ผลการค้นหา "{{keyword}}" ไม่ปรากฎแต่อย่างใด
การใช้และการจัดการคุกกี้
ธนาคารมีการใช้เทคโนโลยี เช่น คุกกี้ (cookies) และเทคโนโลยีที่คล้ายคลึงกันบนเว็บไซต์ของธนาคาร เพื่อสร้างประสบการณ์การใช้งานเว็บไซต์ของท่านให้ดียิ่งขึ้น โปรดอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมที่ นโยบายการใช้คุกกี้ของธนาคาร
การใช้และการจัดการคุกกี้
ธนาคารมีการใช้เทคโนโลยี เช่น คุกกี้ (cookies) และเทคโนโลยีที่คล้ายคลึงกันบนเว็บไซต์ของธนาคาร เพื่อสร้างประสบการณ์การใช้งานเว็บไซต์ของท่านให้ดียิ่งขึ้น โปรดอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมที่ นโยบายการใช้คุกกี้ของธนาคาร
ภาระหนี้แค่ไหน เรียกว่าปลอดภัย
“ชีวิตที่ไร้หนี้สิน” เป็นสิ่งที่ทุกคนปรารถนา แต่ปัจจุบันการไม่เป็นหนี้อาจเป็นเรื่องลำบาก ดังนั้น การเป็นหนี้ก็ไม่ใช่เรื่องเสียหายทั้งหมด และหนี้ก็ไม่ได้มีแต่แง่มุมในด้านลบเท่านั้น หากแต่แง่บวกของหนี้ก็ยังมีเช่นกันถ้ารู้จักเป็นหนี้ให้ถูกวิธี หนี้อาจจะกลายเป็นเครื่องมือสร้างความมั่งคั่งให้กับตัวเราได้
ความจริงแล้ว “หนี้” ไม่ใช่เรื่องน่ากลัวเสมอไป เพราะระบบเศรษฐกิจต่างขับเคลื่อนด้วยหนี้สิน อย่างไรก็ตาม ระดับหนี้ที่ดีควรสอดคล้องกับระดับรายได้ และพิจารณาให้ละเอียดก่อนก่อหนี้
อย่างไรก็ตาม พบว่าคนไทยก่อหนี้เพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยสิ้นปี 2562 ก่อนเกิดการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 ตัวเลขหนี้ครัวเรือนของไทยคิดเป็นสัดส่วนต่อมูลค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) 70% และล่าสุดณ สิ้นไตรมาส 3 ปี 2563 คิดเป็นสัดส่วนต่อ GDP ที่ 86.6% (ข้อมูลจากธนาคารแห่งประเทศไทย) ซึ่งหนี้ครัวเรือนแบ่งออกได้เป็น หนี้บุคคลที่มีหลักประกัน เช่น หนี้เงินกู้ซื้อบ้าน หนี้เช่าซื้อรถยนต์ เป็นต้น และหนี้ส่วนบุคคลที่ไม่มีหลักประกัน เช่น หนี้บัตรเครดิตและหนี้เงินกู้เพื่อการบริโภคอื่น ๆ เป็นต้น
สังเกตได้ว่าราว 1 สัปดาห์ก่อนถึงวันเงินเดือนออกจะได้ยินประโยค “ใกล้สิ้นเดือน ก็เหมือนสิ้นใจ” สาเหตุหลัก ๆ มาจาก รายจ่ายมากกว่ารายรับ คำถามตามมา คือ ในแต่ละเดือนควรมีหนี้แค่ไหนถึงจะเรียกว่าปลอดภัย คำตอบ คือ ระดับความปลอดภัยแต่ละคนแตกต่างกัน ซึ่งวิธีที่วัดว่าหนี้ระดับไหนถึงปลอดภัย เรียกว่า อัตราส่วนภาระหนี้ต่อรายได้รวม (Debt to Income Ratio : DTI)
สูตร อัตราส่วนภาระหนี้ต่อรายได้รวม
หนี้รายเดือน / รายได้ต่อเดือน X 100 |
รายได้ในแต่ละเดือน เช่น เงินเดือน ค่าโอที รับจ้างทำงานพิเศษ เงินปันผล เป็นต้น
