Trade War ค่าเงินผันผวน...รับมือยังไงให้ธุรกิจอยู่รอด!

รู้มั้ย? สงครามการค้า สหรัฐฯ – จีน ที่เพิ่งเกิดขึ้นไม่นานมานี้ นอกจากจะมีผลโดยตรงกับเศรษฐกิจโลกแล้ว ยังมีผลกระทบถึงเศรษฐกิจของไทยด้วย โดยเฉพาะในกลุ่มธุรกิจนำเข้า-ส่งออก เจ้าของธุรกิจควรจะมีวิธีรับมืออย่างไร วันนี้ขออนุญาตมาอธิบายให้ฟัง

เกิดอะไรขึ้นกับสงครามการค้า สหรัฐฯ – จีน?

ก่อนจะมาเข้าใจปัญหาที่เกิดขึ้น ขอสรุปสิ่งที่เกิดขึ้นเพื่อให้เห็นทิศทางของสงครามการค้าครั้งนี้  โดยเริ่มต้นจากสหรัฐฯ ต้องการแก้ปัญหาขาดดุลการค้า โดยวิธีการขึ้นภาษีนำเข้าจากจีน (สินค้าเครื่องบิน รถยนต์ หุ่นยนต์) ซึ่งจีนก็ตอบโต้กลับด้วยการขึ้นภาษีนำเข้าจากสหรัฐ (ถั่วเหลือง) หลังจากนั้นทั้งสองฝั่งผลัดกันตอบโต้ด้วยการขึ้นภาษีไปมาถึงสามครั้ง โดยผลกระทบต่อสงครามการค้าที่จะกระทบไทยจะเริ่มเห็นผลในปีนี้ หากสหรัฐฯ เริ่มเก็บภาษีสินค้ารอบใหม่อีก 10 ล้านล้านบาท จะกระทบการส่งออกของไทยถึง 9.9 หมื่นล้านบาทเลยทีเดียว


แต่การขึ้นกำแพงภาษีครั้งนี้ก็มีผลกระทบต่อบริษัทสัญชาติสหรัฐฯ  เองเช่นบริษัท Apple, Intel, General Motors, Harley-Davidson และ Nucor ที่ได้รับผลกระทบจากนำเข้าชิ้นส่วนและอุปกรณ์เพิ่มขึ้น และถูกบีบให้ย้ายฐานการผลิตออกจากจีน ซึ่งจีนก็ไม่สามารถตอบโต้ตรงๆ ได้ โดยตัวเลือกหนึ่งที่หลายๆ คนมองว่าสามารถใช้แก้ปัญหานี้คือจีนยอมปล่อยให้ “ค่าเงินหยวนอ่อนค่าเทียบกับดอลลาร์ฯ” เพื่อชดเชยการเก็บภาษีที่สูงขึ้น แต่การทำเช่นนี้ก็มีความเสี่ยงที่ตาม เช่น น้ำมัน และสินค้านำเข้าอื่นๆ และที่สำคัญคืออาจทำให้เกิดการไหลออกของเงินทุนออกนอกประเทศแน่ๆ


ค่าเงินแข็งค่า, อ่อนค่าคืออะไร?

ขออธิบายเรื่องค่าเงินแข็งค่า อ่อนค่าให้เข้าใจอย่างสั้นๆ โดยยกตัวอย่างเป็นเงินบาท  เมื่อเงินบาทแข็งค่า มีความหมายว่า เราสามารถใช้เงินบาทซื้อเงินสกุลอื่นในอัตราที่ถูกลง เช่น ปกติซื้อขายที่ 32 บาท ต่อ 1 ดอลลาร์  เมื่อเงินบาทแข็งค่า เราสามารถซื้อเงินดอลลาห์ได้ในราคา 31.90 ต่อ 1 ดอลลาร์  ในทางกลับกันหากเงินบาทอ่อนค่าก็จะทำให้เราสามารถใช้เงินบาทซื้อเงินสกุลอื่นในอัตราที่สูงขึ้น

ค่าเงินแข็งค่า, อ่อนค่ากระทบกับธุรกิจอย่างไร?

