ลงทุนตราสารหนี้แบบไหนถึงจะใช่สำหรับปี 2566

ถ้าย้อนกลับไปเมื่อปี 2565 จะลงทุนหุ้นหรือว่าตราสารหนี้ ก็ได้เห็นผลตอบแทนตัวแดงๆ พอร์ตติดลบไม่ต่างกัน เพราะได้รับผลกระทบจากอัตราดอกเบี้ยที่ขึ้นแรงแซงทุกโค้ง


แต่ภาพการลงทุนปีนี้จะเปลี่ยนไป เมื่อทิศทางดอกเบี้ยที่ปรับขึ้นอย่างรวดเร็วในปี 2565 มาในปีนี้เริ่มเห็นสัญญาณที่ธนาคารกลางหลักต่างๆ จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยช้าลง เพียงแต่ยังคงปรับขึ้นแล้วจึงคงอัตราดอกเบี้ยไว้ระดับสูง อย่างเช่น ธนาคารกลางสหรัฐ ฯ (Fed) ที่ในการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงินนัดแรกของปี 2566 ได้ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยไปแค่ 0.25% และคาดว่าเดือน มี.ค. และ พ.ค. นี้ จะปรับขึ้นดอกเบี้ยอีกครั้งละ 0.25% จากนั้นอาจคงดอกเบี้ยอยู่ที่ 5.25% ตลอดปี 2566


ขณะที่ เงินเฟ้อ ที่พุ่งสูงไม่มีอะไรต้านไหวในปี 2565 ก็เริ่มชะลอลงแล้วในปี 2566 เพียงแต่ก็ยังสูงอยู่ ส่วนประเด็นเศรษฐกิจถดถอยก็ยังเป็นประเด็นที่นักลงทุนกังวลอยู่


เมื่อไปดูเรื่อง ส่วนต่างระหว่างผลตอบแทนของตราสารหนี้ภาคเอกชนระดับที่ลงทุนได้ (Investment Grade) เทียบกับพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ ก็พบว่า มีแนวโน้มทรงตัวถึงลดลง จากความไม่แน่นอนเรื่องอัตราดอกเบี้ยที่ลดลง ซึ่งประเด็นนี้จะทำให้หุ้นกู้ Investment Grade ที่มีคุณภาพสูงมีราคาสูงขึ้น เป็นผลดีสำหรับผู้ลงทุนที่ถือหุ้นกู้จนครบกำหนดไถ่ถอน หรือแม้กระทั่งขายทำกำไรออกมาก่อน ซึ่งเมื่อพิจารณาในด้านมูลค่า หรือ Valuation ของตราสารหนี้ ก็พบว่า มีความน่าสนใจ จากอัตราผลตอบแทนที่อยู่เหนือระดับค่ากลางในรอบ 10 ปี

1785464111

ในภาวะเช่นนี้ SCB CIO แนะนำให้ทยอยสะสมพันธบัตร/หุ้นกู้ ที่มีอายุเฉลี่ยระยะยาว (Long Duration) และเน้นคัดเลือกกลุ่มที่อยู่ในระดับ Investment Grade ในไตรมาส 1-2 ปี 2566


สำหรับกองทุนที่น่าสนใจ เพราะมีนโยบายการลงทุนสอดคล้องกับคำแนะนำนี้ ได้แก่ กองทุนเปิดเอ็มเอฟซี ยูเอส แอกกริเกท บอนด์ฟันด์ หรือ MUBOND-A


ความน่าสนใจของกองทุนนี้คือ จะไปลงทุนใน JPMorgan Funds US Aggregate Bond ซึ่งมีกลยุทธ์เน้นลงทุนในตราสารหนี้สหรัฐฯ ที่มีคุณภาพสูง หรือ US High Quality Bond จำนวนกว่า 2,000 ตัว เพื่อกระจายความเสี่ยง เพื่อให้พอร์ตลงทุนของกองทุนโดยรวมมีความเสี่ยงต่ำลง และสอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของดอกเบี้ยของสหรัฐฯ


กองทุนนี้จะเน้นคัดเลือกตราสารหนี้สหรัฐฯ ระยะยาวที่มีคุณภาพดี เพื่อเพิ่มโอกาสในการสร้างผลตอบแทน เมื่อ Fed ทำการหยุดขึ้นดอกเบี้ย และมีแนวโน้มลดดอกเบี้ยในอนาคต


สำหรับกองทุนนี้ เหมาะสำหรับผู้ลงทุนที่ไม่พร้อมลงทุนในสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงสูงเช่นหุ้น แต่ต้องการลงทุนเพื่อสร้างกระแสเงินสด ด้วยการลงทุนในสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงต่ำกว่า รวมถึงผู้ลงทุนที่ต้องการจัดสรรเงินลงทุนในสินทรัพย์ที่หลากหลาย (Asset Allocation) ด้วยตัวเอง โดยปัจจุบันอาจจะมีกองทุนหุ้นอยู่แล้ว แต่ยังไม่เคยลงทุนกองทุนตราสารหนี้ หรืออาจจะต้องการเพิ่มสัดส่วนกองทุนตราสารหนี้ กองทุนนี้ก็เป็นทางเลือกที่น่าสนใจ


