ผลการค้นหา "{{keyword}}" ไม่ปรากฎแต่อย่างใด
การใช้และการจัดการคุกกี้
ธนาคารมีการใช้เทคโนโลยี เช่น คุกกี้ (cookies) และเทคโนโลยีที่คล้ายคลึงกันบนเว็บไซต์ของธนาคาร เพื่อสร้างประสบการณ์การใช้งานเว็บไซต์ของท่านให้ดียิ่งขึ้น โปรดอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมที่ นโยบายการใช้คุกกี้ของธนาคาร
การใช้และการจัดการคุกกี้
ธนาคารมีการใช้เทคโนโลยี เช่น คุกกี้ (cookies) และเทคโนโลยีที่คล้ายคลึงกันบนเว็บไซต์ของธนาคาร เพื่อสร้างประสบการณ์การใช้งานเว็บไซต์ของท่านให้ดียิ่งขึ้น โปรดอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมที่ นโยบายการใช้คุกกี้ของธนาคาร
Circular Manufacturing พัฒนาธุรกิจสู่ความยั่นยืนด้วยเศรษฐกิจหมุนเวียน
โมเดลเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) คือ การใช้ทรัพยากรธรรมชาติให้เกิดคุณค่าสูงสุดแบบหมุนเวียน พร้อมกระบวนการจัดการของเสีย วัตถุดิบ สินค้าที่เสื่อมสภาพ สินค้าหมดอายุ การใช้พลังงาน ให้สามารถกลับมาเป็นทรัพยากรหมุนเวียนภายใต้กระบวนการที่เหมาะสม ดร.ศรุดา ศิริภัทรปรีชา Sustainability Management Manager บริษัท ฟอร์จูน พาร์ท อินดัสตรี้ (FPI) ได้แชร์เรื่อง Circular Economy ในอุตสาหกรรมการผลิตชิ้นส่วนอะไหล่รถยนต์แบบบูรณาการให้ผู้เข้าสัมมนา Mission X Roadmap to Sustainability ดังนี้
Circular Economy สำคัญอย่างไร
ในอดีตแนวคิดการบริหารธุรกิจแต่ละองค์กรจะมุ่งเน้นที่ผลกำไรสูงสุดให้แก่ผู้ถือหุ้น แต่ในปัจจุบันหลายองค์กรได้เปลี่ยนแนวคิดหันมาให้ความสำคัญกับผู้มีส่วนได้เสียอย่างรอบด้าน ไม่ว่าจะในมิติทางเศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อม ด้วยการบริหารจัดการแบบ Optimized Profit โดบคำนึงถึงผลประโยชน์ของทุกฝ่ายภายใต้ห่วงโซ่อุปทาน
ข้อมูลของ Gartner พบว่าภายในปี 2030 Circular Economy จะเป็นเพียงระบบเศรษฐกิจเดียวของโลกที่เหลืออยู่ และจากข้อมูลงานวิจัยของ Economic ระบุว่า ถ้าในยุโรปมีการลดก๊าซเรือนกระจกจาก 4 อุตสาหกรรม ได้แก่ เหล็ก, พลาสติก, อลูมิเนียมและซีเมนต์ จะสามารถช่วยให้ลดก๊าซเรือนกระจกลงไปได้ถึง 56%
นอกจากนี้รายงานยังระบุว่า ความต้องการพลาสติกจะมีเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะจากฝั่งเอเชียและแอฟริกา โดยจะเพิ่มขึ้นจากอุตสาหกรรม เช่น ชิ้นส่วนยานยนต์ , อิเล็กทรอนิกส์ , บรรจุภัณฑ์ เป็นต้น ซึ่งถ้าหากฝั่งยุโรปไม่ดำเนินการใดๆ จะทำให้มีการเพิ่มขึ้นของการปล่อยก๊าซเรือนกระจกถึง 76% ภายในปี 2050 และถ้าหากมีการนำโมเดล Circular Economy มาใช้จะสามารถช่วยลดได้ถึง 50% จากการใช้วัสดุทดแทนหรือการรีไซเคิล เป็นต้น
