ผลการค้นหา "{{keyword}}" ไม่ปรากฎแต่อย่างใด
การใช้และการจัดการคุกกี้
ธนาคารมีการใช้เทคโนโลยี เช่น คุกกี้ (cookies) และเทคโนโลยีที่คล้ายคลึงกันบนเว็บไซต์ของธนาคาร เพื่อสร้างประสบการณ์การใช้งานเว็บไซต์ของท่านให้ดียิ่งขึ้น โปรดอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมที่ นโยบายการใช้คุกกี้ของธนาคาร
การใช้และการจัดการคุกกี้
ธนาคารมีการใช้เทคโนโลยี เช่น คุกกี้ (cookies) และเทคโนโลยีที่คล้ายคลึงกันบนเว็บไซต์ของธนาคาร เพื่อสร้างประสบการณ์การใช้งานเว็บไซต์ของท่านให้ดียิ่งขึ้น โปรดอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมที่ นโยบายการใช้คุกกี้ของธนาคาร
ตกงาน “กะทันหัน” รับมืออย่างไรดี!?
มนุษย์เงินเดือนส่วนใหญ่มักโหยหาอิสระ โดยที่ยังคงมีอิสระทางการเงิน แต่ที่ต้องยอมอดทน ผจญรถติด โหมงานหนักก็เพราะเราและครอบครัวยังต้องกินต้องใช้ ไหนจะหนี้สินรุงรังที่ไปก่อไว้ไม่ว่าด้วยความจำเป็นหรือไม่ตั้งใจก็ตาม เราจึงยังต้องการหลักประกันความมั่นคงทางด้านการเงินที่แน่นอน
แต่ชีวิตจริงไม่ใช่ทุ่งลาเวนเดอร์ เมื่อวันดีคืนร้ายบริษัทมีนโยบายเลิกจ้างและหยิบยื่นสภาพตกงานมาให้โดยไม่ทันตั้งตัว เราจะเอาชีวิตรอดจากเหตุการณ์นี้อย่างไร
อันดับแรก ตั้งสติ สูดลมหายใจเข้า-ออกลึกๆ เราไม่ได้ทำอะไรผิด ดังนั้นอย่าเสียเวลาไปกับการดราม่า เพราะยังมีอีกหลายเรื่องที่ต้องจัดการ
ลองดูปฏิทินว่าเราถูกแจ้งข่าวร้ายก่อนถึงวันเลิกจ้างนานแค่ไหน ส่วนใหญ่จะได้รับแจ้งล่วงหน้าประมาณ 1 เดือน คือให้เป็นเวลาทำใจซะมากกว่า คงไม่มีใครตั้งตัวได้ในเดือนเดียว อันนี้มนุษย์เงินเดือนรู้ดีเพราะเผลอแป๊บๆ ใบแจ้งหนี้สินงวดใหม่ก็วนเวียนส่งมาให้รกหูรกตาอีกแล้ว แต่หากเราได้รับแจ้งเลิกจ้างแบบกะทันหันจริงๆ เช่น ไม่กี่วัน หรือรับเงินเดือนแล้วก็ส่งจูบอำลาให้เลย จำไว้ว่านอกจากเงินเดือนเดือนนั้นๆ ที่บริษัทต้องจ่ายเราตามปกติแล้ว เราจะต้องได้ค่าตกใจเป็นเรทเงินเดือนเดือนล่าสุดของเราเพิ่มอีก 1 เดือนด้วย
จากนั้นรีบย้อนอดีตไปเช็กด่วนจี๋เลยว่า เราทำงานที่บริษัทนี้มากี่ปีแล้ว โดยลูกจ้างมีสิทธิได้รับค่าชดเชย หากนายจ้างเลิกจ้างโดยลูกจ้างไม่มีความผิด ดังนี้
*ข้อมูลจากกระทรวงแรงงาน พ.ศ. 2555
อันนี้เราควรคำนวณไว้ก่อน เพื่อไปรีเช็กกับฝ่ายบุคคลของบริษัทหรือกับนายจ้าง ว่าเขาจ่ายให้เราครบถ้วนตามกฎหมายหรือไม่ เรื่องเงินชดเชยในส่วนนี้สำคัญมาก เพราะเป็นสิทธิที่ลูกจ้างจะได้รับหากต้องออกจากงานโดยไม่มีความผิด
ขั้นตอนต่อไป สำหรับมนุษย์เงินเดือนที่มีกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ หลังจากที่เราถูกเลิกจ้าง นายจ้างก็จะยุติการจ่ายเงินสมทบให้กับเราหรือเท่ากับสมาชิกกองทุนของเราได้สิ้นสุดลง ซึ่งในเรื่องของกองทุนสำรองเลี้ยงชีพนี้เรามีทางเลือกในการจัดการเงินก้อน 3 ทางเลือกด้วยกัน
ทางเลือกที่แนะนำมานั้นก็เพื่อให้รีบตัดสินใจแล้วแจ้งฝ่ายบุคคลหรือนายจ้างตั้งแต่เนิ่นๆ ไม่อย่างนั้นเขาอาจดำเนินการลาออกจากสมาชิกให้เราไปซะ
จัดการบริหารเงิน 2 ก้อนได้แล้วก็มาดูกันว่าประกันสังคมที่เราโดนหักกันอยู่ทุกเดือนนั้น ในยามหน้าสิ่วหน้าขวาน เขาจะหยิบยื่นความช่วยเหลือให้เราอย่างไรบ้าง
