ผลการค้นหา "{{keyword}}" ไม่ปรากฎแต่อย่างใด
การใช้และการจัดการคุกกี้
ธนาคารมีการใช้เทคโนโลยี เช่น คุกกี้ (cookies) และเทคโนโลยีที่คล้ายคลึงกันบนเว็บไซต์ของธนาคาร เพื่อสร้างประสบการณ์การใช้งานเว็บไซต์ของท่านให้ดียิ่งขึ้น โปรดอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมที่ นโยบายการใช้คุกกี้ของธนาคาร
การใช้และการจัดการคุกกี้
ธนาคารมีการใช้เทคโนโลยี เช่น คุกกี้ (cookies) และเทคโนโลยีที่คล้ายคลึงกันบนเว็บไซต์ของธนาคาร เพื่อสร้างประสบการณ์การใช้งานเว็บไซต์ของท่านให้ดียิ่งขึ้น โปรดอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมที่ นโยบายการใช้คุกกี้ของธนาคาร
ตลาดหุ้นจีน มังกรเศรษฐกิจแห่งเอเชีย ลงทุนลดหย่อนภาษีเพื่อการออม พร้อมรับโอกาสเติบโตที่ดีกว่า กับ SCBCHA-SSF SCBRMCHA และ SCBCTECH-SSF SCBRMCTECH
ตลาดหุ้นจีน...วิกฤตที่ต้องหนีห่าง หรือ โอกาสงามแห่งการลงทุนระยะยาว
หุ้นจีนในปี 2565 ถือได้ว่าเป็นปีแห่งการปรับฐาน ไม่ว่าจะเป็นตลาดหุ้นเซี่ยงไฮ้ เซินเจิ้น ฮ่องกง หรือหุ้นเทคโนโลยีจีนล้วนแล้วแต่ตกลงมาอย่างหนัก นักลงทุนจำนวนมากต่างก็ตั้งคำถามว่าเกิดอะไรขึ้นกับหุ้นจีน นี่คือวิกฤตที่ต้องหนีให้ห่าง หรือนี่คือโอกาสงามแห่งการลงทุนระยะยาว โดยเฉพาะการลงทุนในกองทุนประหยัดภาษี ซึ่งมีระยะเวลาคาดหวังผลนานถึง 10 ปี หุ้นจีนและหุ้นเทคโนโลยีจีน ยังคงเป็นทางเลือกที่น่าลงทุนหรือไม่ อะไรคือความเสี่ยง อะไรคือโอกาสที่รออยู่ บทความนี้เราจะไปฉายภาพให้เห็นกันครับ
เศรษฐกิจจีน...คือหนึ่งในเขตเศรษฐกิจที่เติบโตเร็วที่สุดในโลก เติบโตอย่างต่อเนื่องมาตลอดหลายสิบปีที่ผ่านมา ทั้งการค้า การลงทุน การผลิต การบริโภค การท่องเที่ยว และยังมีความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี แม้จะมีปัจจัยลบเชิงภูมิรัฐศาสตร์อย่างสงครามการค้าในปี 61 หรือ โรคระบาดโควิด-19 ที่เริ่มในปี 63 รวมทั้งความท้าทายต่างๆนานาเข้ามากระทบ แต่เศรษฐกิจในภาพรวมยังคงรักษาอัตราการเติบโตไว้ได้
ถ้าคุณเป็นนักลงทุนที่ลงทุนในหุ้นจีนมานานหลายปี จะทราบดีว่านี่คือตลาดหุ้นที่มีความผันผวน ปีที่ให้ผลตอบแทนเป็นบวก ก็บวกได้แรง ในปีที่ให้ผลตอบแทนเป็นลบ ก็ลบได้แรงได้เช่นกัน พิจารณาจากดัชนี CSI300 เป็นตัวแทน ซึ่งประกอบด้วยหุ้นของบริษัทจีนชั้นนำขนาดใหญ่และเป็นที่รู้จักดี (หุ้นจีน A-Share) จำนวน 300 ตัว เรียงตามมูลค่าตลาด และจดทะเบียนอยู่ในตลาดหลักทรัพย์เซี่ยงไฮ้ และตลาดหลักทรัพย์เซินเจิ้น ซึ่งสะท้อนภาพเศรษฐกิจของประเทศจีนในหลากหลายกลุ่มอุตสาหกรรมอย่างทั่วถึง ผลตอบแทนย้อนหลัง 3 ปีเป็นดังตาราง
