ผลการค้นหา "{{keyword}}" ไม่ปรากฎแต่อย่างใด
การใช้และการจัดการคุกกี้
ธนาคารมีการใช้เทคโนโลยี เช่น คุกกี้ (cookies) และเทคโนโลยีที่คล้ายคลึงกันบนเว็บไซต์ของธนาคาร เพื่อสร้างประสบการณ์การใช้งานเว็บไซต์ของท่านให้ดียิ่งขึ้น โปรดอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมที่ นโยบายการใช้คุกกี้ของธนาคาร
การใช้และการจัดการคุกกี้
ธนาคารมีการใช้เทคโนโลยี เช่น คุกกี้ (cookies) และเทคโนโลยีที่คล้ายคลึงกันบนเว็บไซต์ของธนาคาร เพื่อสร้างประสบการณ์การใช้งานเว็บไซต์ของท่านให้ดียิ่งขึ้น โปรดอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมที่ นโยบายการใช้คุกกี้ของธนาคาร
หมอผ่าตัดแห่ง 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ผู้ก่อตั้ง“ปฐมพยาบาลออนไลน์"
แม้จะมีความไม่สงบในพื้นที่ แต่สิ่งต่างๆ ที่เกิดขึ้นไม่เคยบั่นทอนความตั้งใจของนายแพทย์รุชตา สาและ ศัลยแพทย์ประจำโรงพยาบาลปัตตานี ที่ทุ่มเทอย่างที่สุดในรักษาชีวิตคนไข้ซึ่งเป็นชาวบ้านในพื้นที่ ตลอดระยะเวลาที่ได้คลุกคลีอย่างเข้มข้น ภาพความสับสนวุ่นวายในห้องฉุกเฉินของโรงพยาบาลภาพชาวบ้าน ที่ได้รับบาดเจ็บจากบาดแผลฉกรรจ์หยดเลือด เสียงร่ำไห้หยาดน้ำตาที่เห็นอยู่ทุกเมื่อเชื่อวัน เตือนให้เขารู้ว่า ความตายนี้อยู่ใกล้นัก
ขอเพียงยังมีชีวิต
“ชีวิตของพวกเรานั้นจริงๆ แล้วเป็นของอัลลอฮ ซึ่งวันนึงทุกคนก็ต่างก็กลับคืนสู่พระองค์ จึงไม่สามารถกำหนดความตายเองได้ แต่ผมมีความเชื่อว่าเราสามารถกำหนดชีวิตของเรา มีชีวิตอยู่ตอนที่มีชีวิตอยู่ได้” ดังนั้น สาระสำคัญ จึงอยู่ที่การพยายามทำให้คนไข้ยังมีโอกาสที่จะมีชีวิตอยู่ให้ได้นายแพทย์หนุ่มจึงได้ทุ่มเทแรงกาย แรงใจใช้ทักษะความรู้ ทางการแพทย์ที่ร่ำเรียนมาต่อสู้อย่างหนักเพื่อยื้อชีวิตคนไข้ผู้บาดเจ็บทุกคนและจากประสบการณ์ทำงานที่ผ่านทำให้เขาตระหนักถึงความสำคัญของการปฐมพยาบาลเบื้องต้นที่ถูกต้องว่าเป็นปัจจัยสำคัญมากๆ จะช่วยเพิ่มโอกาสรอดชีวิตของคนไข้เมื่อมาถึงมือแพทย์
ถ้าได้เห็นกัน ก็อาจช่วยยื้อชีวิตได้
“จะทำยังไงให้ผู้ป่วยมีโอกาสรอดชีวิตได้มากที่สุด” คำถามนี้วนเวียนอยู่ในความคิดของคุณหมอรุชตา จนกระทั่งวันหนึ่งที่คุณหมอและภรรยาไปพักผ่อนที่ชายหาดใกล้เคียง ซึ่งขณะที่ภรรยาคุณหมอแยกตัวไปซื้อ ของก็ได้เจอเหตุการณ์เด็กถูกงูพิษกัดและใช้ “เฟสไทม์” ในสมาร์ทโฟนเปิดกล้องให้คุณหมอช่วยแนะนำการปฐมพยาบาลแก้ไขเบื้องต้นก่อนนำตัวเด็กส่งสถานพยาบาล คำว่า“ปฐมพยาบาลออนไลน์” ที่ภรรยาคุณหมอ เอ่ยขึ้น คือ ทางออกของปัญหาที่คุณหมอคิดหาคำตอบมานาน การใช้เทคโนโลยีเฟสไทม์ติดต่อสื่อสารระหว่าง หน่วยกู้ภัยกับแพทย์ในโรงพยาบาล ช่วยให้บุคคลที่ปฏิบัติงานอยู่ในเหตุการณ์สามารถปฐมพยาบาลได้อย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพเพิ่มโอกาสรอดชีวิตของคนไข้ นอกจากนี้ยังสามารถใช้เทคโนโลยีนีเป็นช่องทางสื่อสารเพื่อให้คำแนะนำแก่บุคลากรแพทย์ในสถานพยาบาลขนาดเล็กสำหรับทำหัตถการรักษาเบื้องต้นเพื่อพยุงอาการคนไข้ ก่อนจะส่งตัวต่อไปยังโรงพยาบาลที่มีศักยภาพในการรักษาต่อไป
ระบบ “ปฐมพยาบาลออนไลน์”
แม้ในช่วงเริ่มต้นที่ทดลองใช้ระบบการปฐมพยาบาลออนไลน์ผ่านเฟสไทม์จะมีความกังวลว่าวิธีนี้จะ สามารถตอบโจทย์การช่วยชีวิตผู้ป่วยหรือไม่ ผลปรากฎว่าวิธีการดังกล่าวเป็นคำตอบที่ลงตัวที่ช่วยให้การปฐม พยาบาลที่มีนำมาซึ่งตัวเลขผู้บาดเจ็บที่รอดชีวิตอย่างมีนัยสำคัญ ความริเริ่มที่จะประยุกต์ใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัยมาใช้ในการดูแลผู้ป่วยในสถานการณ์ฉุกเฉินบวกกับความมุ่งมั่นทุ่มเท เสียสละแรงกายและชีวิตส่วนตัวทางานอย่างไม่รู้ จักเหน็ดเหนื่อยของนายแพทย์รุชตา สาและ ทำให้ระบบการแพทย์ฉุกเฉินที่ เขาก่อตั้งขึ้นเป็นกำลังสำคัญช่วยลดจำนวน ผู้เสียชีวิตได้อย่างมากมาย
นายแพทย์รุชตา สาและ ศัลยแพทย์ประจำโรงพยาบาลปัตตานีหนึ่งในแพทย์ไทยจำนวนมากที่มี จิตวิญญาณยึดมั่นในปณิธานแห่งวิชาชีพแพทย์อย่างเต็มเปี่ยมาประโยชน์แก่สังคมประเทศชาติตามรอย สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก พระบิดาแห่งการแพทย์ไทย “ขอให้ถือผลประโยชน์ ส่วนตัวเปนที่สอง ประโยชน์ของเพื่อนมนุษย์เปนกิจที่หนึ่ง ลาภ ทรัพย์ และเกียรติยศ จะตกมาแก่ท่านเอง ท่านทรงธรรมะแห่งอาชีพไว้ให้บริสุทธิ์”