ผลการค้นหา "{{keyword}}" ไม่ปรากฎแต่อย่างใด
การใช้และการจัดการคุกกี้
ธนาคารมีการใช้เทคโนโลยี เช่น คุกกี้ (cookies) และเทคโนโลยีที่คล้ายคลึงกันบนเว็บไซต์ของธนาคาร เพื่อสร้างประสบการณ์การใช้งานเว็บไซต์ของท่านให้ดียิ่งขึ้น โปรดอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมที่ นโยบายการใช้คุกกี้ของธนาคาร
การใช้และการจัดการคุกกี้
ธนาคารมีการใช้เทคโนโลยี เช่น คุกกี้ (cookies) และเทคโนโลยีที่คล้ายคลึงกันบนเว็บไซต์ของธนาคาร เพื่อสร้างประสบการณ์การใช้งานเว็บไซต์ของท่านให้ดียิ่งขึ้น โปรดอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมที่ นโยบายการใช้คุกกี้ของธนาคาร
เป็นลูกหนี้ที่แสนรอบคอบ
ก่อนจะไปก่อหนี้ ต้องถามตัวเองก่อนว่าพร้อมหรือไม่ ถ้าหากคิดว่ากู้เงินแล้วอาจทำให้กระแสเงินสดติดๆ ขัดๆ ก็ต้องชะลอออกไปก่อน แต่ก็มีหลายกรณีที่กู้เงินโดยไม่มีความพร้อมก็อาจเกิดปัญหาตามมา เช่น หาเงินไม่ทันเมื่อถึงวันชำระหนี้ เพราะกฎกติกาเบื้องต้นนั้นเมื่อเป็นหนี้แล้วก็ต้องจ่ายคืน
ปฏิเสธไม่ได้ว่าเจ้าหนี้ทุกรายจะชอบลูกหนี้ที่จ่ายครบและตรงเวลา และเจ้าหนี้ก็มักจะตอบแทนลูกหนี้ด้วยประโยชน์ต่างๆ เช่น ขอกู้เงินครั้งถัดไปจะได้รับการพิจารณาที่สะดวกรวดเร็ว หรือได้รับโปรโมชั่นพิเศษ เช่น อัตราดอกเบี้ยที่ต่ำ
การเป็นลูกหนี้ที่ดีและมีความรอบคอบทำได้ง่ายๆ ดังนี้
1. เก็บหลักฐานการกู้เงินให้เป็นระบบ
สิ่งแรกที่ต้องทำหลังก่อหนี้ คือ เก็บหลักฐานการกู้เงินให้ดีๆ เพราะเป็นข้อมูลที่สำคัญ หากเกิดกรณีมีการเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขสัญญาเงินกู้หรือการฟ้องร้อง ก็นำไปแสดงกับเจ้าหนี้เพื่อรักษาผลประโยชน์ และไม่ให้เกิดการได้เปรียบเสียเปรียบในการขอกู้เงิน
2. อย่าลืมจดบันทึก
ลูกหนี้ที่ดีและรอบคอบจะรู้ว่าตัวเองว่ามีหนี้จำนวนเท่าไหร่ มีการแยกหนี้แต่ละประเภทออกจากกัน ด้วยวิธีการจดบันทึก เช่น หนี้บัตรเครดิต หนี้รถ หนี้บ้าน เป็นต้น ที่สำคัญจะแยกประเภทหนี้ที่ดีและหนี้ที่ไม่ดี จากนั้นก็จดบันทึกว่าหนี้แต่ละประเภทมีอัตราดอกเบี้ยเท่าไหร่ ชำระวันไหน เหลือที่ต้องจ่ายอีกกี่งวด
การจดบันทึกอย่างสม่ำเสมอจะทำให้รู้ว่ามีหนี้เหลือเท่าไหร่ เพื่อนำมาวิเคราะห์ความสามารถทางการเงินของตัวเอง
3 .มีแผนสำรองเสมอ