ทั้งนี้ กองทุน MUBOND-A มีความเสี่ยงระดับ  4 คือ เสี่ยงปานกลางค่อนข้างต่ำ และเนื่องจากการลงทุนในกองทุนรวมไม่ใช่การฝากเงิน ดังนั้นผู้ลงทุนยังมีโอกาสขาดทุนได้อยู่


(ที่มาข้อมูล : https://www.mfcfund.com/Web//UploadFiles/IPOFiles/IPO%20ffs_MUBOND_D_A_15032023_111507.pdf )

เมื่อพิจารณาสัดส่วนการลงทุนของ JPMorgan Funds US Aggregate Bond กองทุนหลักในต่างประเทศที่ MUBOND-A ไปลงทุน พบว่า เน้นลงทุนในตราสารหนี้สหรัฐฯ ที่มีคุณภาพสูง โดยลงทุนในพันธบัตร หุ้นกู้เอกชน และ Agency MBS เป็นสัดส่วนใหญ่รวมกันสูงถึง 87% ส่งผลให้เครดิตเรตติ้งเฉลี่ยกองทุนอยู่ในระดับที่สูงมาก คือ AA และมีอายุเฉลี่ยตราสารหนี้ (Duration) ที่ยาวประมาณ 6 ปี ทำให้ยังได้รับ Yield ที่สูงอยู่ในระดับ 5% จากการที่ถือ Duration ยาว ไม่ได้มาจากการลงทุนในตราสารหนี้ที่ความเสี่ยงสูง


ส่วนตราสาร 5 ตัวแรก ที่กองทุนหลักลงทุน
ก็มีสัดส่วนรวมไม่ถึง 10% ของพอร์ตรวม ซึ่งก็มาจากการที่กองทุนหลักมีการกระจายการลงทุนในตราสารหนี้กว่า 2,000 ตัว โดยถือพันธบัตรสหรัฐฯ อายุยาวเป็นหลัก


ด้านผลตอบแทนย้อนหลังของกองทุนหลักในต่างประเทศ
เมื่อเทียบกับค่าเฉลี่ยของกลุ่ม พบว่า ผลตอบแทนนับตั้งแต่ต้นปี 2566 อยู่ที่ 2.83% อยู่ในระดับดี เมื่อเทียบกับเฉลี่ยในกลุ่ม ซึ่งอยู่ที่ 2.42% โดยค่าเฉลี่ยในกลุ่มมาจากกลุ่มกองทุนประเภท USD Diversified Bond และข้อมูลการจัดอันดับผลการดำเนินงานมาจาก Morningstar


ขณะที่เมื่อย้อนดูผลตอบแทนในปี 2565 พบว่า ติดลบ จากการที่ Bond Yield สหรัฐฯ ปรับตัวเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง ทำให้กองทุนได้รับผลกระทบค่อนข้างมาก อย่างไรก็ดี ในปีนี้ที่ Fed จะหยุดขึ้นดอกเบี้ย และอาจจะปรับลดดอกเบี้ยลง จะเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้กองทุนมีโอกาสสร้างผลตอบแทนได้


เมื่อดูผลการดำเนินงานย้อนหลัง 5 ปี พบว่า ทำผลตอบแทนเฉลี่ยต่อปีได้ที่ 0.96% อยู่ในระดับดี เทียบค่าเฉลี่ยในกลุ่มเช่นกัน และเมื่อดูย้อนหลังไปถึง 10 ปี ทำผลตอบแทนเฉลี่ยต่อปีได้ 1.50% อยู่ในระดับดีมาก เทียบค่าเฉลี่ยในกลุ่ม

คำเตือน

- กองทุนเปิดเอ็มเอฟซี ยูเอส แอกกริเกท บอนด์ ฟันด์ หรือ MUBOND-A มีความเสี่ยงระดับ  4 คือ เสี่ยงปานกลางค่อนข้างต่ำ
- การลงทุนมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน ความเสี่ยง ก่อนตัดสินใจลงทุน
- ผลการดำเนินงานในอดีต มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต
- ศึกษาข้อมูลกองทุนหลักและหนังสือชี้ชวนกองทุนรวมเพิ่มเติมได้จาก website ของบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนรวม (บลจ. เอ็มเอฟซี)


บทความโดย SCB CIO Office [คุณจารุพันธ์ จิระรัชนิรมย์ (IC Complex1)/ผู้วางแผนการลงทุน (IP) license no. 114051]


ข้อมูล ณ วันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2566