ผลการค้นหา "{{keyword}}" ไม่ปรากฎแต่อย่างใด
การใช้และการจัดการคุกกี้
ธนาคารมีการใช้เทคโนโลยี เช่น คุกกี้ (cookies) และเทคโนโลยีที่คล้ายคลึงกันบนเว็บไซต์ของธนาคาร เพื่อสร้างประสบการณ์การใช้งานเว็บไซต์ของท่านให้ดียิ่งขึ้น โปรดอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมที่ นโยบายการใช้คุกกี้ของธนาคาร
การใช้และการจัดการคุกกี้
ธนาคารมีการใช้เทคโนโลยี เช่น คุกกี้ (cookies) และเทคโนโลยีที่คล้ายคลึงกันบนเว็บไซต์ของธนาคาร เพื่อสร้างประสบการณ์การใช้งานเว็บไซต์ของท่านให้ดียิ่งขึ้น โปรดอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมที่ นโยบายการใช้คุกกี้ของธนาคาร
เทคนิคทำให้รู้ว่ามีเงินเพียงพอสำหรับเกษียณ
“หลังเกษียณจะมีเงินใช้เพียงพอหรือเปล่า” หนึ่งในความกังวลใจของคนใกล้เกษียณ ทั้งๆ ที่หลายคนได้วางแผนการเงินมาเป็นอย่างดี แต่ก็ยังรู้สึกไม่อุ่นใจกับเงินก้อนที่เก็บมาค่อนชีวิตว่าจะเพียงพอกับการใช้จ่ายหลังเกษียณหรือไม่
สำหรับเทคนิคเบื้องต้นเพื่อสำรวจว่ามีเงินเแค่ไหนถึงจะเพียงพอต่อการใช้จ่ายหลังเกษียณ มีดังนี้
1.ตรวจสุขภาพการเงิน
โดยให้สำรวจดูว่าก่อนเกษียณมีสินทรัพย์และหนี้สินประเภทไหน จำนวนเท่าไหร่ และเมื่อหักลบกลบกันแล้ว สถานะการเงินแข็งแรงมั่นคงมากพอที่จะรองรับแผนการใช้ชีวิตในวัยเกษียณได้มากน้อยแค่ไหน
เริ่มต้นให้ดูสินทรัพย์ว่ามีอยู่ตรงไหนบ้าง มูลค่าปัจจุบันมีอยู่เท่าไหร่ โดยแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม คือ สินทรัพย์สภาพคล่อง (เช่น เงินสด เงินฝาก หรือกองทุนรวมตลาดเงิน) สินทรัพย์เพื่อการลงทุน (เช่น สลากออมทรัพย์ กองทุนรวมตราสารหนี้ กองทุนรวมผสม กองทุนรวมหุ้น หุ้น) และสินทรัพย์ส่วนตัว (เช่น ของสะสม ทองคำ บ้าน ที่ดิน) หลังจากนั้นก็รวบรวมภาระหนี้ที่ยังเหลืออยู่ และเมื่อหักกลบลบกันแล้วเป็นอย่างไร
โดยการประเมินสินทรัพย์และหนี้สิน ต้องดูให้ครบถ้วนและตรงตามความเป็นจริงมากที่สุด เพราะถ้าประเมินดีเกินไปหรือต่ำกว่าเกินความเป็นจริง อาจทำให้แผนเกษียณผิดพลาดไปจากสิ่งที่ควรจะเป็นได้
2.ประเมินค่าใช้จ่าย
ถึงแม้ช่วงวัยเกษียณจะไม่รู้ว่าในแต่ละวัน แต่ละเดือน แต่ละปี จะมีค่าใช้จ่ายเป็นเงินเท่าไหร่ แต่ตามทฤษฎีการประเมินค่าใช้จ่ายหลังเกษียณเบื้องต้น หากต้องการให้คุณภาพชีวิตไม่แตกต่างไปจากก่อนเกษียณ ควรจะมีไม่น้อยกว่า 70% ของค่าใช้จ่ายก่อนเกษียณ ตามสมการดังนี้
