ผลการค้นหา "{{keyword}}" ไม่ปรากฎแต่อย่างใด
การใช้และการจัดการคุกกี้
ธนาคารมีการใช้เทคโนโลยี เช่น คุกกี้ (cookies) และเทคโนโลยีที่คล้ายคลึงกันบนเว็บไซต์ของธนาคาร เพื่อสร้างประสบการณ์การใช้งานเว็บไซต์ของท่านให้ดียิ่งขึ้น โปรดอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมที่ นโยบายการใช้คุกกี้ของธนาคาร
การใช้และการจัดการคุกกี้
ธนาคารมีการใช้เทคโนโลยี เช่น คุกกี้ (cookies) และเทคโนโลยีที่คล้ายคลึงกันบนเว็บไซต์ของธนาคาร เพื่อสร้างประสบการณ์การใช้งานเว็บไซต์ของท่านให้ดียิ่งขึ้น โปรดอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมที่ นโยบายการใช้คุกกี้ของธนาคาร
ประกันสุขภาพ ประกันโรคร้ายแรง ทำไมต้องมี “ระยะเวลารอคอย”
เสียเงินทำประกันสุขภาพเอาไว้ พอจะใช้ทำไมเคลมไม่ได้ โดนประกันหลอกแน่เลย อาจมีหลายคนเคยเจอกับเหตุการณ์นี้ แต่รู้หรือไม่ว่าหนึ่งในสาเหตุต้นๆ ที่ทำให้เคลมค่ารักษาพยาบาลจากประกันสุขภาพหรือประกันโรคร้ายแรงไม่ได้ก็คือ “ระยะเวลารอคอย” หรือ “waiting period” ซึ่งเป็นหนึ่งในเงื่อนไขที่ต้องมีในประกันสุขภาพทั่วไปและประกันคุ้มครองโรคร้าย ซึ่งผู้ซื้อประกันหลายๆ คนอาจไม่ได้ทำความเข้าใจเงื่อนไขการทำประกันก่อนตัดสินใจซื้อ จึงไม่รู้ว่ามีประเด็นนี้ หลังจากนั้นก็มีคำถามต่อมาว่าแล้วทำไมจึงต้องมี ระยะเวลารอคอย และระยะเวลารอคอยคืออะไรกันแน่ เป็นสิ่งที่บริษัทประกันกำหนดขึ้นมาเพื่อเอาเปรียบผู้บริโภคหรือคนซื้อประกันอย่างเราหรือเปล่า วันนี้เรามาทำความเข้าใจกัน
ทำไมต้องมีระยะเวลารอคอย?
เหตุผลที่ต้องมีระยะเวลารอคอย ก็เพราะว่าบริษัทประกันต้องการป้องกันความเสี่ยงที่จะมีคนที่รู้ว่าตัวเองป่วย แต่ยังไม่ยอมไปรักษา จึงมาขอซื้อประกันก่อน แล้วค่อยไปรักษาเพื่อจะได้เบิกเงินจากประกัน ถ้าบริษัทประกันไม่มีระยะเวลารอคอย คนก็จะรอให้ป่วยก่อนแล้วค่อยซื้อประกันกันหมด ซึ่งก็ถือว่าไม่เป็นธรรมกับบริษัทประกัน โดยระยะเวลารอคอยเป็นการยืดเวลาให้ทางบริษัทประกันเอง มีเวลาในการตรวจสอบข้อมูลของลูกค้าก่อนว่าไม่ได้มีจุดประสงค์ที่ไม่ดี เพื่อหลอกเคลมเอาเงินชดเชยในการรักษา โดยแต่ละบริษัทฯจะมีการกำหนดระยะเวลาที่แตกต่างกันออกไป
ระยะเวลารอคอยคืออะไร?
Waiting Period หรือ ระยะเวลารอคอย เป็นระยะเวลาที่ผู้ซื้อกรมธรรม์หรือผู้เอาประกันภัยจะยังไม่สามารถทำการเคลมค่ารักษา เรียกร้องเงินชดเชยหรือเคลมประกันได้ ภายในระยะเวลาตามที่กรมธรรม์แต่ละแบบกำหนดไว้ ซึ่งจะมีระยะเวลาตั้งแต่ 30 60 90 ไปจนถึง 120 วันโดยแต่ละบริษัทประกันจะมีการกำหนดระยะเวลาที่แตกต่างกันออกไป
ทำไมประกันแต่ละประเภทมีระยะเวลารอคอยไม่เท่ากัน?
ระยะเวลารอคอย หรือ ระยะเวลาที่ไม่คุ้มครอง ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของโรค ระยะเวลาฟักตัว หรือระยะเวลาในการแสดงอาการของโรค สำหรับประกันสุขภาพโรคทั่วไป มักจะมีระยะเวลารอคอย 30 วันนับตั้งแต่วันที่กรมธรรม์มีผลบังคับ หากเป็นโรคเรื้อรังที่ใช้เวลาในการรักษาและค่ารักษาสูง ประกันโรคร้ายแรงจะมีระยะเวลารอคอย 90 วันนับตั้งแต่วันที่กรมธรรม์มีผลบังคับ ส่วนรายละเอียดว่าโรคอะไรคุ้มครองบ้าง โรคนั้นมีระยะเวลารอคอยเท่าไร ต้องขึ้นอยู่กับเงื่อนไขของบริษัทประกันนั้นๆ ด้วย
ถ้าป่วยในระยะเวลารอคอยจะทำอย่างไร?
