ผลการค้นหา "{{keyword}}" ไม่ปรากฎแต่อย่างใด
การใช้และการจัดการคุกกี้
ธนาคารมีการใช้เทคโนโลยี เช่น คุกกี้ (cookies) และเทคโนโลยีที่คล้ายคลึงกันบนเว็บไซต์ของธนาคาร เพื่อสร้างประสบการณ์การใช้งานเว็บไซต์ของท่านให้ดียิ่งขึ้น โปรดอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมที่ นโยบายการใช้คุกกี้ของธนาคาร
การใช้และการจัดการคุกกี้
ธนาคารมีการใช้เทคโนโลยี เช่น คุกกี้ (cookies) และเทคโนโลยีที่คล้ายคลึงกันบนเว็บไซต์ของธนาคาร เพื่อสร้างประสบการณ์การใช้งานเว็บไซต์ของท่านให้ดียิ่งขึ้น โปรดอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมที่ นโยบายการใช้คุกกี้ของธนาคาร
Financial Literacy สำคัญอย่างไร ทำไมต้องรู้?
มีเงินใช้แค่เดือนชนเดือน ไม่เคยเหลือเก็บ ใช้บัตรเครดิตจนเต็มทุกใบแค่ขั้นต่ำยังจ่ายไม่ไหว กู้เงินไม่ได้เพราะติดเครดิตบูโร สารพันปัญหาทางการเงิน ที่หลายต่อหลายคนต้องเผชิญ เกิดขึ้นเพราะประโยคเดียว “ขาดความรู้ ความเข้าใจในเรื่องการเงิน” นั่นเป็นเหตุผลที่ทำไม Financial Literacy หรือความรู้ในเรื่องการเงิน จึงมีความสำคัญ เพราะถ้าขาดความรู้ความเข้าใจจะก่อให้เกิดนิสัยในการใช้เงินแบบผิด ๆ บริหารเงินไม่เป็น ติดตัวไปตลอดชีวิต จนถึงขั้นชีวิตล้มละลายไม่สามารถเลี้ยงดูตัวเองได้ เป็นภาระครอบครัว ภาระสังคมแบบไม่รู้จบ
ความรู้ด้านการเงินคือ ความรู้ ความเข้าใจในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการเงิน รวมทั้งมีทักษะในการบริหารจัดการ เช่น การจัดงบประมาณการใช้เงินในหมวดหมู่ต่างๆ การลงทุน การกู้ยืม ภาษี และการบริหารจัดการเรื่องการเงินส่วนตัวในภาพรวม การมีความรู้ทางด้านการเงินเบื้องต้นทำให้สามารถเตรียมการ วางแผนเรื่องการเงินในการดำเนินชีวิตได้ราบรื่น ลดโอกาสในการมีปัญหาเรื่องการเงินในอนาคต การมีความรู้เรื่องการเงินกลายเป็นสิ่งจำเป็นในยุคปัจจุบันเพราะชีวิตกับเงินนั้นต้องเดินเคียงคู่กันอยู่ตลอดเวลาหรือพูดง่ายๆ ว่าเงินเป็นหนึ่งปัจจัยสำคัญที่ช่วยให้การดำเนินชีวิตราบรื่นตามต้องการ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการใช้ในชีวิตประจำวัน เป้าหมายการเงินในอนาคตทั้งระยะสั้น ระยะกลางและระยะยาว การใช้บัตรเครดิตให้เกิดประโยชน์ การกู้เงินเพื่อซื้อบ้าน การลงทุนเพื่อให้เงินงอกเงย หรือแม้กระทั่งการทำประกันชีวิตหรือทำประกันสุขภาพเพื่อเป็นหลักประกันในชีวิต
ความรู้เบื้องต้นเรื่องการเงินประกอบด้วยความรู้และทักษะทางการเงินหลายด้านรวมกัน ซึ่งจะช่วยให้แต่ละบุคคลสามารถบริหารจัดการทั้งเงินและหนี้สินอย่างมีประสิทธิภาพ โดยมีองค์ประกอบหลักดังนี้
1. การจัดทำงบประมาณการใช้จ่าย
โดยการจัดทำงบประมาณส่วนบุคคลประกอบด้วย 4 ส่วนหลักคือ งบค่าใช้จ่าย งบในการลงทุน งบในการออม และงบในการให้ การบริหารงบประมาณในแต่ละส่วนอย่างมีประสิทธิภาพจะทำให้งบประมาณในภาพรวมเกิดความสมดุล ซึ่งจะช่วยให้สถานะทางการเงินมีความมั่นคง วิธีการเบื้องต้นคือใช้เงินในการจ่ายหนี้ก่อน เงินที่เหลือนำมาใช้ เก็บออมและลงทุนตามลำดับ
2. การลงทุน
การลงทุนเป็นอีกเรื่องสำคัญที่ต้องเรียนรู้ องค์ประกอบสำคัญของการลงทุนที่ต้องรู้ประกอบด้วย อัตราดอกเบี้ย ระดับราคา การกระจายการลงทุน การกระจายความเสี่ยงและดัชนีต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง การเรียนรู้เรื่องการลงทุนจะช่วยให้สามารถบริหารจัดการเงินที่มีอยู่อย่างชาญฉลาดและซึ่งนำไปสู่การเพิ่มรายได้ ทำให้เงินงอกเงย
