ผลการค้นหา "{{keyword}}" ไม่ปรากฎแต่อย่างใด
การใช้และการจัดการคุกกี้
ธนาคารมีการใช้เทคโนโลยี เช่น คุกกี้ (cookies) และเทคโนโลยีที่คล้ายคลึงกันบนเว็บไซต์ของธนาคาร เพื่อสร้างประสบการณ์การใช้งานเว็บไซต์ของท่านให้ดียิ่งขึ้น โปรดอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมที่ นโยบายการใช้คุกกี้ของธนาคาร
การใช้และการจัดการคุกกี้
ธนาคารมีการใช้เทคโนโลยี เช่น คุกกี้ (cookies) และเทคโนโลยีที่คล้ายคลึงกันบนเว็บไซต์ของธนาคาร เพื่อสร้างประสบการณ์การใช้งานเว็บไซต์ของท่านให้ดียิ่งขึ้น โปรดอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมที่ นโยบายการใช้คุกกี้ของธนาคาร
20 – 10 กฎควบคุมเพดานหนี้
เชื่อว่าทุกคนไม่อยากกู้หนี้ยืมสิน แต่ในบางครั้งก็มีความจำเป็นในชีวิตที่ต้องยอมกู้เงินเพื่อเสริมสภาพคล่องหรือยอมเป็นหนี้เพื่อแก้ปัญหาบางอย่าง แปลว่า ถ้าเป็นผู้ที่มีวินัยและเห็นคุณค่าของเงิน กู้เงินแล้วจ่ายหนี้ตรงเวลา “หนี้” ก็ไม่ใช่สิ่งที่เลวร้าย แต่ถ้าหากเป็น “สายเปย์” ขาดสติในการใช้จ่าย มีโอกาสที่จะก่อหนี้ไปเรื่อยๆ และเมื่อถึงเวลาชำระหนี้ก็หาเงินไม่ทัน จนกลายเป็นผู้ที่หนี้สินท่วมหัว ยิ่งหนี้มากเท่าไหร่ก็ต้องใช้เวลาในการแก้ปัญหานานเท่านั้น
การขาดวินัยทางการเงิน เป็นปัจจัยสำคัญที่สามารถก่อให้เกิดปัญหาหนี้สิน โดยผู้ที่มีหนี้และมีปัญหาทางการเงินมักจะไม่ระมัดระวังในการใช้จ่าย มีไลฟ์สไตล์ที่ค่อนข้างสุรุ่ยสุร่าย และมักให้ความสำคัญกับความมีหน้ามีตาทางสังคม รวมทั้งขาดการประเมินกำลังซื้อของตนเอง
เป็นไปได้หรือไม่ที่ก่อนจะเป็น “สายเปย์” ควรเป็น “สายปกป้อง” ก่อน ด้วยการก่อหนี้ให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม ซึ่งการควบคุมเพดานหนี้หรือยอดหนี้สินไม่เกินขีดที่เหมาะสม โดยพิจารณาว่าควรที่จะกู้หนี้ยืมสินได้ไม่เกินเท่าไหร่ของรายได้ที่ได้รับต่อปี และควรมีภาระจ่ายชำระหนี้ต่อเดือนไม่เกินเท่าไหร่ของรายได้ในแต่ละดือน กฎควบคุมเพดานหนี้ เรียกว่า “กฎ 20 – 10”
1. ห้ามกู้เกิน 20% ของรายได้สุทธิประจำปี
ตัวอย่าง
นั่นคือ ไม่ควรสร้างหนี้เกิน 46,500 บาทต่อปี
โดยหนี้กลุ่มนี้ส่วนใหญ่จะเป็นหนี้ที่ก่อเพื่อการบริโภคหรือเพื่อสร้างความสุขสบาย เช่น หนี้บัตรเครดิต ช้อปปิ้ง ค่ามือถือ สมาชิกร้านค้าต่างๆ รวมถึงหนี้ผ่อนรถ ดังนั้น หนี้ก้อนนี้จึงไม่รวมเพื่อกู้ซื้อบ้าน หรือกู้เงินเพื่อการศึกษา