ไม่มีใครรู้ล่วงหน้าว่าในอนาคตจะเกิดอะไรขึ้น เช่น ถูกลดเงินเดือน ตกงาน ซึ่งหากเกิดเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิดขึ้นมา รายได้ประจำย่อมหายไปทันที แต่หนี้ที่ก่อเอาไว้ยังต้องชำระต่อไป ผลที่ตามมาก็อาจเกิดเหตุการณ์เงินช็อตชักหน้าไม่ถึงหลัง
การป้องกันที่ดีต้องมีแผนสำรอง คือ กันเงินบางส่วนในแต่ละเดือนไปเก็บออมเพื่อไว้ใช้ยามฉุกเฉิน โดยส่วนใหญ่มักจะมีประมาณ 3 – 6 เท่าของค่าใช้จ่ายในแต่ละเดือน เช่น มีค่าใช้จ่าย 15,000 บาทต่อเดือน ก็ต้องมีเงินฉุกเฉิน 45,000 – 90,000 บาท เมื่อตกงานแต่หนี้ยังต้องจ่ายก็สามารถนำเงินเก็บฉุกเฉินนี้ไปชำระก่อนแล้วค่อยมาเติมคืนทีหลัง
4 .สงสัย รีบถามเจ้าหน้าที่
เมื่อไปใช้บริการทางด้านการเงินกับสถาบันการเงิน สิทธิขั้นพื้นฐานของลูกหนี้ที่สำคัญอย่างหนึ่ง คือ การได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยเจ้าหน้าที่ของสถาบันการเงินต้องอธิบายรายละเอียดเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ ทางการเงินและเงื่อนไขต่างๆ อย่างถูกต้องครบถ้วน ไม่บิดเบือนข้อเท็จจริง เพื่อให้ลูกค้ามีข้อมูลเพียงพอต่อการตัดสินใจ เช่น ผลประโยชน์ที่จะได้รับ ความเสี่ยงของผลิตภัณฑ์ ค่าปรับ ค่าธรรมเนียม ตลอดจนค่าใช้จ่ายที่จะเกิดขึ้นหากคุณไม่ทำตามเงื่อนไข และการใช้สื่อทางการตลาดในการส่งเสริมการขาย ต้องไม่ชวนเชื่อเกินจริง ไม่ทำให้ลูกค้าเข้าใจผิด ดังนั้น หากลูกหนี้ไม่เข้าใจข้อมูลอะไรต้องสอบถามทันที
หากเห็นว่าเจ้าหน้าที่ของสถาบันการเงินปฏิบัติไม่ถูกต้อง หรือลูกค้ารู้สึกว่าถูกเอาเปรียบ เช่น ให้ข้อมูลไม่ถูกต้อง ไม่ครบถ้วน พูดจาไม่สุภาพ คิดดอกเบี้ยผิด บังคับขายผลิตภัณฑ์ทางการเงิน สามารถแจ้งต่อหน่วยงานรับเรื่องร้องเรียนของสถาบันการเงินแห่งนั้นเพื่อให้แก้ไขปัญหาได้ทันที
5. อย่าหนีหนี้
เมื่อรู้สึกว่าหนี้ที่ก่อเอาไว้ไม่สามารถชำระได้ตามกำหนด ต้องติดต่อขอปรึกษาหาทางแก้ไขกับเจ้าหนี้ทันที โดยไม่เลือกหนีหนี้ นอกจากจะแสดงความจริงใจในฐานะลูกหนี้ ยังทำให้เจ้าหนี้ไว้วางใจ ที่สำคัญเครดิตทางด้านการเงินไม่เสียหาย
การเป็นลูกหนี้ที่ดีและแสนรอบคอบ นอกจากจะทำให้เป็นหนี้อย่างมีความสุขแล้ว ยังเป็นการลดความเสี่ยง ความเสียหาย และป้องกันภัยจากการใช้บริการทางการเงินที่อาจเกิดขึ้น และมีสิทธิที่จะได้รับการปฏิบัติจากสถาบันการเงินที่ไปใช้บริการอย่างเหมาะสมด้วย