ภาระหนี้ในแต่ละเดือนที่ต้องจ่าย เช่น ผ่อนบ้าน ผ่อนรถ ค่าสาธารณูปโภคต่าง ๆ ค่าบัตรเครดิต เป็นต้น
วิธีคำนวณ ให้รวมหนี้ที่ต้องจ่ายทั้งหมดในแต่ละเดือนแล้วหารด้วยรายได้รวมในแต่ละเดือน
สมมติว่าเดือนมกราคม มีรายรับทั้งหมด 60,000 บาท มีหนี้ที่ต้องจ่ายทั้งสิ้น 20,000 บาท ผลลัพธ์ คือ 33.33% (20,000/60,000 x 100) หมายความว่า อัตราส่วนภาระหนี้ต่อรายได้รวมเท่ากับ 33.33%
คือ ทุก ๆ รายได้ 100 บาท จะต้องจ่ายหนี้ 33.33 บาท
ถ้าอัตราส่วนภาระหนี้ต่อรายได้รวมเท่ากับ 36% หรือต่ำกว่า แสดงว่ามีสุขภาพทางการเงินแข็งแรงมาก มีการบริหารจัดการหนี้ที่ดี และถ้าต้องการกู้ยืมเพิ่มก็มีโอกาสที่จะขอสินเชื่อผ่านได้ง่าย
37 - 42% ถือว่าฐานะทางการเงินยังอยู่ในขั้นที่ดี มีความสามารถในการจ่ายหนี้แต่ละเดือนได้ตามปกติ แต่ถ้าลดหนี้ลงไปได้ก็ควรลด
43 - 49% ถ้ามีหนี้ที่ต้องจ่ายในแต่ละเดือนระดับนี้ แสดงว่ากำลังมีปัญหาเรื่องหนี้สิน หมายความว่า กำลังเริ่มก่อหนี้เกินตัว จึงควรลดหนี้ที่ไม่จำเป็นลงให้เร็วที่สุด เป็นการตัดไฟแต่ต้นลม
50% ขึ้นไป ถ้ามีหนี้ระดับนี้ถือว่าอยู่ในขั้นอันตราย หมายความว่าหาเงินมาเท่าไหร่ ครึ่งหนึ่งต้องนำไปจ่ายหนี้ ต้องรีบแก้ไขด่วนด้วยการหยุดก่อหนี้ใหม่ และพยายามปลดหนี้เก่าให้หมดเร็วที่สุด
ความสำคัญของอัตราส่วนภาระหนี้ต่อรายได้รวม
อัตราส่วนภาระหนี้ต่อรายได้รวม คือเปอร์เซ็นต์ของรายได้รวมต่อเดือนของตัวเองที่นำไปชำระหนี้รายเดือน เพื่อกำหนดระดับความเสี่ยงในการกู้ยืม ถ้าอัตราส่วนดังกล่าวอยู่ในระดับต่ำ แสดงให้เห็นถึงความสมดุลที่ดีระหว่างหนี้และรายได้ ในทางกลับกันถ้าอยู่ในระดับสูงแสดงว่ามีหนี้มากเกินไปเมื่อเทียบกับรายได้ที่ได้รับในแต่ละเดือน
โดยปกติผู้ที่มีอัตราส่วนภาระหนี้ต่อรายได้รวมในระดับต่ำมักจะสามารถจัดการการชำระหนี้ในแต่ละเดือนได้อย่างมีประสิทธิภาพ และผู้ให้บริการสินเชื่อทางการเงิน เช่น ธนาคาร ต้องการเห็นอัตราส่วนดังกล่าวอยู่ในระดับต่ำ เพราะสะท้อนให้เห็นว่าผู้กู้มีศักยภาพในการชำระหนี้ หรืออย่างน้อย ๆ ผู้ขอกู้จะได้รับการพิจารณาสินเชื่อมากขึ้น
ในการดำเนินชีวิต บางครั้งก็มีความจำเป็นที่จะต้องใช้เงินก้อนใหญ่จำนวนมากกว่าเงินออมที่มีอยู่ เช่น ซื้อที่อยู่อาศัย ซื้อเครื่องมือเพื่อประกอบอาชีพ หรือค่าใช้จ่ายในการศึกษา ทำให้มีความจำเป็นต้องก่อหนี้หรือขอสินเชื่อจากธนาคาร โดยหากสามารถบริหารจัดการหนี้ได้ดีมีประสิทธิภาพ การก่อหนี้ย่อมสร้างคุณค่าและสร้างอนาคตที่ดีในระยะยาว
สนใจสมัครสินเชื่อส่วนบุคคล ได้ที่ SCB EASY App หรือธนาคารไทยพาณิชย์ทุกสาขา หรือดูรายละเอียดที่
https://www.scb.co.th/th/personal-banking/loans/up.html