ผลการค้นหา "{{keyword}}" ไม่ปรากฎแต่อย่างใด
การใช้และการจัดการคุกกี้
ธนาคารมีการใช้เทคโนโลยี เช่น คุกกี้ (cookies) และเทคโนโลยีที่คล้ายคลึงกันบนเว็บไซต์ของธนาคาร เพื่อสร้างประสบการณ์การใช้งานเว็บไซต์ของท่านให้ดียิ่งขึ้น โปรดอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมที่ นโยบายการใช้คุกกี้ของธนาคาร
การใช้และการจัดการคุกกี้
ธนาคารมีการใช้เทคโนโลยี เช่น คุกกี้ (cookies) และเทคโนโลยีที่คล้ายคลึงกันบนเว็บไซต์ของธนาคาร เพื่อสร้างประสบการณ์การใช้งานเว็บไซต์ของท่านให้ดียิ่งขึ้น โปรดอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมที่ นโยบายการใช้คุกกี้ของธนาคาร
ศึกษาการลงทุนในหุ้น IPO ให้รู้ลึก พร้อมเคล็ดลับสำหรับนักลงทุน
บทความโดย: นิภาพันธ์ พูนเสถียรทรัพย์ CFP® นักวางแผนการเงินอิสระ นักเขียนและวิทยากร
หุ้น IPO (Initial Public Offering) คือ หุ้นที่มีการซื้อขายเป็นครั้งแรกให้กับประชาชนโดยทั่วไปเพื่อที่จะมาจดทะเบียนอยู่ในตลาดหลักทรัพย์ฯ โดยตลาดหลักทรัพย์ฯ จะมีข้อกำหนดพื้นฐานถึงคุณสมบัติของบริษัทที่ต้องการเข้ามาจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ เท่ากับว่าบริษัทที่เข้ามาเสนอขายหุ้น IPO ได้ผ่านมาตรฐานการกลั่นกรองจากตลาดหลักทรัพย์ฯมาแล้วในระดับหนึ่ง
ลักษณะของหุ้น IPO
ตามชื่อก็บ่งบอกอยู่แล้วว่าเป็นหุ้นใหม่ที่เพิ่งจะมีการซื้อขายในตลาด ดังนั้นความแตกต่างของหุ้นชนิดนี้เมื่อเทียบกับหุ้นโดยทั่วไป คือ การที่หุ้นยังไม่เคยซื้อขาย เราจึงไม่รู้ราคาตลาดที่แน่นอน ไม่มีราคาสูงสุด ต่ำสุด แนวต้าน – แนวรับ ทางเทคนิค ทำให้ราคาหุ้นสามารถวิ่งขึ้นไปได้เรื่อยๆ หรือในทางตรงข้ามหุ้นอาจจะมีราคาต่ำจองได้เป็นระยะเวลานาน จนกระทั่งหุ้นตัวนี้เป็นที่รู้จัก มีการเรียนรู้พื้นฐานของบริษัทและเปรียบเทียบกับหุ้นตัวอื่นๆ ในกลุ่มธุรกิจเดียวกัน หลังจากนั้นราคาเริ่มปรับตัวไปสู่พื้นฐานที่ควรจะเป็น
จากลักษณะดังกล่าวทำให้หุ้นใหม่ที่เพิ่งเข้าตลาดจึงเป็นที่นิยมของนักเก็งกำไร โดยเฉพาะหากเป็นบริษัทที่มีหุ้นหมุนเวียนอยู่จำนวนไม่มาก เพราะการดันราคาจะทำได้ไม่ยาก
ก่อนที่จะนักลงทุนจะทำการจองหุ้นหรือลงทุนในหุ้น IPO นักลงทุนสามารถขอดูหนังสือชี้ชวน ซึ่งภายในจะมีข้อมูลสำคัญเพื่อใช้ประกอบการตัดสินใจ ดังนี้
1. ลักษณะอุตสาหกรรมที่บริษัทนี้ดำเนินกิจการอยู่ โดยต้องพิจารณาว่าอุตสาหกรรมนี้มีแนวโน้มที่จะเป็นอย่างไรในอนาคต มีการแข่งขันเป็นอย่างไร มีลักษณะของการผูกขาดหรือไม่ นอกจากวิเคราะห์หุ้น IPO ที่นักลงทุนสนใจแล้ว นักลงทุนควรต้องวิเคราะห์บริษัทอื่นที่อยู่ในอุตสาหกรรมเดียวกันว่า มีผลการดำเนินงานเป็นอย่างไร และมีราคาหุ้นเป็นอย่างไร เป็นการเปรียบเทียบ
2. ความสามารถในการแข่งขันของบริษัท โดยพิจารณาว่าบริษัทนี้มีส่วนแบ่งการตลาดเป็นอย่างไร มีนโยบายการดำเนินงานอย่างไร มีคู่แข่งหรือไม่ แล้วคู่แข่งคือใคร นอกจากนี้นักลงทุนอาจจะลองไปใช้บริการดู เพื่อประกอบการตัดสินใจ
3. วัตถุประสงค์ในการระดมทุน เช่น เพื่อใช้สำหรับการขยายกิจการ ชำระคืนหนี้ และใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียนของกิจการ ซึ่งจะช่วยให้ประเมินโอกาสและความเสี่ยงในอนาคตข้างหน้าได้