2. ห้ามผ่อนหนี้เกิน 10% ของรายได้สุทธิต่อเดือน
ตัวอย่าง
นั่นคือ ในแต่ละเดือนไม่ควรผ่อนหนี้เกิน 1,937 บาท โดยหนี้กลุ่มนี้ส่วนใหญ่จะเป็นหนี้ที่ก่อเพื่อการบริโภคหรือเพื่อสร้างความสุขสบาย จึงไม่รวมหนี้เพื่อกู้ซื้อบ้าน หรือกู้เงินเพื่อการศึกษา
การควบคุมเพดานหนี้ให้ได้ผล อยู่ที่การรู้จักแยกประเภทหนี้ดี ได้แก่ หนี้ที่ก่อให้เกิดรายได้ในอนาคต กับหนี้ที่ไม่ดี ได้แก่ หนี้เพื่อการบริโภคหรือเพื่อสร้างความสุขสบาย และเมื่อรู้จักประเภทหนี้จะทำให้เกิดการยับยั้งชั่งใจก่อนก่อหนี้
โดยหนี้ที่ควรก่อเป็นอันดับต้นๆ ได้แก่
หนี้ที่สามารถก่อให้เกิดรายได้หรือเกิดประโยชน์ในอนาคต
1. หนี้เพื่อซื้อบ้าน
เป็นหนี้ที่สร้างความมั่นคงในระยะยาวให้กับชีวิตตัวเองและครอบครัว ผ่อนหมดเมื่อไหร่บ้านก็จะกลายเป็นทรัพย์สินของผู้กู้ทันที
2. หนี้เพื่อการศึกษา
เป็นหนี้เพื่อสร้างอนาคต เมื่อมีการศึกษาที่ดีย่อมเห็นช่องทางในการสร้างรายได้ หรือต่อยอดจากสิ่งที่มีได้มากขึ้น
3. หนี้เพื่อสร้างธุรกิจ
เป็นหนี้เพื่อสร้างรายได้ในอนาคต เช่น กู้ซื้อเครื่องจักรเพื่อทำธุรกิจ
เมื่อรู้ว่าควรก่อหนี้อะไรบ้าง ก็ต้องรู้
วิธีการบริหารจัดการหนี้ให้มีประสิทธิภาพ
ได้แก่
1. เป็นหนี้ให้พอเหมาะสม
นั่นคือ รู้ว่าตัวเองมีรายได้เท่าไหร่และสามารถก่อหนี้ได้แค่ไหน โดยที่ไม่ลำบากตัวเองและไม่สร้างความเดือดร้อนให้กับคนรอบข้าง
2. อย่าเบี้ยวหนี้
เมื่อถึงเวลาจ่ายหนี้ก็ต้องจ่ายให้ครบตามจำนวนและตรงเวลา ถ้าทำได้จะมีประวัติในการก่อหนี้ที่ดี หากก่อหนี้ครั้งต่อไปก็จะได้รับการอนุมัติได้ไม่ยาก
3.ตรวจสอบสม่ำเสมอ
เมื่อก่อหนี้แล้วก็ควรตรวจสอบหนี้สินอย่างสม่ำเสมอว่ามีหนี้สินค้างชำระอยู่มากน้อยแค่ไหน ด้วยการจัดบันทึกทั้งรายชื่อเจ้าหนี้ จำนวนหนี้ อัตราดอกเบี้ย ยอดค้างชำระ วันจ่ายหนี้ รวมถึงเงื่อนไขต่างๆ
4 .แยกประเภทหนี้
ดูว่าหนี้ที่ก่อไปนั้นเป็นหนี้ดีหรือหนี้ที่ไม่ดี จากนั้นก็พยายามลดการเป็นหนี้ที่ไม่ดีลงให้เร็วที่สุด และเมื่อปลดหนี้ที่ไม่ดีหมดแล้วก็ไม่ควรกลับไปก่อหนี้ก้อนใหม่
ในปัจจุบันการก่อหนี้เป็นเรื่องง่าย ดังนั้น หากปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้จ่าย รู้จักแยกประเภทของหนี้ ที่สำคัญหากควบคุมเพดานหนี้ได้ดี บริหารหนี้เป็นระบบ จะช่วยให้การเป็นหนี้ไม่เดือดร้อนกับตัวเองและคนรอบข้าง