อยากเปลี่ยนวัสดุปูพื้นควรเลือกอย่างไรให้เหมาะกับห้องของคุณ

เมื่อถึงเวลาที่พื้นบ้านต้องการการซ่อมแซมเนื่องจากปัญหาต่างๆ ทั้งรอยขูดขีด หลุดร่อน แตก บวม  โดนปลวกกิน ฯลฯ ทำให้เจ้าของบ้านอยากเปลี่ยนพื้นห้องใหม่นอกจากจะเพื่อซ่อมแซมให้ดูดีแล้วยังได้เปลี่ยนบรรยากาศภายในบ้านหลังเดิมอีกด้วย ซึ่งปัจจุบันวัสดุปูพื้นในบ้านมีให้เลือกหลากหลายชนิดที่ให้ความรู้สึกและอารมณ์ที่ต่างกันไปตามวัสดุที่เลือกใช้ เช่น บางวัสดุทำเลียนแบบไม้ธรรมชาติหรือหินธรรมชาติทำให้บ้านดูอบอุ่นผ่อนคลายหรือบางวัสดุทำเลียนแบบลายหินอ่อนทำให้บ้านดูหรูหรามีระดับแถมยังแข็งแรงทนรอยขีดข่วนกันน้ำกันปลวกได้ดี ซึ่งคุณสมบัติเหล่านี้ก็เป็นอีกสิ่งที่เจ้าของบ้านไม่ควรมองข้ามนอกเหนือจากเรื่องความสวยงามในการเลือกวัสดุปูพื้น วันนี้มีเคล็ดลับในการเลือกวัสดุปูพื้นให้เหมาะกับห้องต่างๆ มาฝากกัน

1.ห้องนอน

เนื่องจากห้องนอนเป็นที่ใช้พักผ่อนนอนหลับยังถือเป็นห้องที่ต้องการความเป็นส่วนตัว สำหรับห้องนอนควรเลือกใช้วัสดุที่เลียนแบบธรรมชาติหรือทำจากไม้ เช่น  พื้นไม้จริง, ลามิเนต, กระเบื้องยางลายไม้, ไม้ปาร์เก้ ที่สร้างบรรยากาศภายในห้องให้ความรู้สึกอบอุ่นผ่อนคลายและมีผิวสัมผัสนุ่มนวลไม่ทำให้รู้เย็นเมื่อเท้าสัมผัส


2.ห้องนั่งเล่น

ห้องนั่งเล่นเป็นห้องที่เป็นศูนย์รวมของทุกคนในครอบครัวและไว้ต้อนรับแขกที่มาเยี่ยมเยือน ห้องนั่งเล่นจึงเป็นห้องที่สามารถเลือกใช้วัสดุได้อย่างหลากหลายประเภทตามแต่สไตล์การตกแต่งบ้านและบรรยากาศที่อยากให้มีภายในห้อง สำหรับวัสดุที่แนะนำควรใช้วัสดุที่ทนทานแข็งแรงไม่เกิดริ้วรอยขูดขีดง่าย รวมถึงควรทำความสะอาดได้ง่ายเพราะเป็นห้องที่ทุกคนในบ้านเข้ามาใช้ชีวิตร่วมกันมากที่สุด


3.ห้องครัว

เป็นห้องที่มีคราบน้ำมันและเกิดความสกปรกได้ง่ายจากการปรุงอาหารดังนั้นควรเลือกวัสดุที่ทำความสะอาดได้ง่าย กันน้ำกันความชื้น กันปลวกและไม่เป็นรอยขูดขีดง่าย วัสดุที่เลือกใช้แนะนำกระเบื้อง เช่น กระเบื้องเซรามิก, แกรนิโต้ เป็นต้น

4. ห้องน้ำ

หลายๆ คนชอบทำกิจวัตรภายในห้องน้ำเป็นเวลานานๆ ห้องน้ำจึงเป็นอีกห้องที่นอกจากจะใช้เพื่อชำระทำความสะอาดร่างกายแล้ว ยังถือเป็นอีกห้องที่บางคนใช้ผ่อนคลายความเหนื่อยล้า ด้วยการแช่ตัวในน้ำอุ่นทำสปาผิวเพื่อจะได้พักผ่อนในโลกส่วนตัว วัสดุที่นิยมใช้ในห้องน้ำคือกระเบื้องเพราะทนต่อความชื้นไม่ก่อให้เกิดเชื้อราและการสะสมของคราบสกปรกต่างๆ และควรเลือกประเภทของกระเบื้องเช่น กระเบื้องปูพื้นควรมีผิวสัมผัสหยาบทำให้ลดการลื่นล้ม ส่วนกระเบื้องปูผนังควรมีคุณสมบัติมันวาวเพื่อลดการสะสมของคราบสิ่งสกปรก