หลักเกณฑ์ที่จะทำให้เรามีสิทธิได้รับเงินชดเชยจากประกันสังคมกรณีว่างงานมีอยู่ว่าเราจะต้องจ่ายเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่า 6 เดือน ภายในระยะเวลา 15 เดือน ก่อนการว่างงาน และจะต้องอยู่ในสภาพว่างงานตั้งแต่ 8 วันขึ้นไป อันนี้ถ้าเราหางานใหม่ไม่ทัน เราย่อมได้สิทธิรับเงินชดเชยแน่นอน แต่หากมีงานทำต่อเนื่องทันทีหลังจากว่างงาน จะไม่ได้เงินชดเชยในส่วนนี้
จากนั้นให้รีบไปขึ้นทะเบียนว่างงานของสำนักงานจัดหางานผ่านอินเทอร์เน็ตที่ https://empui.doe.go.th/auth/index ภายในเวลา 30 วัน นับตั้งแต่วันที่สิ้นสุดสัญญาจ้าง จะทำให้เราได้รับประโยชน์จากเงินทดแทนกรณีว่างงาน โดยเขาจะนับให้ตั้งแต่วันที่ 8 ของการว่างงาน
เมื่อขึ้นทะเบียนเสร็จแล้วให้พิมพ์เอกสารที่ได้ซึ่งก็คือ แบบคำขอรับประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงาน หรือ สปส. 2-01/7 ออกมา แล้วตรงดิ่งไปที่สำนักงานประกันสังคมที่สะดวก (สำนักงานเขตไหนก็ได้) โดยสามารถดูรายละเอียดสำนักงานประกันสังคมพื้นที่ต่างๆ ใกล้บ้านได้ที่
https://www.sso.go.th/
หรือจะสอบถามทุกปัญหาคาใจจากสายด่วนกระทรวงแรงงานที่ โทร. 1506 ก็ได้เช่นกัน
เมื่อเลือกพื้นที่ที่เราจะไปยื่นเรื่องขอรับประโยชน์ทดแทนจากการว่างงานได้แล้ว มีเอกสารที่ต้องนำติดตัวไปดังนี้
*ข้อมูลจากสำนักงานประกันสังคม
หลังจากที่เรายื่นเอกสารเสร็จแล้วจะมีจดหมายนัดให้มารายงานตัวเดือนละครั้ง เป็นจำนวน 6 ครั้ง (เดือนละครั้ง เป็นเวลา 6 เดือน) โดยสามารถรายงานตัวได้ก่อนวันนัดหมาย 7 วัน และหลังวันนัดหมาย 7 วัน หากลืมรายงานตัวเดือนใดอาจจะทำให้เราไม่ได้ค่าชดเชยในเดือนนั้นได้
หากเราถูกเลิกจ้าง ประกันสังคมจะชดเชยให้ถึง 6 เดือน ในอัตราร้อยละ 50 ของค่าจ้างเดือนล่าสุด โดยมีฐานเงินเดือนสูงสุดไม่เกิน 15,000 บาท ยกตัวอย่างเช่น เราได้รับเงินเดือน 10,000 เราจะได้รับเงินชดเชยเดือนละ 5,000 บาท แต่หากเงินเดือนตั้งแต่ 15,000 บาทขึ้นไป จะได้รับเดือนละ 7,500 บาท เป็นต้น
สำหรับใครที่ตกงานอันเนื่องมาจากเหตุการณ์ไม่ปกติ เช่น สถานการณ์แพร่ระบาดของไวรัส โควิด-19 ทางสำนักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงาน ก็จะมีมาตรการช่วยเหลือเพิ่มเติมให้ด้วย โดยสามารถเข้าไปดูรายละเอียดได้ที่เว็บไซต์สำนักงานประกันสังคม หรือทางเฟซบุ๊ก สำนักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงาน (
https://www.facebook.com/ssofanpage
)
ระหว่างนี้เราก็สามารถลุยหางานต่อไปได้ หรือหาความรู้เพิ่มเติมระหว่างว่างงาน แต่อย่าชิลเกินไปจนเงินที่ได้มาหมดเกลี้ยง แบ่งเป็นส่วนที่ต้องใช้สอยและแบ่งออมไว้บ้าง ถือเป็นโอกาสอันดีในการได้เงินก้อนมาต่อยอดหรือเก็บออม อ้อ แต่ก็ไม่แนะนำให้เทโครมไปใช้หนี้สินหรือลงทุนซะจนหมด แบบนั้นอันตรายเกินไป งานสมัยนี้หายาก อาจใช้เวลานานกว่าที่คาด เพราะฉะนั้นต้องคิดก่อนใช้ดีๆ
เปลี่ยนนิสัยให้กลับมาทำบัญชีรายรับ-รายจ่าย ตั้งแต่วันแรกที่ว่างงาน (จริงๆ ควรทำทุกวันจะดีมาก) ดูแลสุขภาพเพื่อชาร์จพลังงานให้เต็มก่อนไปลุยกับงานใหม่ และสุดท้ายนี้ ขอเป็นกำลังใจให้ผู้ไม่ยอมแพ้ต่อโชคชะตาทุกคน