ผลการค้นหา "{{keyword}}" ไม่ปรากฎแต่อย่างใด
การใช้และการจัดการคุกกี้
ธนาคารมีการใช้เทคโนโลยี เช่น คุกกี้ (cookies) และเทคโนโลยีที่คล้ายคลึงกันบนเว็บไซต์ของธนาคาร เพื่อสร้างประสบการณ์การใช้งานเว็บไซต์ของท่านให้ดียิ่งขึ้น โปรดอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมที่ นโยบายการใช้คุกกี้ของธนาคาร
การใช้และการจัดการคุกกี้
ธนาคารมีการใช้เทคโนโลยี เช่น คุกกี้ (cookies) และเทคโนโลยีที่คล้ายคลึงกันบนเว็บไซต์ของธนาคาร เพื่อสร้างประสบการณ์การใช้งานเว็บไซต์ของท่านให้ดียิ่งขึ้น โปรดอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมที่ นโยบายการใช้คุกกี้ของธนาคาร
Web 2.0 แล้วไปไหน? รู้จักก้าวต่อไปสู่ Web 3.0
หากนับตั้งแต่ยุค 1990 ที่เรารู้จักพิมพ์ตัวอักษร “w” สามครั้งเพื่อเปิดจอคอมพิวเตอร์ของสู่โลกกว้าง มาถึงปัจจุบันเราได้วิวัฒนาการจากยุค Web 1.0 ที่ผู้ใช้อ่านได้อย่างเดียวแต่ไร้ปฏิสัมพันธ์ จนมาอยู่ในยุค Web 2.0 แห่งโลกโซเชียลเบ่งบานมาเป็นเวลายี่สิบกว่าปีแล้ว หากจะเข้าใจภาพยุคนี้ ขอให้ลองคิดถึงการใช้งานในเฟซบุ้คหรือทวิตเตอร์ ที่เราสามารถแชร์ข้อมูลให้สังคมออนไลน์รับรู้ สร้างปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่นได้
ก้าวต่อไปที่ต้องจับตามองคือ Web 3.0 ที่ไม่ใช่แค่เพียงเชื่อมต่อระหว่างผู้คน แต่บทบาทของปัญญาประดิษฐ์ (AI) จะเข้ามามีบทบาทในการตีความข้อมูลและนำเสนอให้ตรงกับความต้องการของมนุษย์มากขึ้น ตัวอย่างเช่น หากวันนี้คุณเริ่มพูดคุยกับ SIRI ในโทรศัพท์ไอโฟนเพื่อตอบสนองความต้องการบางอย่าง โลกของ Web 3.0 ก็เริ่มแง้มประตูเปิดต้อนรับคุณแล้ว
ทำไมต้อง Web 3.0
แม้ว่า Web 2.0 จะเปิดกว้างให้เราสร้างเนื้อหาขึ้นมาเองได้แล้ว ไม่ว่าจะเป็นการโพสต์ภาพ ทวิตข้อความ หรือแวะไปคอมเมนต์เซย์ไฮกับเพื่อนฝูงในโลกออนไลน์ โดยอาจจะมีตัวตนในโลกออนไลน์ที่เราสร้างไว้ได้หลากหลาย แต่ข้อมูลเหล่านั้นยังต้องอาศัยเซิร์ฟเวอร์ตัวกลางในการจัดเก็บและเผยแพร่ ทำให้ข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ใช้ไปอยู่ในมือของผู้ให้บริการแอปพลิเคชั่นเหล่านั้นเกือบหมด นำไปสู่การซื้อขายข้อมูลผู้ใช้เพื่อเอาไปต่อยอดทางการตลาด
สิ่งเหล่านี้เกิดเป็นข้อกังวลด้านความปลอดภัย และหลายประเทศเริ่มกำหนดข้อกฎหมายในการควบคุมและใช้ประโยชน์ข้อมูลส่วนบุคคลขึ้นมา เช่น กฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (PDPA : Personal Data Protection Act) ที่เริ่มมีผลบังคับใช้ตั้งแต่ 1 มิถุนายน 2565 เป็นต้นมา ซึ่งทำให้แอปพลิเคชันหรือเว็บไซต์ต่างๆ ต้องขอความยินยอมในการใช้ข้อมูลก่อนตามกฎหมาย
