นในตลาดตราสารหนี้ ทำให้ออกหุ้นกู้ยากขึ้น ส่งผลกระทบต่อหุ้นในกลุ่มสถาบันการเงินและกลุ่มอสังหาริมทรัพย์ที่เกี่ยวข้องโดยตรง จึงถูกเทขายออกมา ซึ่งเป็น 2 กลุ่มที่มี market cap รวมกันมากกว่าครึ่งหนึ่งของมูลค่าตลาดหุ้นเวียดนาม


5) FTSE RUSSELL ยังคงระดับตลาดหุ้นเวียดนามเป็นตลาดชายขอบ (Frontier Market)


หนึ่งในความคาดหวังที่ตลาดหุ้นเวียดนามจะได้ปรับขึ้นเป็นตลาดเกิดใหม่ (Emerging Market) ซึ่งจะเพิ่มโอกาสรับเม็ดเงินลงทุนจากนักลงทุนสถาบันต่างชาติได้อีกมาก แต่การปรับระดับยังคงไม่เกิดขึ้น โดยให้เหตุผลว่าตลาดหุ้นเวียดนามยังไม่ผ่านคุณสมบัติด้านระบบการชำระราคาและยังมีปัญหาด้าน Foreign Limited


นอกจากนี้ในปี 2565 ตลาดหุ้นเวียดนามก็ยังโดน sentiment เชิงลบจากปัจจัยภายนอกประเทศ ไม่ว่าจะเป็น ภาวะเงินเฟ้อ สงคราม นโยบายขึ้นดอกเบี้ย มาตรการลดสภาพคล่อง และค่าพลังงานเชื้อเพลิงที่ขึ้นสูง ฯลฯ ปัจจัยลบทั้งในและนอกประเทศทั้งหมดเกิดขึ้นในปี 2565 เป็นที่มาของการปรับฐานแรงกระทั่งมูลค่าตลาดหายไปกว่า 30%

 

ภาพเศรษฐกิจระยะยาวของเวียดนามยังเติบโต


ประเด็นความกังวลที่กล่าวมาข้างต้น น่าจะเป็นเพียงปัจจัยลบในระยะสั้น ที่ส่งผลกระทบในระยะเวลาที่จำกัด ซึ่งไม่กระทบต่อภาพรวมการลงทุนในระยะยาว อีกทั้งตลาดหุ้นเวียดนามก็ได้รับผลกระทบเชิงลบและรับแรงกระแทกไปมากแล้ว ในขณะที่ปัจจัยพื้นฐานของตลาดเวียดนามยังคงดีอยู่


เวียดนามเป็นประเทศที่มีโครงสร้างทางเศรษฐกิจที่น่าสนใจมากประเทศหนึ่งของโลก
มีภาคการผลิตและภาคส่งออกเป็นพระเอก ภาคบริการกำลังเติบโต ด้วยจำนวนประชากรมากถึง 97 ล้านคน และโครงสร้างประชากรวัยทำงานและวัยหนุ่มสาวในสัดส่วนสูง ถ้าเราไปดูประมาณการการเติบโตของประเทศเวียดนามที่จัดทำโดย IMF มองไว้สูงถึง 6-7% ทั้งปี 65 และปี 66 ซึ่งถือว่าเป็นระดับที่สูงในภาวะที่ประเทศส่วนใหญ่ในโลกนี้มีความเสี่ยงเศรษฐกิจถดถอยจากผลกระทบต่างๆรอบตัว ในขณะที่ประเทศเวียดนามยังคงมีมุมมองการเติบโตระยะยาวที่ดีได้อยู่


ภาพรวมของเศรษฐกิจเวียดนามยังคงฟื้นตัวจากโควิดได้ดีอย่างต่อเนื่อง
GDP ของเวียดนามยังคงมีโมเมนตัมที่ฟื้นตัวได้ดีอย่างต่อเนื่อง โดยปี 2565 ไตรมาส 1 GDP ขยายตัวได้ +5%, ไตรมาส 2 GDP ขยายตัวได้ +7.7% และ ไตรมาส 3 GDP ขยายตัวได้  +13.7%


