ผลการค้นหา "{{keyword}}" ไม่ปรากฎแต่อย่างใด
การใช้และการจัดการคุกกี้
ธนาคารมีการใช้เทคโนโลยี เช่น คุกกี้ (cookies) และเทคโนโลยีที่คล้ายคลึงกันบนเว็บไซต์ของธนาคาร เพื่อสร้างประสบการณ์การใช้งานเว็บไซต์ของท่านให้ดียิ่งขึ้น โปรดอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมที่ นโยบายการใช้คุกกี้ของธนาคาร
การใช้และการจัดการคุกกี้
ธนาคารมีการใช้เทคโนโลยี เช่น คุกกี้ (cookies) และเทคโนโลยีที่คล้ายคลึงกันบนเว็บไซต์ของธนาคาร เพื่อสร้างประสบการณ์การใช้งานเว็บไซต์ของท่านให้ดียิ่งขึ้น โปรดอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมที่ นโยบายการใช้คุกกี้ของธนาคาร
การขอความเห็นที่สองจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ
สองหัวดีกว่าหัวเดียว...วันรุ่งขึ้นหลังจากที่เพื่อนสนิทคนหนึ่งกลับจากไปพบแพทย์ที่โรงพยาบาล เขามีอาการซึมเศร้าอย่างเห็นได้ชัด จากคนร่าเริงสนุกสนาน แต่วันนี้กลับเงียบขรึมถามคำตอบคำและดูเหมือนนอนไม่หลับมาทั้งคืน กลางวันไปทานข้าวด้วยกันเลยค่อยๆ ถามดู เพื่อนพูดอย่างเศร้าๆ ว่าหมอบอกว่าเป็นมะเร็งในกระเพราะอาหาร เราเองฟังแล้วก็ถึงกับอึ้ง แต่ด้วยความที่ยังมีสติเลยบอกเพื่อนไปว่าลองไปตรวจอีกที่ไหมอาจจะมีอะไรผิดพลาดก็ได้ แต่ถ้าเป็นจริงๆ ก็จะได้รู้กันไปและเริ่มรักษา หลังจากนั้นสองวันเพื่อนก็ไปตรวจกับแพทย์อีกโรงพยาบาลหนึ่งซึ่งหลังการตรวจวินิจฉัยอย่างละเอียดคุณหมอท่านที่สองบอกว่าเพื่อนไม่ได้เป็นมะเร็ง รอยยิ้มและเสียงหัวเราะของเขาก็กลับมาอีกครั้ง และจากวันนั้นรวมเวลาเกือบ 10 ปีจนถึงทุกวันนี้ เพื่อนคนนี้ก็ยังมีสุขภาพแข็งแรงดีอยู่
สำหรับตัวฉันเองก็เคยมีประสบการณ์เกี่ยวกับเรื่องนี้เช่นกัน ถึงแม้ไม่ใช่โรคร้ายแรงอย่างมะเร็งแต่ก็ทำชีวิตวุ่นวายไปนาน ตอนนั้นฉันเป็นแผลในปากจำนวนมาก หมอให้ยารักษาเท่าไหร่ก็ไม่ดีขึ้น เวียนไปหาหมอคนเดิมหลายรอบก็ไม่หายสักที จนหมอบอกว่าคุณอาจเป็นวัณโรคในช่องปาก ฉันถึงกับอึ้ง หมอบอกต้องตัดเนื้อในปากไปตรวจ ตอนนั้นตกใจและงงมากว่ามันหนักขนาดนั้นเลยหรือ สุดท้ายฉันไม่ไปตัดชิ้นเนื้อในปากตามนัด แต่ไปรักษาที่โรงพยาบาลอื่นแทนปรากฎว่าฉีดยาเข็มเดียวกับยาที่ให้กลับมาทานที่บ้าน สองวันหายเลย!
อีกเคสหนึ่งเป็นเคสของคุณปู่ของฉันเอง โรงพยาบาลแห่งหนึ่งวินิจฉัยว่าคุณปู่เป็นโรคกระดูกเสื่อมให้ใส่เฝือกที่คอและทำกายภาพบำบัด เสียเวลาทำอยู่นานอาการไม่ดีขึ้นคุณปู่มีแต่ทรมาน มีแต่ทรุดลง สุดท้ายไปโรงพยาบาลใหม่พบว่าจริงๆ แล้วคุณปู่เป็นมะเร็งปอดขั้นลุกลามเสียแล้ว และหลังจากนั้นท่านก็เสียชีวิตไปในเวลาอีกไม่กี่เดือน
ไม่ใช่ไม่ไว้ใจหมอแต่เราก็ต้องดูแลตัวเองให้ดีที่สุด และเรามีสิทธิ์ที่จะได้รับข้อมูลอย่างละเอียดที่สุดเกี่ยวกับโรคที่เราเป็น รวมถึงทางเลือกในการรักษาในแบบที่เหมาะสมที่สุด เมื่อไรก็ตามที่เราได้รับคำวินิจฉัยโรคจากแพทย์ว่าเรากำลังป่วยเป็นโรคที่ไม่ปกติ ไม่ใช่ปวดหัวตัวร้อนทั่วไป หรือจำเป็นต้องรับการรักษาโดยการผ่าตัด หรือบางอย่างที่มากกว่ากินยา เมื่อนั้นเราควรจะมองหาความเห็นที่สองจากแพทย์ (second opinion) ไว้ด้วย