ปี |
ผลตอบแทนดัชนี CSI300 |
2562 |
+35.6% |
2563 |
+24.8% |
2564 |
-5.6% |
มาปีนี้ 2565 เป็นที่ทราบกันดีว่า ปัจจัยลบมีมากมายรอบด้าน จากปัญหาเงินเฟ้อเพิ่มขึ้นสูงในรอบหลายสิบปี ความเสี่ยงเศรษฐกิจถดถอย(Recession) สงครามความขัดแย้งที่ยืดเยื้อ ราคาพลังงานพุ่งสูง การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางทั่วโลกและนโยบายลดสภาพคล่องลงในหลายประเทศ ส่งผลให้ผลตอบแทนของตลาดหุ้นทั่วโลกในปีนี้ YTD (Year to Date ถึงสิ้นเดือนตุลาคม) ติดลบอย่างหนัก เช่น สหรัฐอเมริกา S&P500 -19.1%, เกาหลีใต้ KOSPI -21.6%, ไต้หวัน TWSE -28.4%, และ ตลาดหุ้นเวียดนาม -31% เป็นต้น โดยตลาดหุ้นจีน CSI300 ให้ผลตอบแทนติดลบที่ -26.4% รวมไปถึงดัชนีหุ้นเทคโนโลยีจีน HSTECH และ ดัชนีหุ้นเทคโนโลยีจีนที่จดทะเบียนในสหรัฐฯ (NASDAQ Golden Dragon China Index) ก็ให้ผลตอบแทนติดลบที่ -44.34% และ -45.24% ตามลำดับ ซึ่งนับเป็นการปรับตัวลงภายในเวลาไม่ถึงปีที่หนักมาก
ถ้าเราสังเกตดู จะพบว่าตลาดหุ้นทั่วโลกแม้จะติดลบลงมาเหมือนกัน แต่กลับมีพื้นฐานเศรษฐกิจในปัจจุบันและภาพอนาคตที่ไม่เหมือนกัน ด้วยปัจจัยเฉพาะตัวของแต่ละประเทศ ซึ่งประเทศจีนที่แม้จะเผชิญความท้าทายหลายด้านในปัจจุบัน แต่เมื่อปัจจัยต่างๆคลี่คลายลงไป เชื่อว่าเศรษฐกิจจีนและกลุ่มเทคโนโลยีจีนจะสามารถกลับมาฟื้นตัวได้ดี และที่สำคัญหุ้นจีนได้ผ่านการปรับฐานค่อนข้างแรง ข่าวร้ายถูกรับรู้และสะท้อนในราคาหุ้นค่อนข้างมากแล้ว จนกระทั่งมีความน่าสนใจในเชิง Valuation โดยเฉพาะการลงทุนระยะยาว
ด้วยภาพการเติบโตระยะยาวที่ดีผนวกกับตลาดหุ้นที่เพิ่งผ่านการปรับฐานครั้งใหญ่ จึงนับเป็นโอกาสดีที่นักลงทุนจะได้วิเคราะห์ Risk and Return ในการลงทุนระยะยาวกับตลาดหุ้นจีน
ส่อง 5 ปัจจัย เหตุใดหุ้นจีนและหุ้นกลุ่มเทคโนโลยีจีน ปรับตัวลงหนักในปีนี้
ประเทศจีนถือเป็นยักษ์ใหญ่ทางเศรษฐกิจของโลก มีอัตราการเจริญเติบโตและพัฒนาที่น่าประทับใจมาหลายสิบปี เป็นตลาดหุ้นที่นักวิเคราะห์ให้ความสนใจมากที่สุดแห่งหนึ่ง ทั้งในแง่โอกาสการฟื้นตัวหลังโควิดและValuationที่ดึงดูด แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่าผลตอบแทนการลงทุนนับจากต้นปี กลับเป็นหนึ่งในตลาดหุ้นที่ให้ผลตอบแทนน่าผิดหวัง จากปัจจัยลบ 5 เรื่อง
1. นโยบาย Zero Covid ที่แข็งกร้าว