3. การกู้ยืม
คนส่วนใหญ่จะต้องมีโอกาสสักครั้งในชีวิตที่จะต้องกู้ยืมเงินจากคนอื่น เพื่อให้แน่ใจว่าการกู้ยืมนั้นมีประสิทธิภาพ ความรู้เรื่องดอกเบี้ยต่างๆ เช่น ดอกเบี้ยทบต้น ดอกเบี้ยลอยตัว ดอกเบี้ยคงที่ ข้อตกลงในการกู้ยืม คุณค่าของเงินตามระยะเวลา และระยะเวลาการจ่ายหนี้คืนเป็นสิ่งที่สำคัญที่ต้องรู้ก่อนตัดสินใจกู้ยืม การมีความรู้ในการกู้ยืมก่อนตัดสินใจมีหนี้จะทำให้เราก่อหนี้ที่มีคุณภาพและลดความเครียดจากการมีหนี้ได้มาก
4. เรื่องภาษี
ความรู้ในเรื่องการจ่ายภาษี การคำนวณภาษีเงินได้ทั้งเงินได้จากงานประจำ หรือเงินได้จากทางอื่น เช่น รายได้จากการให้เช่า รายได้ที่ได้มาโดยไม่คาดคิด เช่น การได้รางวัลต่างๆ รวมทั้งภาษีประเภทอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น ภาษีที่ดิน ภาษีมรดก เป็นความรู้ทางด้านการเงินที่จำเป็นต้องรู้ รวมทั้งต้องรู้สิทธิในการลดหย่อนภาษีต่างๆ เพื่อให้สามารถใช้สิทธิได้อย่างเต็มที่ ทำให้มีเงินเหลือเก็บมากขึ้น
5. การบริหารการเงินส่วนบุคคล
ความสามารถในการบริหารการเงินส่วนบุคคลให้มีประสิทธิภาพเกิดจากความรู้ในองค์ประกอบทั้ง 4 ที่กล่าวมาข้างต้น การมีความมั่นคงทางการเงินเกิดจากการมีความรู้ในองค์ประกอบทั้ง 4 และนำมาปรับใช้ในชีวิตอย่างเหมาะสม เช่น การเพิ่มเงินออมและการลงทุนและจำกัดการมีหนี้ให้เหลือน้อยที่สุด หรือการรู้จักหาที่พักเงินเก็บสำรองฉุกเฉินที่ได้ผลตอบแทนมากกว่าและความเสี่ยงในการสูญเสียเงินต้นต่ำ เช่น แทนที่จะเก็บเงินสำรองฉุกเฉินจำนวนมากไว้ในบัญชีเงินฝากออมทรัพย์ก็นำไปลงทุนในกองทุนรวมตลาดเงิน (Money Market) แทนซึ่งถึงแม้ว่าผลตอบแทนจะต่ำแต่ก็ดีกว่าผลตอบแทนจากบัญชีออมทรัพย์ ในขณะที่ความเสี่ยงต่ำและมีสภาพคล่องสูง การรีไฟแนนซ์บ้านทุก 3 ปีเพื่อให้ได้อัตราดอกเบี้ยที่ถูกลง หรือการโปะเงินผ่อนบ้านเยอะๆ ในช่วงที่ธนาคารให้ดอกเบี้ยคงที่ในอัตราดอกเบี้ยที่ต่ำเป็นต้น
การมีความรู้ในเรื่องการเงิน จะช่วยเพิ่มคุณภาพชีวิตและทำให้การเงินมั่นคงขึ้น โดยในภาพรวมการมีความรู้ในเรื่องการเงินมีประโยชน์ดังนี้
· ทำให้การตัดสินใจในการทำธุรกรรมทางการเงินดีขึ้น
· บริหารเงินและบริหารหนี้ได้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
· เป็นเครื่องมือให้สามารถไปสู่เป้าหมายทางการเงินที่ตั้งไว้ได้สำเร็จ
· ลดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำหรือก่อหนี้ที่ไม่จำเป็น
· ลดความเครียดที่เกิดจากปัญหาทางด้านการเงิน
· จัดทำงบประมาณค่าใช้จ่ายในแต่ละหมวดอย่างมีประสิทธิภาพและสมดุล
ปัจจุบันมีแหล่งความรู้มากมายที่ให้ความรู้ด้านการเงินสำหรับประชาชนทั่วไป เช่น SCB มี เมนู Stories and Tips ที่ให้ความรู้เรื่องเงินๆ ทองๆ ทั้งการออม การลงทุน การกู้ การปลดหนี้ การเตรียมตัวเกษียณ เคล็ดไม่ลับดีๆ มากมาย ที่ช่วยต่อยอดเงินในกระเป๋าให้โตขึ้น ส่วนใครที่อยากลงทุนให้เงินงอกเงยแต่ยังไม่พร้อมกระโจนไปในตลาดหุ้นก็สามารถลงทุนในหุ้นผ่านกองทุนรวมต่างๆ ที่ลงทุนในหุ้นทั้งหุ้นไทยและต่างประเทศได้หลากหลายนโยบาย สามารถศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ https://www.scb.co.th/th/personal-banking/digital-banking/scb-easy/wealth-for-you-info.html