หากเป็นธุรกิจส่งออก หากเงินบาทแข็งค่าขึ้นจะทำให้การส่งออกมีกำไรลดลง

หากเป็นธุรกิจนำเข้า หากเงินบาทแข็งค่าขึ้นจะทำให้การนำเข้ามีกำไรมากขึ้น

หากเป็นธุรกิจส่งออก หากเงินบาทอ่อนค่าลงจะทำให้การส่งออกมีกำไรมากขึ้น

หากเป็นธุรกิจนำเข้า หากเงินบาทอ่อนค่าลงจะทำให้การนำเข้ามีกำไรลดลง


ปัจจัยที่กำหนดอัตราแลกเปลี่ยน

การเปลี่ยนแปลงของอัตราแลกเปลี่ยนนั้นเกิดจากหลายๆ ปัจจัยรวมกัน เช่น อัตราเงินเฟ้อ, อัตราดอกเบี้ย (มีผลต่อการไหลเข้าออกของเงินทุน) และความต้องการซื้อขายที่มีผลต่ออัตราแลกเปลี่ยน ซึ่งสามารถวิเคราะห์ได้จากนโยบายการเงินของภาครัฐ ข่าวการลงทุนของเอกชน เป็นต้น


สิ่งที่ผู้ประกอบการควรทำเพื่อรับมือปัญหาค่าเงินผันผวน

1.   ป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนด้วยเครื่องมือต่างๆ เช่น

  • Forward Contact การซื้อหรือขายเงินสกุลต่างประเทศล่วงหน้า (48% ของธุรกิจนำเข้าส่งออกใช้วิธีนี้)
  • Foreign Currency Deposit คือการฝากเงินตราต่างประเทศไว้ในประเทศไทย เหมาะกับธุรกิจนำเข้าที่สามารถนำเงินตราต่างประเทศที่ได้มาฝากไว้ในประเทศไทย แล้วรอให้ได้อัตราที่พอใจจึงค่อยเปลี่ยนกลับมาเป็นสกุลเงินบาท
     

2.   ติดตามความเคลื่อนไหวของค่าเงินอยู่เสมอ

นอกจากนี้ยังมีวิธีและเครื่องมือในการรับมือกับปัญหาค่าเงินผันผวนอีกมากมาย ซึ่งเจ้าของธุรกิจจะต้องปรับใช้ให้เหมาะสมกับธุรกิจของคุณ ที่สำคัญคือเจ้าของธุรกิจต้องติดตามการเปลี่ยนแปลงของค่าเงินอย่างใกล้ชิดและต่อเนื่องเพื่อนำมาวิเคราะห์ถึงกำไรและต้นทุน รวมทั้งยังสามารถใช้ในการวางแผนธุรกิจล่วงหน้าได้อีกด้วย


เพื่อให้คุณเห็นภาพรวมของค่าเงินได้รวดเร็วอยู่เสมอ SCB Business Anywhere บริการธนาคารทางอินเทอร์เน็ตเพื่อธุรกิจ แอปพลิเคชันที่ตอบโจทย์เจ้าของธุรกิจ ด้วยระบบธุรกรรมออนไลน์ที่ให้คุณสามารถเห็นภาพรวมของธุรกิจ ไม่ว่าจะเป็นรายการเดินบัญชี และ รายละเอียดต่างๆ ที่สำคัญคือคุณสามารถดูอัตราแลกเปลี่ยนถึงห้าสกุลเงินได้โดยที่ไม่ต้องสลับไปดูแอปฯอื่น ให้คุณสามารถทำธุรกิจได้ทุกที่และช่วยให้โลกธุรกิจของคุณเป็นเรื่องที่ควบคุมได้ง่ายยิ่งขึ้น สนใจดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ www.scbbusiness.com หรือสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ SCB Business Call Center โทร 02 722 2222  สมัครเลยตอนนี้ โอนฟรีทุกรายการ