ปัจจุบันนี้ประเทศส่วนใหญ่ทั่วโลกได้เดินหน้า ออกจากยุคการควบคุมการระบาดของโควิดอย่างเข้มงวดกันหมดแล้ว แต่ในประเทศจีนและฮ่องกง ยังคงนโยบาย zero covid อย่างเข้มข้น ยังคงใช้นโยบายการปิดเมืองในหลายพื้นที่อยู่เป็นระยะ ซึ่งส่งผลกระทบต่อภาพรวมเศรษฐกิจทั้งหมด ทำให้ไม่สามารถเติบโตได้เลยหากนโยบาย Zero Covid และการล็อคดาวน์ยังคงอยู่
2. ผลการประชุมใหญ่พรรคคอมมิวนิสต์จีน ได้สร้างความกังวลแก่นักลงทุนต่างชาติ
ผลการเลือกคณะกรรมการสูงสุดที่เข้ามารับตำแหน่งบริหารประเทศ แสดงถึงการกระชับอำนาจของประธานาธิบดีสีจิ้นผิง ตอกย้ำความแตกต่างทางอุดมการณ์ทางการเมืองระหว่างจีนและสหรัฐมากขึ้น ซึ่งอาจส่งผลต่อความเสี่ยงด้านการเมืองระหว่างประเทศสูงขึ้น ตลาดจึงเกิดความกังวลอย่างมากถึงกับเทขายหุ้นออกมาเพื่อรอดูความชัดเจน
3. ปัญหาหนี้สินในภาคอสังหาริมทรัพย์จีน
ความกังวลเรื่องฟองสบู่ในภาคอสังหาริมทรัพย์จีนนั้นมีมานานแล้ว ผู้คนในประเทศจีนจำนวนไม่น้อยเลือกที่จะออมเงินในอสังหาฯแทนที่จะนำเงินมาฝากธนาคารหรือซื้อหุ้น เกิดเป็นดีมานด์มหาศาลและราคาที่เพิ่มสูงในภาคอสังหาฯจีน แต่พอมีการปรับเปลี่ยนนโยบายออกกฎระเบียบเพิ่มเงื่อนไขการกู้ยืมเงินภาคอสังหาให้ยากมากขึ้น ส่งผลให้อสังหาฯขายยากขึ้น ราคาเริ่มตกต่ำ อีกทั้งหลายโครงการยังสร้างไม่เสร็จ หลายคนเลือกที่จะหยุดผ่อนบ้าน ส่งผลต่อการผิดนัดชำระหนี้หุ้นกู้ของบริษัทอสังหาฯ เป็นปัจจัยลบกดดันตลาดหุ้น
4. Common Prosperity นโยบายเจริญรุ่งเรืองร่วมกัน
นี่คือนโยบายที่ต้องการกระจายความมั่งคั่งไปสู่คนหมู่มาก ไม่ให้เกิดความเหลื่อมล้ำมากเกินไป เป้าหมายอยู่ที่บริษัทขนาดใหญ่ที่ได้เปรียบในเชิง Economy of Scale หรือเป็นผู้เล่นรายใหญ่ที่มีส่วนแบ่งการตลาดอันดับ 1 ได้รับผลกระทบไม่ว่าจะเป็นการออกกฎระเบียบที่ไม่สนับสนุนต่อความใหญ่ของกิจการ การถูกปรับเป็นเงินจากการผูกขาดตลาด หรือในบางธุรกิจถูกออกกฎห้ามทำกำไร เช่นธุรกิจโรงเรียนกวดวิชา เป็นต้น
5. Regulatory Risk ผลกระทบไปที่หุ้นกลุ่มเทคโนโลยีจีน
บริษัทเทคโนโลยีจีนที่มีขนาดใหญ่ อย่างเช่น Alibaba Tencent Didi Meituan JD.com เป็นต้น ราคาปรับลดลงจาก YTD มากกว่า 35-55% จากผลของนโยบายกำกับดูแลของภาครัฐที่ควบคุมหุ้นเทคอย่างหนักในหลายรูปแบบ เช่น ออกกฎห้ามเล่นเกมเกินจำนวนระยะเวลาที่กำหนด ห้ามออกผลิตภัณฑ์ใหม่ ปรับเงินเรื่องการผูกขาดลิขสิทธ์ธุรกิจเพลง คำสั่งห้ามรับลูกค้าใหม่โดยลบแอพออกจาก App Store และ Play Store เป็นต้น ทำให้ความสามารถในการทำกำไรและการเติบโตของหุ้นเทคจีนสะดุดลง นักลงทุนจำนวนไม่น้อยมองว่าหุ้นกลุ่มเทคโนโลยีจีนไม่น่าลงทุนจากนโยบายของภาครัฐจีนเอง
