ผลการค้นหา "{{keyword}}" ไม่ปรากฎแต่อย่างใด
การใช้และการจัดการคุกกี้
ธนาคารมีการใช้เทคโนโลยี เช่น คุกกี้ (cookies) และเทคโนโลยีที่คล้ายคลึงกันบนเว็บไซต์ของธนาคาร เพื่อสร้างประสบการณ์การใช้งานเว็บไซต์ของท่านให้ดียิ่งขึ้น โปรดอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมที่ นโยบายการใช้คุกกี้ของธนาคาร
การใช้และการจัดการคุกกี้
ธนาคารมีการใช้เทคโนโลยี เช่น คุกกี้ (cookies) และเทคโนโลยีที่คล้ายคลึงกันบนเว็บไซต์ของธนาคาร เพื่อสร้างประสบการณ์การใช้งานเว็บไซต์ของท่านให้ดียิ่งขึ้น โปรดอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมที่ นโยบายการใช้คุกกี้ของธนาคาร
Unit Linked มีกี่แบบ เลือกอย่างไรให้ตรงใจ
ในสภาวะที่ดอกเบี้ยต่ำ ส่งผลให้ผลตอบแทนของประกันชีวิตที่การันตีผลตอบแทน เช่น ประกันสะสมทรัพย์ มีผลตอบแทนที่ลดลงด้วยเช่นกัน เหตุที่เป็นเช่นนี้เพราะเงินบางส่วนจากเบี้ยประกันที่เราจ่ายเข้าไปนั้น บริษัทประกันจะนำไปลงทุนในพันธบัตรรัฐบาล เมื่อดอกเบี้ยต่ำ ผลตอบแทนจากพันธบัตรรัฐบาลก็ต่ำตามไปด้วย และหากดอกเบี้ยยังต่ำเช่นนี้ไปเรื่อยๆ บริษัทประกันก็อาจไม่สามารถการันตีผลตอบแทนให้ได้ บริษัทประกันจึงได้ออกประกันแบบยูนิต ลิงค์ขึ้นมา เพื่อเป็นทางเลือกให้ผู้เอาประกันได้ทั้งความคุ้มครอง และได้ลงทุนในพอร์ตการลงทุนตามระดับความเสี่ยงที่รับได้อีกด้วย
ยูนิต ลิงค์ เป็นประกันที่ให้ความคุ้มครองชีวิต พร้อมโอกาสรับผลตอบแทนที่สูงขึ้นจากการลงทุน ซึ่งเบี้ยประกันยูนิต ลิงค์ ที่ผู้เอาประกันจ่ายจะแบ่งเป็นสองส่วน คือ เบี้ยประกันส่วนแรกจะถูกหักออกไปเพื่อชำระค่าใช้จ่ายในการทำประกันชีวิตก่อน หลังจากนั้นเบี้ยส่วนที่เหลือจะนำไปลงทุนในกองทุนรวมตามสัดส่วนที่ลูกค้าเลือกไว้ โดยรายละเอียดว่า Unit Linked คืออะไร และเหมาะกับใคร สามารถอ่านเพิ่มเติมได้ที่บทความนี้
https://www.scb.co.th/th/personal-banking/stories/unit-linked.html
สำหรับในบทความนี้ เราจะมาขยายความกันต่อว่า ยูนิตลิงค์ มีกี่แบบ และควรเลือกอย่างไรดี
ประกันยูนิตลิงค์ แบ่งออกได้เป็น 2 แบบ ดังนี้
1.แบบจ่ายเบี้ยครั้งเดียว (Single Premium)
ก่อนอื่นต้องรู้ว่า ในประกันยูนิต ลิงค์ จะแบ่งเบี้ยประกันออกเป็น 2 ประเภท คือ เบี้ยประกันหลัก และเบี้ยประกันเพิ่มเติม (Top Up)
หากเป็นแบบจ่ายเบี้ยครั้งเดียว จะเป็นแบบที่ชำระค่า
เบี้ยประกันหลัก
เพียงครั้งเดียว โดยผู้เอาประกันจะได้ทุนประกันอยู่ประมาณ 110 – 150% ของเบี้ยประกันภัยชำระครั้งเดียว เบี้ยประกันหลักโดยเฉลี่ยเริ่มต้นขั้นต่ำที่ 100,000 บาท (แต่ก็มีบางแบบที่มีเบี้ยประกันหลักขั้นต่ำสูงกว่านี้) มีระยะเวลาคุ้มครองตลอดชีพ (ถึงอายุ 99 ปี) หรือตราบเท่าที่มูลค่ารับซื้อคืนหน่วยลงทุนจะเพียงพอหักค่าใช้จ่ายต่างๆ ตามตารางค่าธรรมเนียมกรมธรรม์
โดยแบบนี้ เป็นแบบที่ไม่ได้เน้นความคุ้มครอง เช่น หากจ่ายเบี้ยประกัน 100,000 บาท จะได้ทุนประกันอยูที่ประมาณ 110,000 – 150,000 บาท (ตามที่ระบุในแต่ละแบบประกัน) ซึ่งเมื่อความคุ้มครองต่ำ ค่าใช้จ่ายในการทำประกันชีวิตก็จะต่ำตามไปด้วย ทำให้เงินส่วนที่จะนำไปลงทุนมีสัดส่วนที่สูงกว่ายูนิต ลิงค์แบบอื่นๆ เท่ากับว่าเป็นการสะสมความมั่งคั่ง พร้อมได้รับความคุ้มครองชีวิตในระดับหนึ่ง แต่จะไม่สามารถซื้อสัญญาเพิ่มเติมได้