ข้อดี-ข้อเสีย วัสดุปูพื้นชนิดต่างๆ

วัสดุปูพื้น

ข้อดี

ข้อเสีย

กระเบื้องเซรามิก

  • สีสัน ลวดลายมีให้เลือกหลากหลายตามความต้องการ
  • มีหลายขนาด
  • หาซื้อง่ายและราคาไม่แพง
  • กันความชื้นได้ดี
  • ทนทานต่อรอยขูดขีด
  • นำกลับมาปูใหม่ไม่ได้
  • ลื่นง่าย ผิวสัมผัสเย็น

ลามิเนต

  • ลวดลายมีให้เลือกเยอะ
  • สามารถถอด รื้อ ประกอบใช้ใหม่ได้
  • ราคาไม่แพง
  • ติดตั้งง่าย ปูเสร็จไว
  • ไม่ต้องปรับพื้นเดิมก่อนปู
  • ไม่กันความชื้น โดนน้ำไม่ได้
  • ไม่ทนการกระแทก สึกหรอง่าย

กระเบื้องยาง

  • ลวดลาย สีสันให้เลือกเยอะ
  • ทนทาน
  • แช่น้ำได้
  • หากร่อนสามารถนำกลับไปปูใหม่ได้
  • ราคาย่อมเยา
  • อายุใช้งานนับสิบปี
  • เป็นรอยได้หากโดนขูดขีดจากของแข็ง
  • ไม่ทนต่อแรงกระแทก

กระเบื้องแกรนิตโต้

  • แข็งแรง ทนทาน ไม่เป็นรอยขูดขีด
  • ทำความสะอาดง่าย
  • อายุการใช้งานยาวนาน
  • ปูได้ทั้งงานภายในและงานภายนอก
  • ลื่นง่าย ผิวสัมผัสเย็น
  • ต้องใช้ข่างชำนาญค่าปูจึงแพง

หินธรรมชาติ

  • เป็นธรรมชาติสวยงาม ดูหรูหรา
  • อายุการใช้งานยาวนาน
  • ผิวสัมผัสเย็น ช่วยลดความร้อน
  • ขัดมันแล้วทำให้สวยเหมือนใหม่ได้

  • ราคาสูง
  • ดูแลรักษาง่าย
  • ลื่นง่าย
  • ซ่อมแซมยากต้องเปลี่ยนทั้งแผ่น

ไม้เอ็นจิเนียร์

  • เป็นธรรมชาติ
  • มีสีและลวดลายให้เลือกเยอะ
  • สามารถเปลี่ยนเฉพาะแผ่นหากชำรุด
  • ไม่ค่อยมีปัญหาเรื่อง ไม้ยืด หด บิด แอ่นตัวเท่าไม้จริง
  • ราคาค่อนข้างสูง
  • ขัดทำสีใหม่ไม่ได้
  • แช่น้ำไม่ได้

ไม้แผ่น Solid

  • เป็นธรรมชาติ ดูดี มีราคา
  • อายุการใช้งานยาวนาน
  • ขัดทำสีใหม่ได้หลายครั้ง
  • รื้อเปลี่ยนเฉพาะแผ่นที่มีปัญหาได้
  • ราคาสูง
  • อาจโดนปลวกกินได้
  • มีโอกาสยืด หด บิด แอ่น โก่งตามสภาพอากาศ
  • แช่น้ำท่วมนานๆ ไม่ได้

เนื่องจากวัสดุปูพื้นแต่ละชนิดมีคุณสมบัติที่แตกต่างกันออกไป ฉะนั้นก่อนเลือกใช้วัสดุชนิดไหนกับห้องอะไรควรศึกษาคุณสมบัติข้อดีข้อเสียของวัสดุปูพื้นชนิดต่างๆ เพื่อที่จะได้ไม่ต้องปวดหัวในภายหลังหากเลือกใช้วัสดุผิดประเภทเพราะการแก้ไขหรือรื้อปูพื้นใหม่นอกจากจะต้องเสียเงินแล้ว ยังสร้างความไม่สะดวกให้กับคนในบ้านอีกด้วย สนใจซ่อมพื้นหรือปูพื้นบ้านใหม่เพื่อเปลี่ยนบรรยากาศแต่ยังไม่มีเงินก้อนลองใช้บริการสินเชื่อ SCB Speedy Loan ดูรายละเอียดที่นี่ https://www.scb.co.th/th/personal-banking/loans/personal-loans/speedy-loan.html


ที่มา :

https://www.infinitydesign.in.th

https://www.naibann.com/interior-floor-material-description/