ดังนั้น ความท้าทายในวันนี้ คือ จะเลือกดำเนินธุรกิจที่สร้างผลตอบแทนในระยะสั้นหรือจะเลือกทำธุรกิจตามโมเดล Circular Economy ที่มุ่งเน้นการสร้างผลตอบแทนระยะยาว ด้วยการรักษาคุณค่าของผลิตภัณฑ์ให้ใช้ได้นานที่สุด
Circular Economy มีหลักการ 8 ข้อ คือ
จากภาพประกอบจะเห็นได้ว่าวงจรที่สั้นสุดจะใช้ทรัพยากรน้อยที่สุดในการกลับคืนสู่สภาพดังเดิม นั่นคือการ Reused ขณะที่การ Recycle เป็นวงจรที่ยาวที่สุด นั่นหมายความว่าจะต้องใช้ทรัพยากรมากที่สุดในการกลับคืนสู่สภาพดังเดิม
ตัวอย่าง Circular Economy
บริบทภายนอกที่ส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมการผลิต
ดร.ศรุดา ได้ยกตัวอย่าง มาตรการจากทั่วโลกที่ส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมภาคการผลิต ที่จะได้รับผลกระทบต่อการส่งสินค้าไปขายยังต่างประเทศ ดังนี้
Circular Economy นำมาใช้ในองค์กรได้อย่างไร
ดร.ศรุดา กล่าวว่า ฟอร์จูน พาร์ท อินดัสตรี้ (FBI) มีพันธกิจ คือ การพัฒนาสู่ความเป็นเลิศเชิงนิเวศเศรษฐกิจ ด้วยการสร้างคุณค่าเพิ่ม ต่อผู้มีส่วนได้เสีย ควบคู่ไปกับการกำกับดูแลกิจการที่ดี โดยจากพันธกิจได้แตกออกมาเป็น Frame Work ในการสร้างความสมดุลระหว่างเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อมและพลังงาน โดย FBI ได้กำหนดเป้าหมาย 2CG เพื่อใช้ในการรองรับมาตรการ The European Green Deal ประกอบด้วย
ดร.ศรุดา ย้ำว่า การนำ Circular Economy มาใช้ในองค์กรสิ่งสำคัญที่สุด คือ ผู้นำองค์กร ถ้าผู้นำมีทิศทางไม่ชัดเจนการทำ Circular Economy ก็ไม่มีทางสำเร็จได้ โดยสิ่งที่สำคัญที่สุดในกระบวนการผลิตตามโมเดล Circular Economy คือ การสร้างคุณค่าจากกิจกรรมต้นน้ำและการบริหารงานแบบ Value Chain แทนแบบ Supply Chain
ทำ Circular Economy แล้วดีอย่างไร
การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ การเพิ่มขึ้นของจำนวนประชากร ย่อมส่งผลให้เกิดการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติอย่างฟุ่มเฟือย ทำให้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดกำลังจะขาดแคลน Circular Economy จึงเป็นโมเดลที่ตอบโจทย์ในการเปลี่ยนแปลงวงจรการใช้ทรัพยากรให้มีการหมุนเวียนได้มากที่สุด ด้วยการนำทรัพยากรกลับมาใช้ใหม่ ลดการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจก จึงทำให้ Circular Economy กลายเป็นทางออกที่ทำให้เกิดเปลี่ยนแปลงรูปแบบการใช้พลังงานและวัตถุดิบให้มีประสิทธิภาพและเกิดประโยชน์ได้อย่างสูงสุด
ที่มา : สัมมนา Mission X Roadmap to Sustainability: Circular Economy โดย ดร.ศรุดา ศิริภัทรปรีชา Sustainability Management Manager บริษัท ฟอร์จูน พาร์ท อินดัสตรี้ (FPI) วันที่ 15 มิถุนายน 2566