หากผู้เอาประกันต้องการลงทุนเพิ่ม สามารถลงทุนผ่านการจ่ายเบี้ยประกันเพิ่มเติมได้ แต่จะไม่มีความคุ้มครองให้ ดังนั้นจำง่ายๆ ว่า จ่ายเบี้ยประกันหลัก จะมีความคุ้มครอง หากเป็นเบี้ยประกันเพิ่มเติมจะไม่มีความคุ้มครอง (แต่ก็จะมีเงินไปลงทุนที่สูงขึ้น)
2. แบบจ่ายเบี้ยเป็นประจำ หรือรายงวด (Regular Premium)
แบบนี้จะเป็นแบบที่ชำระค่า เบี้ยประกันหลัก เป็นประจำ ผู้เอาประกันสามารถเลือกได้ว่าจะจ่ายเป็นรายปี ราย 6 เดือน ราย 3 เดือน หรือรายเดือนก็ได้ ผู้เอาประกันจะได้ทุนประกันเป็นจำนวนเท่าของเบี้ยประกันภัยหลัก โดยบริษัทประกันจะระบุทุนประกันขั้นต่ำไว้ เช่น จำนวนเงินเอาประกันภัยขั้นต่ำอยู่ที่ 200,000 บาท และไม่น้อยกว่า 5 เท่าของเบี้ยประกันภัยหลัก ซึ่งเราสามาถเลือกทุนประกันที่สูงกว่าทุนประกันขั้นต่ำได้ หากเรามีความต้องการอยากได้ความคุ้มครองที่สูง อย่างไรก็ตามทุนประกันที่สูง ค่าใช้จ่ายในการทำประกันชีวิตก็จะสูงตามไปด้วย ทำให้เงินส่วนลงทุนก็จะน้อยลงไปตามสัดส่วน หากผู้เอาประกันต้องการลงทุนเพิ่ม สามารถลงทุนผ่านการจ่ายเบี้ยประกันเพิ่มเติมได้เช่นกัน
ข้อดีของประกันยูนิต ลิงค์แบบรายงวด
คือ ให้ความคุ้มครองที่สูง มีความยืดหยุ่นโดยสามารถปรับเพิ่มหรือลดทุนประกันชีวิตตามความเหมาะสม และความต้องการของแต่ละช่วงชีวิตได้โดยไม่จำกัดจำนวนครั้ง สามารถปรับเปลี่ยนจำนวนเบี้ยได้ โดยการปรับเปลี่ยนจำนวนเบี้ยจะต้องสอดคล้องกับเงื่อนไขของทุนประกันชีวิตที่กำหนดไว้ และสามารถซื้อสัญญาเพิ่มเติมแนบได้
ตัวอย่างของความยืดหยุ่น
เช่น หากเราเป็นหัวหน้าครอบครัว และมีลูกเล็ก มีความกังวลว่าหากเกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝัน จากไปก่อนวัยอันควรแล้วครอบครัวจะลำบากจึงอยากได้ความคุ้มครองในวงเงินที่สูง ซึ่งหากเลือกทำประกัน ยูนิต ลิงค์แบบรายงวด จะสามารถเลือกวงเงินที่สูงได้ (ตามที่กำหนดไว้ในแบบประกัน) เมื่อเวลาผ่านไป ลูกๆ เติบโตไปตามวัย ไม่มีอะไรที่ต้องกังวลแล้ว เราก็สามารถขอลดทุนประกันเป็นขั้นต่ำได้ และเก็บเงินก้อนนี้เพื่อเป็นเงินเกษียณอายุของตัวเองแทน
ตารางสรุปประกันยูนิต ลิงค์ แบบจ่ายเบี้ยครั้งเดียวและแบบจ่ายเบี้ยเป็นประจำ
รายละเอียด |
แบบจ่ายเบี้ยครั้งเดียว |
แบบจ่ายเบี้ยเป็นประจำ |
1. ประโยชน์ |
เน้นสะสมความมั่งคั่ง พร้อมรับความคุ้มครองชีวิต |
เน้นความคุ้มครองชีวิตที่เหมาะสม เพื่อไปถึงเป้าหมายการเงินที่ต้องการ |
2. ระยะเวลาชำระเบี้ย |
ชำระเบี้ยประกันภัยครั้งเดียว |
ชำระเบี้ยประกันภัยรายงวด |
3. เบี้ยประกันหลักขั้นต่ำ |
ประมาณ 100,000 บาท |
ประมาณหลักหมื่นบาท |
4. จำนวนเงินเอาประกัน |
ประมาณ 110 – 150% ของเบี้ยประกันภัยชำระครั้งเดียว |
สูงกว่าแบบจ่ายเบี้ยครั้งเดียวและกำหนดเป็นจำนวนเท่าของเบี้ยประกันหลัก |
5. ค่าใช้จ่ายในการดำเนินการประกันภัย |
มีค่าใช้จ่ายต่อปีต่ำกว่า |
มีค่าใช้จ่ายต่อปีสูงกว่า |
6. สัญญาเพิ่มเติม |
ไม่สามารถซื้อสัญญาเพิ่มเติมได้ |
ซื้อสัญญาเพิ่มเติมได้ |
กล่าวโดยสรุป ประกันยูนิต ลิงค์แต่ละแบบก็มีข้อดีและข้อจำกัดที่แตกต่างกัน หากเรามีความรู้และความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับโครงสร้างของประกันแบบนี้ จะทำให้เราสามารถเลือกซื้อประกันยูนิต ลิงค์ที่ตอบโจทย์และตรงใจได้มากยิ่งขึ้น
บทความโดย : นิภาพันธ์ พูนเสถียรทรัพย์ CFP®, ACC
นักวางแผนการเงินอิสระ นักเขียนและวิทยากร