ภาคอุตสาหกรรมและการส่งออกขยายตัวอย่างแข็งแกร่ง
เป็นหัวใจสำคัญต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจประเทศเวียดนาม ผลพวงจากเม็ดเงินลงทุนจากนักลงทุนต่างชาติและเทคโนโลยี คาดการณ์ว่าการลงทุนจากต่างชาติ (FDI) จะไหลเข้าสู่ภาคการผลิตอย่างต่อเนื่องและเป็นประเทศที่ได้รับผลดีจาก Trade War และการลดการพึ่งพาจีนจากสายการผลิต Supply Chain ของผู้ผลิตระดับโลก


ภาคบริการกำลังขยายตัวได้ดี
ตัวเลขทางเศรษฐกิจของเวียดนามทั้งการบริโภคในประเทศ อัตราการเติบโตของยอดค้าปลีก และ จำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติ ล้วนแสดงในทิศทางเดียวกันว่าภาคบริการก็กำลังเติบโตและฟื้นตัวจากช่วงโควิดอย่างแข็งแรง


ได้เวลาเข้าลงทุนใน ตลาดหุ้นเวียดนามหรือยัง?


วิธีการหนึ่งซึ่งง่ายและหวังผลได้สูง คือการทยอยลงทุนระยะยาวในตลาดหุ้นเวียดนาม ณ จุดที่พื้นฐาน(ดี)สวนทางกับราคา(ปรับตัวลดลง) โดยเฉพาะการลงทุนที่ได้ผลประโยชน์ทางภาษีไปด้วยอย่างกองทุน SSF และ RMF ที่มีนโยบายการลงทุนในประเทศเวียดนาม

กองทุน SCBVIET-SSF และ SCBRMVIET


กองทุนมีนโยบายลงทุนในหุ้นของบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ประเทศเวียดนาม และ/หรือบริษัทที่ดำเนินธุรกิจเกี่ยวข้องหรือได้รับผลประโยชน์จากการเติบโตทางเศรษฐกิจหรือทรัพย์สินส่วนใหญ่มาจากการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศเวียดนาม และ/หรือหน่วย CIS กองทุน ETF ที่เน้นลงทุนในตราสารทุนประเทศเวียดนามโดยเฉลี่ยในรอบปีบัญชีไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุน


กองทุนมีความเสี่ยงระดับ 6 กลยุทธ์ในการบริหารจัดการลงทุน มุ่งหวังให้ผลประกอบการสูงกว่าดัชนีชี้วัด (Active Management)


ทำไมต้องลงทุนเวียดนาม กับ SCBVIET-SSF และ SCBRMVIET


ใช้กลยุทธ์การลงทุนด้วยการจัดการพอร์ตแบบสมดุล จากการจัดสรรเงินลงทุนแบ่งเป็นสามส่วน ใน ETF, Active Fund , และ หุ้นรายตัว เพื่อหาผลตอบแทนในทุกสถานการณ์ในระยะยาว ตัวอย่างการลงทุน ได้แก่


· ETF เช่น Diamond ETF, VN30 ETF, และ Vietnam Leading Financial ETF


· Active Fund เช่น Vietnam Equity Fund ของ Dragon Capital


· หุ้นเวียดนามรายตัว ที่มีศักยภาพในการเติบโต เช่น


o   Vietcom Bank ธนาคารเวียดนามที่ใหญ่ที่สุดตามมูลค่าตลาด มีผู้ถือหุ้นเป็นรัฐบาล และมีสาขามากที่สุด


o   VINHOMES บริษัทพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ขนาดใหญ่ที่สุดในเวียดนาม และเป็นบริษัทในเครือ Vingroup มีผลประกอบการเติบโตชัดเจน


o   PNJ ผู้นำธุรกิจเครื่องประดับ มี market share สูงถึง 38% มีแนวโน้มได้ประโยชน์จากเศรษฐกิจและรายได้ของประชากรเวียดนามที่สูงขึ้น คนให้ความสนใจซื้อเครื่องประดับมากขึ้น


นอกจากนี้ กองทุนยังเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารสินทรัพย์โดยจัดพอร์ตให้มี Liquidity เพียงพอเนื่องจากตลาดเวียดนามเป็น Frontier Market


เลือกลงทุนกองไหนดี ระหว่าง SCBVIET-SSF และ SCBRMVIET ?