มองในระยะยาว ตลาดหุ้นจีนยังถือว่าเป็นภูมิภาคที่น่าสนใจลงทุนมาก
ประเด็นความกังวลที่กล่าวมาข้างต้น น่าจะเป็นเพียงปัจจัยลบที่ส่งผลกระทบในระยะเวลาที่จำกัด ซึ่งไม่กระทบต่อภาพรวมการลงทุนในระยะยาว อีกทั้งหุ้นจีนก็ได้รับรู้ผลกระทบเชิงลบไปมากแล้ว ในขณะที่ปัจจัยพื้นฐานยังคงดีอยู่ ตลาดหุ้นจีนโดยรวมจะดีหรือไม่ ย่อมขึ้นอยู่กับทิศทางเศรษฐกิจระยะยาวของจีนเองด้วย ซึ่งธุรกิจในจีนยังมีโอกาสเติบโตได้อีกมากในอนาคต จากหลายปัจจัยบวกที่รออยู่
1. จีนพร้อมใช้มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง
ในขณะที่หลายประเทศทั่วโลกกำลังประสบปัญหาเงินเฟ้อสูง หากใช้มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจตอนนี้ ก็อาจเป็นการซ้ำเติมสถานการณ์เงินเฟ้อให้แย่ลง แต่ในทางกลับกัน ประเทศจีนสามารถใช้นโยบายการเงินการคลัง (ลดดอกเบี้ย อัดฉีดสภาพคล่อง) เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจได้อย่างต่อเนื่อง เพราะไม่มีความเสี่ยงเงินเฟ้อและสภาวะเศรษฐกิจถดถอยเหมือนในยุโรปและสหรัฐฯ
2. ขับเคลื่อนประเทศผ่านการบริโภคสินค้าจีนและเทคโนโลยีอนาคต
คณะผู้บริหารสูงสุดของประเทศชุดใหม่จะมีนโยบายการกระตุ้นเศรษฐกิจ โดยเฉพาะการพลิกฟื้นประเทศด้วยการบริโภคสินค้าที่ผลิตภายในประเทศ การอัพเกรดเทคโนโลยีเพื่อทดแทนการนำเข้าและลดการพึ่งพาประเทศฝั่งตะวันตก และขับเคลื่อนประเทศผ่านการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานภายในประเทศ และส่งเสริมอุตสาหกรรมที่สร้างการเติบโตในอนาคต อาทิ อุตสาหกรรมพลังงานสะอาด อุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้า อุตสาหกรรมอินเทอร์เน็ต เป็นต้น
3. เศรษฐกิจจีนยังคงมีศักยภาพขยายตัวได้สูง
แม้ว่าจะเผชิญความท้าทายรอบด้าน แต่ประเทศจีนยังคงมีการเติบโตของ GDP ในไตรมาส 3 ปี 2565 ได้สูงถึง 3.9% โดยคาดว่าเศรษฐกิจจีนจะแซงหน้าสหรัฐฯ ในปี 2570-2571 และมีขนาดเศรษฐกิจเพิ่มขึ้นกว่า 2 เท่าตัวในปี 2578 เช่นเดียวกับโครงสร้างเศรษฐกิจที่พร้อมสนับสนุนให้เกิดการพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันจากจำนวนประชากรที่สูงถึง 1,400 ล้านคน และมีการประเมินว่า คนชั้นกลางที่เป็นแกนหลักในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจจีนจะเพิ่มจำนวนขึ้นกว่า 45% ภายในปี 2568 ซึ่งจะช่วยผลักดันให้อุปสงค์ภายในประเทศขยายตัวได้แข็งแกร่ง สร้างความมั่นใจด้านการลงทุนของภาคธุรกิจต่อไปในอนาคต