ในต่างประเทศบริการความเห็นที่สองเป็นที่นิยมมานานแล้ว เนื่องจากผู้คนตื่นตัวเรื่องสิทธิของผู้ป่วย ประกอบกับวัฒนธรรมต่างประเทศเอง ที่มองว่าหมอ เป็นอีกอาชีพหนึ่ง ไม่ต่างกับทนาย นักธุรกิจ หรือพนักงานบริษัทที่มีโอกาสทำงานผิดพลาดได้ เพราะหมอก็เป็นปุถุชนเหมือนทุกคน ดังนั้นการฝากความหวังทั้งหมดกับหมอเพียงคนเดียว ในต่างประเทศมองว่าเป็นความสุ่มเสี่ยงประมาณหนึ่ง ไม่ว่าจะเกิดจากการวินิจฉัยผิดพลาดจนทำให้รักษาไปผิดทาง ซึ่งกว่าจะรู้ก็สายเสียแล้ว
สำหรับคนไทยเราที่ค่อนข้างมีความขี้เกรงใจ หมอว่าอย่างไรก็มักจะเชื่อตามนั้น รักษาแล้วไม่หายก็ยังต้องกลับไปหาใหม่ ซึ่งความสัมพันธ์แบบนี้จริง ๆ แล้วก็มีข้อดีอยู่บ้างในการสร้างความเข้าใจและผูกพันระหว่างหมอกับคนไข้ เป็นลักษณะนิสัยของคนไทยในการให้ความนับถือผู้มีความรู้ ปัญหาความไม่เข้าใจจนนำไปสู่การฟ้องร้องหมอในบ้านเราจึงเกิดขึ้นน้อยมาก
การขอความคิดเห็นที่สองทางการแพทย์ (SECOND OPINION IN MEDICINE หรือ SECOND MEDICAL OPINION) จึงกลายเป็นเรื่องใหม่ที่ไม่ค่อยเกิดขึ้นในบ้านเรากันมาก่อน ซึ่งคำจำกัดความของความคิดเห็นที่สองทางการแพทย์ คือการเสาะแสวงหาความเห็นจากมุมมองที่แตกต่าง (ซึ่งอาจมีความเห็นที่เหมือนกันก็ได้)
การขอความคิดเห็นที่สองอาจเกิดขึ้นในกรณีต่อไปนี้
ในหนังสือ "WHEN DOCTOR BECOMES PATIENT" ที่เขียนโดยนายแพทย์ KLITZMAN อาจารย์แพทย์ที่มหาวิทยาลัยโคลัมเบียกล่าวถึงเรื่องนี้ว่า มีตัวเลขที่น่าสนใจว่า 18-30% ของแพทย์ที่ได้รับการขอคำปรึกษาจากผู้ป่วยหรือบริษัทประกันจะไม่เห็นด้วยกับแพทย์คนแรกที่แนะนำให้รักษาด้วยการผ่าตัด (แต่ไม่ได้ศึกษาว่าความเห็นของใครถูกต้องกันแน่ระหว่าง FIRST OPINION กับ SECOND OPINION) ยังมีการวิเคราะห์กันอีกว่าเหตุผลที่สำคัญที่ทำให้ผู้ป่วยส่วนใหญ่ต้องเสาะแสวงหาความคิดเห็นที่สองก็เนื่องจาก ยากที่จะทำใจยอมรับกับโรคที่ตนเป็นโดยเฉพาะเรื่องโรคมะเร็ง หรือยังทำใจไม่ได้กับข้อแนะนำของแพทย์คนแรกที่แนะนำให้ผ่าตัดทั้ง ๆ ที่คิดว่าตนเองไม่ได้เจ็บป่วยอะไรขนาดนั้น และมีผู้ป่วยจำนวนไม่น้อยที่ไม่เชื่อหรือยังไม่ยอมรับในความเห็นของแพทย์คนที่สอง อาจขอความเห็นที่สาม สี่ ห้า เลยก็มี
ข้อดีของการขอความคิดเห็นที่สองทางการแพทย์มีหลายประการแต่ข้อเสียก็อาจเกิดขึ้นได้เช่นเดียวกัน ที่เห็นได้บ่อยคือการแสวงหาความเห็นหลากหลายจนไม่ได้ข้อสรุป ใช้เวลาเนิ่นนานจนทำให้เสียเวลา เสียโอกาสในการรักษา โรคมะเร็งที่ลุกลามมากขึ้น โรคหัวใจหรือหลอดเลือดรุนแรงมากขึ้นจนรักษาไม่ได้หรือเกิดภาวะแทรกซ้อนจนทำให้การรักษาทำได้ยากยิ่งขึ้น หรือกรณีที่พบกันมากในปัจจุบันคือ การปฏิเสธแนวทางการรักษาแพทย์แผนปัจจุบัน แต่ไปเสาะหาการรักษาทางเลือก จนทำให้เสียโอกาสที่จะหายหรือดีขึ้นจากการรักษาโรคด้วยวิธีแผนปัจจุบัน
ข้อแนะนำในเวลาที่คิดว่าเราจำเป็นต้องไปขอความเห็นที่สองหรือขอความคิดเห็นเพิ่มเติมเกี่ยวกับการวินิจฉัยหรือการรักษาโรคของเราหรือคนใกล้ตัวมีดังนี้
วิวัฒนาการทางการแพทย์พัฒนาไปมาก ไม่เพียงเรื่องของเทคโนโลยีการตรวจรักษา แต่พฤติกรรมของตัวผู้ป่วยเองก็เปลี่ยนแปลงไปในทางที่พัฒนาขึ้นรักษาสิทธิของตัวเองมากขึ้นเช่นกัน เรื่อง SECOND OPINOIN จึงถือเป็นเรื่องที่ดีที่ทำให้ทั้งตัวแพทย์และผู้ป่วยมีการทบทวนการตัดสินใจอย่างรอบคอบ เพื่อให้ได้ผลการวินิจฉัยที่ตรงที่สุดและวิธีการรักษาที่เหมาะสมที่สุดต่อไป
อ้างอิง