4. วิเคราะห์งบการเงินของบริษัท วิเคราะห์อัตราส่วนทางการเงิน และคาดการณ์ผลประกอบการณ์ในอนาคต โดยวิเคราะห์จากงบกำไรขาดทุนเพื่อดูความสามารถในการทำกำไร วิเคราะห์งบกระแสเงินสดเพื่อดูความสามารถในการสร้างกระแสเงินสดและคุณภาพของกำไร และวิเคราะห์งบดุลเพื่อตรวจสอบสถานะทางการเงิน ความสามารถในการชำระหนี้ และโครงสร้างเงินทุนของบริษัท แม้ว่างบการเงินก่อนเข้าตลาดนั้นจะมีความละเอียดลออในการตรวจสอบน้อยกว่างบการเงินของหุ้นที่จดทะเบียนในตลาดแล้ว แต่นักลงทุนก็ยังคงต้องวิเคราะห์งบการเงินของหุ้น IPO อย่างรอบคอบก่อนตัดสินใจลงทุน นอกจากนี้ให้ลองเปรียบเทียบกับบริษัทอื่นในอุตสาหกรรมเดียวกันที่อยู่ในตลาดแล้ว เพื่อให้มีมาตรฐาน (benchmark) สำหรับการวิเคราะห์
5. พิจารณาผู้ถือหุ้น โดยเฉพาะผู้ถือหุ้นรายใหญ่ว่าเป็นใคร มีความน่าเชื่อถือมากน้อยแค่ไหน และสัดส่วนการถือหุ้นว่าใครเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ หรือถือหุ้นกระจายคนละนิดละหน่อย เพราะถ้าเป็นอย่างหลัง เมื่อเข้าตลาดแล้ว อาจมีการขายหุ้นทิ้ง เมื่อพ้นระยะเวลาห้ามขาย ส่งผลถึงราคาของหุ้นและความน่าเชื่อถือของบริษัทในอนาคตได้
6. สภาวะการลงทุนในขณะที่หุ้น IPO เข้าตลาดก็เป็นสิ่งสำคัญที่ต้องพิจารณา เพราะหากสภาพตลาดมีแนวโน้มที่ไม่ดี อาจส่งผลให้เมื่อเข้าตลาดแล้ว หุ้นนั้นมีราคาต่ำจอง และทำให้เราขาดทุนได้
การจองซื้อหุ้น IPO
เนื่องจากหุ้น IPO มีจำนวนหุ้นที่ค่อนข้างน้อยเมื่อเทียบกับนักลงทุนทั้งหมด ทำให้คนที่จะได้หุ้นจองมีเพียงจำนวนหนึ่งเท่านั้น ดังนั้นแม้ว่าเราจะได้วิเคราะห์เป็นอย่างดีแล้วว่าหุ้น IPO ตัวนี้เป็นหุ้นที่ดี แต่เราอาจไม่สามารถซื้อได้ก็เป็นได้ โดยทั่วไปแล้วนักลงทุนจะสามารถซื้อหุ้น IPO ได้ใน 2 ลักษณะ ดังนี้
1. กรณีจองซื้อหุ้น IPO ก่อนเข้าตลาด 
จากสถิติของการลงทุนในหุ้น IPO ที่ผ่านมา ถ้าสภาพตลาดหุ้นมีแนวโน้มที่ดี หุ้น IPO ที่เข้าซื้อขายวันแรกจะมีโอกาสยืนเหนือราคาจองได้และมักให้ผลตอบแทนสูงกว่าราคาจอง ดังนั้นการจองซื้อหุ้น IPO จึงนับเป็นการลงทุนที่มีโอกาสในการทำกำไรสูงภายในช่วงเวลาสั้นๆ ในทางตรงกันข้ามหากสภาพเศรษฐกิจไม่ดี หุ้น IPO นั้นก็อาจมีโอกาสที่จะมีราคาซื้อขายที่ต่ำกว่าราคาจอง ส่งผลให้เราขาดทุนได้เช่นกัน
2. ซื้อหุ้น IPO ในตลาดเมื่อหุ้นนั้นเข้ามาซื้อขายแล้ว
การลงทุนในหุ้น IPO ช่วงนี้ นักลงทุนจะต้องศึกษาข้อมูลพื้นฐานของหุ้น IPO อย่างละเอียดรอบคอบ และไม่ควรรีบร้อนเข้ามาลงทุนหุ้น IPO ในช่วง 1 เดือนแรกของการซื้อขาย เพราะในช่วงแรกๆ ของการซื้อขายนั้น จะมีการเก็งกำไรอยู่ค่อนข้างสูง ทำให้ราคาหุ้นมีความผันผวนมาก ดังนั้นนักลงทุนจึงควรรอให้หุ้น IPO เข้าซื้อขายผ่านไปแล้วสักระยะ เพื่อให้ราคาหุ้นเริ่มมีเสถียรภาพ และสะท้อนปัจจัยในเชิงพื้นฐานของธุรกิจได้ดีขึ้น ทำให้ช่วยลดโอกาสในการขาดทุนลงและช่วยเพิ่มผลตอบแทนในระยะยาวให้ดีขึ้นได้
อย่างไรก็ตาม การศึกษาการลงทุนในหุ้นยังคงมีความสำคัญอย่างมากสำหรับนักลงทุน เพราะการลงทุนมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนจึงควรศึกษาข้อมูลการลงทุนต่าง ๆ อย่างรอบครอบก่อนเริ่มลงทุน เพื่อให้การลงทุนมีผลตอบแทนที่ดีตามเป้าหมายของผู้ลงทุนนั้นเอง