4. โอกาสการผ่อนคลายมาตรการ Zero-COVID ภายในปี 66 เป็นต้นไป
มีโอกาสสูงที่รัฐบาลจีนจะเริ่มผ่อนคลายมาตรการ Zero-COVID ภายในปี 66 ทั้งนี้คาดการณ์กันว่า จะมีการเตรียมจัดตั้งคณะกรรมการเพื่อพิจารณาเรื่องการเปิดประเทศ และการทยอยผ่อนคลายกฎระเบียบในการควบคุมโควิด-19 ภายในครึ่งปีแรกของปี 66 ซึ่งคาดว่าจะส่งผลบวกต่อกิจกรรมทางเศรษฐกิจโดยรวม
5. มี Valuation น่าสนใจ
ตลาดหุ้นจีนได้รับปัจจัยลบกดดันมาตลอดเกือบ 2 ปี และได้ปรับตัวลงมาอย่างหนักแล้ว ทำให้ Valuation ของตลาดหุ้นจีนถูกกว่าค่าเฉลี่ยในระยะยาว และอยู่ต่ำกว่าตลาดหุ้นหลักต่างๆของโลกด้วย ในขณะที่คาดการณ์กำไรเติบโตโดดเด่นกว่าตลาดหุ้นอื่นๆ มีอัตราส่วนผลตอบแทนต่อความเสี่ยงที่น่าสนใจ คาดหวังการพลิกฟื้น(Turnaround)ของผลประกอบการและราคาหุ้นได้
ได้เวลาเข้าลงทุนในหุ้นจีนหรือยัง?
วิธีการหนึ่งซึ่งง่ายและหวังผลได้สูง คือการทยอยลงทุนระยะยาวในหุ้นจีน โดยเฉพาะการลงทุนที่ได้ผลประโยชน์ทางภาษีไปด้วยอย่างกองทุน SSF และ RMF ที่มีนโยบายการลงทุนในหุ้นจีน
ลงทุนเน้นๆใน หุ้นจีน A-Shares เลือก
SCBCHA-SSF กองทุนเปิดไทยพาณิชย์ หุ้นจีนเอแชร์ (ชนิดเพื่อการออม)
SCBRMCHA กองทุนเปิดไทยพาณิชย์ หุ้นจีนเอแชร์ เพื่อการเลี้ยงชีพ
· มีนโยบายลงทุนในหุ้นที่เป็นส่วนประกอบของดัชนี CSI 300 เพื่อให้ผลการดำเนินงานของกองทุนก่อนหักค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายใกล้เคียงกับผลตอบแทนของดัชนี CSI 300
· เน้นลงทุนในหน่วยลงทุนของกองทุนรวมต่างประเทศเพียงกองทุนเดียว (Feeder Fund) ได้แก่ ChinaAMC CSI 300 Index ETF (กองทุนหลัก) ซึ่งเป็นกองทุนประเภท Exchange Traded Fund ( ETF) ที่ซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ฮ่องกง บริหารงานภายใต้ความดูแลของ China Asset Management (Hong Kong) Limited และลงทุนในสกุลเงินหยวน (RMB)
· กลุ่มอุตสาหกรรมที่มีน้ำหนักสูงในกองทุนคือ 1) กลุ่มการเงิน 18.07% 2) กลุ่มอุตสาหกรรม 14.44% 3) กลุ่มสินค้าจำเป็น 14.02% และ 4) กลุ่มเทคโนโลยี 13.23%
· ลงทุนในหุ้นจีน A-Share ซึ่งเป็นหุ้นศักยภาพสูงที่จดทะเบียนในจีนแผ่นดินใหญ่ แข็งแกร่งจากการบริโภคและการพัฒนานวัตกรรมในประเทศ เช่น
o Kweichow Moutai Co., Ltd. ผู้ผลิตและจำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ที่ใหญ่ที่สุดของจีน แบรนด์ Maotai
o Contemporary Amperex Technology Co., Ltd. (CATL) ผู้นำระดับโลกด้านนวัตกรรมแบตเตอรี่กักเก็บพลังงานไฟฟ้า เป็นผู้ผลิตแบตเตอรี่ลิเธียม-อิออนสำหรับ EV ที่ใหญ่ที่สุดในโลก