จำนวนเงินที่ควรมี = ค่าใช้จ่ายต่อปีหลังเกษียณ (ไม่น้อยกว่า 70% ของค่าใช้จ่ายก่อนเกษียณ) x จำนวนปีที่คาดว่าจะใช้ชีวิตหลังเกษียณ
ตัวอย่าง วางแผนเกษียณตอนอายุ 60 ปี และคาดว่าจะมีชีวิตอยู่หลังเกษียณอายุไปอีก 20 ปี โดยก่อนเกษียณมีค่าใช้จ่าย 30,000 บาทต่อเดือน ดังนั้น ค่าใช้จ่ายหลังเกษียณจะเท่ากับ 21,000 บาทต่อเดือน (70% x 30,000) หรือ 252,000 บาทต่อปี จากนั้นก็นำไปคูณกับปีที่คาดว่าจะใช้ชีวิตหลังเกษียณ (20 ปี) ดังนั้น ตอนอายุ 60 ปี ควรมีเงิน (ยังไม่คำนวณเงินเฟ้อ 3% ต่อปี) เพื่อเตรียมไว้ใช้หลังเกษียณจำนวน 5,040,000 บาท (252,000 x 20)
3.กฎการเงิน 25 เท่า
เป็นอีกทฤษฎีวางแผนการเงินเพื่อเกษียณ คือ จำนวนเงินที่ต้องมีในช่วงวัยเกษียณ ซึ่งมีค่าเท่ากับ 25 เท่าของรายจ่ายประจำปีก่อนเกษียณ เช่น ปัจจุบันมีค่าใช้จ่ายต่อปีเป็นเงิน 360,000 บาท หมายความว่าต้องมีเงินเก็บจำนวน 9,000,000 บาทเพื่อใช้จ่ายช่วงเกษียณ จากนั้นนำเงินจำนวนนี้ไปลงทุนในสินทรัพย์ที่เหมาะสมกับระดับความเสี่ยงที่ยอมรับได้
สำหรับการถอนเงินมาใช้ในช่วงเกษียณอาจจะใช้กฎ 4% ในปีแรก คือ ถอนเงินมาใช้ได้ 360,000 บาท (9,000,000 x 4%) และจะเหลือเงิน 8,640,000 บาทไว้ในบัญชีเพื่อลงทุนต่อไป เช่นเดียวกันในปีถัดไปก็ถอนเงินมาใช้จ่ายในจำนวนเท่าเดิม (360,000 บาท) แต่จะเพิ่มเงินเฟ้อในปีนั้นเข้าไป เช่น ถ้าเงินเฟ้อเท่ากับ 3% จะถอนเงินจำนวน 370,800 บาท (360,000 x 3%)
4.ปรับพอร์ตลงทุนก่อนเกษียณ
ขณะที่อีกไม่กี่ปีก็จะถึงวันเกษียณก็เกิดวิกฤต เช่น วิกฤต COVID-19 ส่งผลกระทบต่อพอร์ตลงทุนจนมีโอกาสทำให้เงินที่เตรียมไว้ใช้หลังเกษียณปรับลดลง ดังนั้น ทางออกที่ดีที่สุด คือ ก่อนจะเกษียณควรปรับพอร์ตการลงทุนโดยลดสัดส่วนการลงทุนในสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงลง เช่น กองทุนรวมหุ้น หุ้น และเพิ่มสัดส่วนสินทรัพย์ที่มีความมั่นคงและปลอดภัยให้มากขึ้น เช่น เงินฝาก กองทุนรวมตลาดเงิน กองทุนรวมตราสารหนี้
ก่อนถึงวันเกษียณ ทุกคนมีเป้าหมายและออกแบบชีวิตหลังเกษียณว่าต้องการให้เป็นแบบไหน อยากจะทำอะไร อยากจะไปเที่ยวที่ไหน อยากจะใช้เงินเดือนละเท่าไหร่ และจะมีรายได้มาจากทางไหนได้บ้าง แต่เพื่อให้มั่นใจว่าทุกอย่างยังคงเป็นไปตามแผนที่วางไว้ ควรประเมินและตรวจสอบอย่างสม่ำเสมอว่าเงินที่เตรียมเอาไว้ เพียงพอต่อการใช้จ่ายหลังเกษียณหรือไม่ก็จะทำให้ชีวิตหลังเกษียณมีความสุขไม่ต้องกังวลใจในเรื่องเงินๆทองๆอีกต่อไป