ด้วยความที่ Underlying Asset ของกองทุนเป็นการลงทุนในตลาดหุ้นเวียดนามเหมือนกัน และเป็นกองทุนประหยัดภาษีเหมือนกัน ดังนั้น คำถามนี้ จึงคล้ายกับถามว่า “เราควรลงทุนใน SSF หรือ RMF ดี?”


· หนึ่งในวิธีที่ใช้ตัดสินใจกันมาก คือใช้เกณฑ์ระยะเวลาในการถือครอง โดยพิจารณาจากอายุของผู้ลงทุน


o   หากผู้ลงทุนอายุน้อยกว่า 45 ปี ... ลงทุนใน SCBVIET-SSF จะถือกองสั้นกว่า เพราะใช้เวลาถือครอง 10 ปี ก็สามารถขายกองทุนได้โดยไม่ผิดเงื่อนไขทางภาษี


o   หากผู้ลงทุนอายุมากกว่า 45 ปี ... ลงทุนใน SCBRMVIET จะถือกองสั้นกว่า เพราะใช้เวลาถือครองน้อยกว่า 10 ปี ก็สามารถขายกองทุนได้โดยไม่ผิดเงื่อนไขทางภาษี


· ไม่ว่าจะลงทุนใน SCBVIET-SSF หรือ SCBRMVIET ล้วนเป็นข้อดี เพราะเป็นการต่อยอดการลงทุนระยะยาวเพื่อการเกษียณ และเป็นการวางเงินไว้ในสินทรัพย์ที่มีโอกาสเพิ่มค่าในระยะยาว


อยากลงทุนใน SCBVIET-SSF และ SCBRMVIET วันนี้ เริ่มต้นยังไง ?


ใครสนใจ อย่าช้า เริ่มต้นวันนี้ ด้วยการดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน SCB Easy แล้วทำตาม 3 ขั้นตอนง่ายๆนี้


1. เปิดบัญชีกองทุนผ่าน SCB Easy App


2. ผูกบัญชีกองทุนบน SCB Easy App


3. ซื้อกองทุนผ่าน SCB Easy App


อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ :


SCBVIET-SSF
https://www.scbam.com/th/fund/ssf/fund-information/scbvietssf


SCBRMVIET
https://www.scbam.com/fund/tax-rmf/fund-information/scbrmvieta


คำเตือน:

·  ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไข ผลตอบแทน ความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน และศึกษาสิทธิประโยชน์ทางภาษีที่ระบุไว้ในคู่มือการลงทุนของกองทุน RMF/SSF ก่อนตัดสินใจลงทุน

·  กรณีไม่ได้ปฏิบัติตามเงื่อนไขทางภาษี จะไม่ได้สิทธิประโยชน์ตามเงื่อนไขของกองทุน รวมถึงควรลงทุนในกองทุนรวมที่เหมาะสมกับวัตถุประสงค์การลงทุนของตนและยอมรับความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นจากการลงทุนได้

·  ผลการดำเนินงานในอดีตของกองทุนรวม มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต

·  กองทุนบางกองทุนมิได้ป้องกันความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยนทั้งจำนวนรวมถึงบางกองทุนมีการลงทุนกระจุกตัวในหมวดอุตสาหกรรม จึงมีความเสี่ยงที่ผู้ลงทุนอาจสูญเสียเงินทุนจำนวนมาก ผู้ลงทุนอาจได้รับเงินคืนต่ำกว่าเงินลงทุนเริ่มแรกได้ ดังนั้นควรลงทุนในกองทุนรวมที่เหมาะสมกับวัตถุประสงค์การลงทุนของตน และผู้ลงทุนยอมรับความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นจากการลงทุนดังกล่าวได้ และสามารถศึกษาข้อมูลกองทุนหลักได้จาก website ของบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนรวม และรายละเอียดเพิ่มเติมของกองทุนผ่าน SCB EASY App

 

#SCB x  #นิ้วโป้งFundamentalVI
#SCBEASY #SCBRMVIET # SCBVIET(SSF)
#SSF #RMF  #กองทุนลดหย่อนภาษี