o Ping An Insurance Group บริษัทโฮลดิ้งขนาดใหญ่ให้บริการหลากหลายธุรกิจการเงิน เช่น ประกัน ธนาคาร บริหารจัดการสินทรัพย์ บริการทางการเงิน รวมไปถึงบริการเฮลธ์แคร์ เป็นต้น
o China Merchants Bank ธนาคารพาณิชย์ชั้นนำใหญ่อันดับ 1 ของจีน มีการพัฒนาบริการอย่างต่อเนื่องให้บริการด้านการเงินหลากหลายประเภท
ลงทุนธีมเทคโนโลยี กับบริษัทเทคโนโลยียักษ์ใหญ่ของจีน เลือก
SCBCTECH-SSF กองทุนเปิดไทยพาณิชย์ China Technology (ชนิดเพื่อการออม)
SCBRMCTECH กองทุนเปิดไทยพาณิชย์ China Technology เพื่อการเลี้ยงชีพ
· มีนโยบายเน้นลงทุนในหน่วยลงทุนของกองทุนรวมต่างประเทศเพียงกองทุนเดียว (Feeder Fund) ได้แก่ Invesco China Technology ETF (กองทุนหลัก) ซึ่งเป็นกองทุนประเภท Exchange Traded Fund ( ETF) จดทะเบียนซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์นิวยอร์ค (NYSE Arca) ประเทศสหรัฐอเมริกาเพียงตลาดเดียว
· บริหารโดย Invesco Capital Management LLC และลงทุนในสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐ (USD) กองทุนหลักมีนโยบายลงทุนให้ผลการดำเนินงานของกองทุนก่อนหักค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายใกล้เคียงกับผลตอบแทนของดัชนี FTSE China Incl A 25%Technology Capped Index โดยจะลงทุนอย่างน้อยร้อยละ 90 ในหลักทรัพย์ที่เป็นส่วนประกอบของดัชนี FTSE China Incl A 25%Technology Capped Index
· กลุ่มอุตสาหกรรมที่มีน้ำหนักสูงในกองทุนคือ 1) กลุ่มไอที 49.45% 2) กลุ่มบริการสื่อสาร 36.95% และ 3) กลุ่มสินค้าอุปโภคบริโภคกลุ่มสินค้าฟุ่มเฟือย 10.42%
· ลงทุนในหุ้นเทคโนโลยีชั้นนำของจีน เป็นที่รู้จักระดับสากล มีศักยภาพเติบโตสูงจากการพัฒนานวัตกรรมและขยายฐานลูกค้าไปทั่วโลก เช่น
o Tencent หนึ่งในบริษัทเทคโนโลยีที่ใหญ่ที่สุดของจีน มีธุรกิจแอปพลิเคชันออนไลน์ที่หลากหลาย เช่น เกมออนไลน์ โซเชียลมีเดีย บริการสตรีมมิ่ง สื่อบันเทิง และ บริการ Cloud เป็นบริษัทแพลตฟอร์มเกมจากจีนที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก และยังเป็นเจ้าของ WeChat แอปพลิเคชันส่งข้อความที่ชาวจีนนิยมใช้มากที่สุด
o Meituan แอพพลิเคชั่นฟู้ดดีลิเวอรี่และไลฟ์สไตล์รายใหญ่ที่สุดของจีน จัดเป็น super app ที่ครอบคลุมทุกบริการภายในแอพฯเดียว เช่น สั่งอาหาร จองตั๋วหนัง จองร้านอาหาร ซื้อสินค้า/บริการ และจองสถานที่ท่องเที่ยวต่างๆ อีกทั้งยังเป็นช่องทางที่รวบรวมดีลส่วนลดสำหรับร้านค้าไว้อย่างหลากหลาย