การเกิดขึ้นมาของ Web 3.0 จะเป็นการใช้งานแบบไร้ตัวกลาง (Decentralized) เมื่อข้อมูลจะกระจายจากศูนย์กลาง เหมือนกับเทคโนโลยีบล็อกเชนที่ใช้กับสินทรัพย์ดิจิทัลอย่างคริปโตเคอเรนซีที่เป็นโลกการเงินแบบใหม่ ไม่จำเป็นต้องพึ่งสถาบันการเงินในการซื้อขายแลกเปลี่ยนและลักษณะของ Web 3.0 ที่เป็น Semantic Web หมายถึง “เว็บที่เข้าใจมนุษย์” นั้นจะมีความอัจฉริยะมากขึ้นด้วยการทำงานของ AI (artificial intelligence) และ ML (Machine Learning) มาช่วยทำให้ประสบการณ์ใช้งานของผู้ใช้แม่นยำตรงเป้าประสงค์มากขึ้น โดยพื้นฐานของความเท่าเทียมในทุกขั้นตอน หรือพูดง่ายๆ คือ อำนาจในการควบคุมข้อมูลจะมาอยู่ในมือของผู้ใช้มากขึ้น โดยไม่ต้องห่วงกังวลเรื่องการถูกเซนเซอร์หรือแทรกแซง เมื่อยังต้องอาศัยตัวกลางเหมือนในยุค Web 2.0
Web 3.0 ความจำเป็นต้องมี และอุปสรรคที่ยังต้องก้าวข้าม
เมื่อพิจารณาจากก้อนมหึมาของดาต้าขนาด 2.5 ล้านล้านล้านล้านไบต์ ในปี 2020 หรือ IP Traffic ของผู้ใช้งานทั่วโลกแต่ละเดือนในปี 2022 ซึ่งคาดว่าจะเฉลี่ยอยู่ที่ 332.7 EB (Exabyte) ความสามารถในการกระจายดาต้าจากตัวกลางของ Web 3.0 จึงถูกมองว่าจะเข้ามาช่วยแก้ปัญหาดาต้าล้นทะลัก ป้องกันความเสี่ยงด้านการจัดการความปลอดภัยได้ แต่ผู้ใช้สามารถทำงานอย่างเต็มประสิทธิภาพมากกว่าเดิม แม้ข้อมูลจะมีขนาดมหาศาลอย่างไรก็ตาม
อย่างไรก็ตาม กว่าจะไปถึงจุดที่จะเปลี่ยนผ่านสู่ Web 3.0 เต็มรูปแบบนั้น อาจยังไม่เกิดขึ้นฉับพลันทันที เนื่องจากยังมีข้อจำกัดบางอย่าง เช่น การใช้งานในโลกอินเทอร์เน็ตแบบไม่มีตัวกลางเลยนั้น ยังทำได้ยาก ลองคิดภาพการสร้างโลกเสมือนอย่างเมต้าเวิร์สขึ้นมา ก็ยังต้องมีเซิร์ฟเวอร์เป็นผู้รวมศูนย์ข้อมูล อีกทั้งเครื่องไม้เครื่องมือเทคโนโลยีในปัจจุบัน ก็ยังไม่พร้อมรองรับเทคโนโลยี Web 3.0
นอกจากนั้น การเป็นเทคโนโลยีที่ยังใหม่สำหรับหลายคน อาจยังต้องใช้เวลาในการสร้างความเข้าใจ และหากวันหนึ่งเกิดได้รับความนิยมแพร่หลายมาแล้ว ก็ยังมีคำถามเรื่องตัวบทกฎหมายในการกำกับดูแลอีกว่า จะสามารถปรับตัวให้สอดคล้องกับเทคโนโลยีใหม่นี้ได้ทันหรือไม่ กฎหมาย PDPA ที่บังคับใช้อยู่ อาจไม่พออีกต่อไปสำหรับการดูแลการใช้เทคโนโลยีนี้ และประเด็นที่นักสิ่งแวดล้อมอาจไม่ปลื้มนักคือ เทคโนโลยีนี้ก่อให้เกิด Carbon footprint มากกว่า Web 1.0 และ Web 2.0 เมื่อดูจากอัตราการใช้พลังงานที่คาดว่าจะเกิดขึ้น โดยอ้างอิงจากการทำงานของเหรียญดิจิทัลอย่างบิทคอยน์ ซึ่งรันโดยแนวคิดคล้ายคลึงกัน พบว่าการทำธุรกรรมเกี่ยวเนื่องนั้นสิ้นเปลืองพลังงานอย่างมาก ถือเป็นความท้าทายอีกอย่างที่ต้องขบคิดควบคู่ไปกับการพัฒนา Web 3.0 ระยะยาว
แม้ว่า Web 3.0 จะเป็นคอนเซปต์ที่เราได้ยินมากขึ้น แต่การใช้เป็นรูปธรรมแบบแพร่หลายอาจไม่เกิดขึ้นแบบก้าวกระโดด แต่การทำความรู้จักหลักการเพื่อให้เข้าใจเต็มที่เมื่อวันหนึ่งต้องใช้งาน จะทำให้เราได้เปรียบ เพราะสามารถดึงเอาประสิทธิภาพของมันมาตอบโจทย์ตัวเองมากที่สุด และยังรู้ว่ามีจุดอ่อนใดพึงระวัง
ที่มา
https://101blockchains.com/top-web3-features/
https://medium.com/@vivekmadurai/web-evolution-from-1-0-to-3-0-e84f2c06739
https://www.geeksforgeeks.org/advantages-and-disadvantages-of-web-3-0/
https://techsauce.co/tech-and-biz/what-is-web-three-point-zero