ในกรณีที่ลูกค้าเกิดเจ็บป่วยขึ้นมาในช่วงระยะเวลารอคอย ทางบริษัทประกันจะไม่อนุญาตให้เคลมได้ หรืออาจเลือกที่จะยกเลิกความคุ้มครอง หรือ ยกเลิกสัญญากรมธรรม์ให้เป็นโมฆียะได้ แต่หากครบกำหนดระยะเวลารอคอยแล้วไม่พบโรคใดๆ ผู้เอาประกันก็สามารถถือกรมธรรม์นั้นต่อไปได้ยาวๆ หากเกิดป่วยขึ้นในอนาคตก็สามารถรับการรักษาและความคุ้มครองจากบริษัทประกันได้ทันที
กรณีเสียชีวิตระหว่างระยะเวลารอคอย
หากผู้เอาประกันภัยเสียชีวิตในช่วงระยะเวลารอคอยด้วยโรคร้ายแรง บริษัทประกันจะทำการตรวจสอบประวัติการรักษาโรคหากค้นพบว่าไม่เคยตรวจวินิจฉัยเป็นผู้ป่วยโรคร้ายแรงมาก่อน บริษัทประกันจะจ่ายจำนวนเงินเอาประกันภัยให้กับผู้รับผลประโยชน์ ทั้งนี้ หากตรวจสอบพบว่าเคยมีประวัติการรักษาหรือตรวจพบโรคร้ายแรงมาก่อนทำประกัน บริษัทประกันจะคืนค่าเบี้ยฯ ที่จ่ายมาแล้วทั้งหมดเท่านั้น
ไทยพาณิชย์ ร่วมกับบริษัทประกัน เปิดตัวประกันชีวิตพร้อมความคุ้มครองสุขภาพใหม่ที่ตอบโจทย์ความต้องการที่หลากหลายได้อย่างลงตัว ด้วยแผนประกัน “OPD (คุ้ม) เงินอยู่ครบ จบหายห่วง” ที่ให้การดูแลค่ารักษาพยาบาลทั้งผู้ป่วยนอก (OPD) - ผู้ป่วยใน (IPD) รวมทั้ง ทำฟัน สายตา วัคซีน และตรวจสุขภาพประจำปี นอกจากนั้นมีค่าชดเชยรายวัน กรณีเข้าพักรักษาตัวเป็นผู้ป่วยใน และค่ารักษาพยาบาลกรณีเป็น 3 โรคร้ายแรง(โรคมะเร็งระยะลุกลาม กล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันจากการขาดเลือด และโรคหลอดเลือดสมองแตกหรืออุดตัน) เพิ่มความคุ้มค่ากับแบบประกันชีวิตพร้อมความคุ้มครองสุขภาพใหม่ ด้วยการคืนเบี้ยครบทั้งหมด เมื่อครบสัญญา แม้จะเคลมค่ารักษาพยาบาล ค่าชดเชย หรือค่าเจ็บป่วยโรคร้ายแรง แล้วก็ตามนอกจากนี้ ยังเป็นกรมธรรม์ที่สามารถแชร์วงเงินค่ารักษาพยาบาลให้คนในครอบครัวได้สูงสุดรวม 5 คน* (รวมผู้เอาประกันภัย) สำหรับแผน 3 แสนบาทขึ้นไป และหากไม่เคลมหรือใช้วงเงินค่ารักษาพยาบาลไม่หมด สามารถสะสมวงเงินค่ารักษาพยาบาลไปใช้ในปีถัดไปได้ สามารถติดต่อสอบถามได้ที่ SCB ทุกสาขา พร้อมมีบริการใหม่ ‘Live Chat’ ที่ให้ความสะดวกแก่ลูกค้าสามารถคุยกับเจ้าหน้าที่ธนาคารที่มีใบอนุญาตนายหน้าประกันชีวิตได้ตลอด 24 ชั่วโมง โอพีดีคืนเบี้ยครบ คลิก https://link.scb/349qLNn
สามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่นี่
https://www.scb.co.th/th/personal-banking/insurance/health-insurance/opd-kuen-bia-krob.html
*รวมผู้เอาประกันภัย โดยระบุเพิ่มสมาชิกในครอบครัว ได้สูงสุด 4 คน ได้แก่ สามี ภรรยา บุตร บิดา มารดา พี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน พี่น้องร่วมแต่บิดาหรือมารดาเดียวกัน ปู่ ย่า ตา ยาย ลุง ป้า น้า อา (ซึ่งมีอายุระหว่าง 1 เดือน - 75 ปี) โดยได้รับความคุ้มครองชีวิต 50,000 บาทต่อคน (โดยบริษัทจะจ่ายผลประโยชน์ให้กับผู้เอาประกันภัยเท่านั้น)
หมายเหตุ
· รับประกันภัยโดย บมจ. เอฟดับบลิวดี ประกันชีวิต
· ธนาคารเป็นเพียงนายหน้าผู้ชี้ช่องให้ทำประกันเท่านั้น
· แผนประกันนี้ประกอบด้วยสัญญาหลักซึ่งให้ความคุ้มครองชีวิตและสัญญาเพิ่มเติมสุขภาพ
· ผู้ซื้อควรทำความเข้าใจในรายละเอียดความคุ้มครอง และเงื่อนไขก่อนตัดสินใจทำประกันทุกครั้ง
· เงื่อนไขความคุ้มครองเป็นไปตามแบบกรมธรรม์ และ บมจ. เอฟดับบลิวดี ประกันชีวิต กำหนด
· สอบถามเพิ่มเติมเกี่ยวกับความคุ้มครอง และการเคลมสินไหมทดแทน ติดต่อศูนย์บริการลูกค้าเอฟดับบลิวดี โทร. 1351 (ทุกวัน เวลา 8.00 - 20.00 น.) หรือ fwd.co.th
· สนใจผลิตภัณฑ์ติดต่อได้ที่ SCB ทุกสาขา หรือ SCB Call Center โทร. 02-777-7777