o Baidu เป็นบริษัทเทคโนโลยีขนาดใหญ่ของจีนที่เชี่ยวชาญด้านปัญญาประดิษฐ์(AI) บริการที่เกี่ยวข้องกับอินเทอร์เน็ต และเป็นเจ้าของระบบเสิร์ชเอ็นจิ้น ที่มีการใช้งานสูงสุดในประเทศจีน
เป็นเจ้าของ SCBCHA-SSF SCBRMCHA และ SCBCTECH-SSF SCBRMCTECH วันนี้ เริ่มต้นยังไง?
ใครสนใจ อย่าช้า เริ่มต้นวันนี้ ด้วยการดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน SCB Easy แล้วทำตาม 3 ขั้นตอนง่ายๆนี้
1. เปิดบัญชีกองทุนผ่าน SCB Easy App
2. ผูกบัญชีกองทุนบน SCB Easy App
3. ซื้อกองทุนผ่าน SCB Easy App
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ :
SCBCHA-SSF https://www.scbam.com/th/fund/tax-ssf/fund-information/scbcha-ssf
SCBRMCHA https://www.scbam.com/th/fund/tax-rmf/fund-information/scbrmcha
SCBCTECH-SSF https://www.scbam.com/th/fund/tax-ssf/fund-information/scbctech-ssf
SCBRMCTECH https://www.scbam.com/th/fund/tax-rmf/fund-information/scbrmctech
คำเตือน:
· ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไข ผลตอบแทน ความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน และศึกษาสิทธิประโยชน์ทางภาษีที่ระบุไว้ในคู่มือการลงทุนของกองทุน RMF/SSF ก่อนตัดสินใจลงทุน
· กรณีไม่ได้ปฏิบัติตามเงื่อนไขทางภาษี จะไม่ได้สิทธิประโยชน์ตามเงื่อนไขของกองทุน รวมถึงควรลงทุนในกองทุนรวมที่เหมาะสมกับวัตถุประสงค์การลงทุนของตนและยอมรับความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นจากการลงทุนได้
· ผลการดำเนินงานในอดีตของกองทุนรวม มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต
· กองทุนบางกองทุนมิได้ป้องกันความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยนทั้งจำนวนรวมถึงบางกองทุนมีการลงทุนกระจุกตัวในหมวดอุตสาหกรรม จึงมีความเสี่ยงที่ผู้ลงทุนอาจสูญเสียเงินทุนจำนวนมาก ผู้ลงทุนอาจได้รับเงินคืนต่ำกว่าเงินลงทุนเริ่มแรกได้ ดังนั้นควรลงทุนในกองทุนรวมที่เหมาะสมกับวัตถุประสงค์การลงทุนของตน และผู้ลงทุนยอมรับความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นจากการลงทุนดังกล่าวได้ และสามารถศึกษาข้อมูลกองทุนหลักได้จาก website ของบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนรวม และรายละเอียดเพิ่มเติมของกองทุนผ่าน SCB EASY App
#SCB x #นิ้วโป้งFundamentalVI
#SCBEASY
#SCBCHA-SSF #SCBRMCHA
#SCBCTECH-SSF #SCBRMCTECH
#SSF #RMF #กองทุนลดหย่อนภาษี