ผลการค้นหา "{{keyword}}" ไม่ปรากฎแต่อย่างใด
การใช้และการจัดการคุกกี้
ธนาคารมีการใช้เทคโนโลยี เช่น คุกกี้ (cookies) และเทคโนโลยีที่คล้ายคลึงกันบนเว็บไซต์ของธนาคาร เพื่อสร้างประสบการณ์การใช้งานเว็บไซต์ของท่านให้ดียิ่งขึ้น โปรดอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมที่ นโยบายการใช้คุกกี้ของธนาคาร
การใช้และการจัดการคุกกี้
ธนาคารมีการใช้เทคโนโลยี เช่น คุกกี้ (cookies) และเทคโนโลยีที่คล้ายคลึงกันบนเว็บไซต์ของธนาคาร เพื่อสร้างประสบการณ์การใช้งานเว็บไซต์ของท่านให้ดียิ่งขึ้น โปรดอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมที่ นโยบายการใช้คุกกี้ของธนาคาร
3 สิ่งที่ควรทำก่อนเกษียณ
ก่อนถึงวันเกษียณอายุ ทุกคนคงวาดแผนการใช้ชีวิตเอาไว้อย่างสวยงาม ไม่ว่าจะเป็นการมีเงินใช้เพียงพอ อยากไปเที่ยวที่ไหนก็ได้ไป มีชีวิตสุขสบาย แต่ก่อนที่จะได้มาแบบนั้นต้องแลกด้วยการวางแผนกันเป็นอย่างดี ฝันถึงจะกลายเป็นจริง
ไม่มีใครรู้อนาคตของตัวเองว่าหลังวัยเกษียณ ชีวิตจะเป็นอย่างไร ดังนั้น การเตรียมความพร้อมหรือวางแผนจึงเป็นสิ่งที่ต้องลงมือทำ หากเตรียมความพร้อมได้อย่างดีเยี่ยม การใช้ชีวิตวัยเกษียณย่อมมีความสุข ซึ่งสิ่งที่ควรเตรียมก่อนถึงวัยเกษียณมี 3 เรื่องหลักๆ
1. เตรียมร่างกาย
ในแต่ละช่วงวัยก็จะมีการใช้ชีวิตแตกต่างกัน วัยเด็กเป็นช่วงการเรียนรู้ พอโตเป็นวัยรุ่นก็โลดโผน พอเข้าสู่วัยทำงานก็ต้องสร้างฐานะและความมั่นคง เมื่อร่างกายใช้งานหนักก็จะเสื่อมทรุดลงเป็นเรื่องธรรมดา
หากพูดถึงคนวัยเกษียณ หนีไม่พ้นค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวกับสุขภาพ เพราะถึงแม้จะเกษียณพร้อมกับเงินเก็บก้อนโต แต่สุขภาพไม่ดี เข้าออกโรงพยาบาลเดือนเว้นเดือน เงินอาจหมดไปกับรักษาพยาบาล
ดังนั้น ในช่วงวัยทำงานจึงต้องเตรียมร่างกายให้แข็งแรง ออกกำลังกาย ทานอาหารให้ครบหมู่มีประโยชน์ และอย่าลืมตรวจสุขภาพเป็นประจำซึ่งทำให้มีโอกาสตรวจพบโรคในช่วงเริ่มต้น ถ้าพบก็ทำการรักษา และได้มีค่าใช้จ่ายน้อยกว่าปล่อยไว้จนร่างกายทรุดหนัก
สำหรับคนไทย ปัจจุบันมีสวัสดิการรักษาพยาบาลหรือสวัสดิการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ที่ภาครัฐจัดไว้ผ่านสวัสดิการข้าราชการ, กองทุนประกันสังคม, สวัสดิการพนักงานส่วนท้องถิ่น, สวัสดิการของหน่วยงานรัฐอื่นๆ และหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ
ดังนั้น ทุกคนต้องตรวจสอบสิทธิหลักประกันสุขภาพของตัวเองว่าอยู่ในกลุ่มใด เพียงแค่กรอกเลขประจำตัวประชาชน วัน เดือน ปีเกิด ได้ที่เว็บไซต์ของสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ก็จะทราบสิทธิแล้ว
2. เตรียมใจ
ในช่วงวัยทำงาน บรรยากาศเต็มไปด้วยเพื่อนร่วมงาน มีการสังสรรค์เฮฮา แต่เมื่อถึงวัยเกษียณจะเป็นช่วงเวลาการเปลี่ยนแปลงหลายอย่างพร้อมกัน การใช้ชีวิตส่วนใหญ่จะอยู่กับบ้าน ดังนั้น ต้องเตรียมใจเพื่อให้สามารถปรับตัวและอยู่ได้
การเตรียมใจมีหลายวิธี เช่น การฝึกสมาธิ การฝึกจิตใจให้ผ่อนคลายและการเรียนรู้ถึงการที่มีเวลาว่างมากขึ้นหรือรู้สึกเหงา เช่น หากิจกรรมหรือหางานอดิเรกทำ เพื่อฝึกจิตใจให้เข้มแข็งก่อนเผชิญของจริงในวัยเกษียณ
3. เตรียมเงิน
เงิน คือองค์ประกอบสำคัญที่จะทำให้ชีวิตหลังวัยเกษียณมีความสุขกาย สุขใจ ดังนั้น ก่อนถึงวันเกษียณต้องเตรียมเงินให้เรียบร้อยก่อน ซึ่งการที่จะรู้ว่าหลังเกษียณจะใช้เงินเท่าไหร่ก็ให้ถามตัวเองว่าอยากมีเงินใช้ในแต่ละเดือนกี่บาท
เช่น นาย ก. อยากมีเงินใช้ 20,000 บาทต่อเดือน (หรือ 240,000 บาทต่อปี) และคิดว่าจะมีชีวิตอยู่ไปจนถึงอายุ 85 ปี สมมติว่าเขาเกษียณอายุ 60 ปี นั่นหมายถึงจะมีชีวิตหลังเกษียณต่อไปอีก 25 ปี ดังนั้น นาย ก. ต้องเตรียมเงินเพื่อไปใช้หลังเกษียณ 6,000,000 บาท (240,000 บาท x 25 ปี)
อีกวิธีหนึ่งที่ทำให้รู้ว่าหลังวัยเกษียณต้องใช้เงินเท่าไหร่ คือ การประมาณค่าใช้จ่าย ด้วยการแยกค่าใช้จ่ายหลักๆ ออกมา ตามตัวอย่างดังนี้
รายจ่าย |
รายเดือน (บาท) |
รายปี (บาท) |
ค่าใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน -อาหาร -น้ำ ไฟ มือถือ -ของใช้ในบ้าน |
(ระบุตัวเลขค่าใช้จ่าย) |
(ระบุตัวเลขค่าใช้จ่าย) |
ค่าใช้จ่ายในการดูแลสุขภาพ -ค่าหมอ ค่ายา -เบี้ยประกันสุขภาพ ประกันชีวิต |
(ระบุตัวเลขค่าใช้จ่าย) |
(ระบุตัวเลขค่าใช้จ่าย) |
ค่าใช้จ่ายส่วนตัว -เสื้อผ้า -ผลิตภัณฑ์ดูแลร่างกาย |
(ระบุตัวเลขค่าใช้จ่าย) |
(ระบุตัวเลขค่าใช้จ่าย) |
ค่าเดินทาง -น้ำมันรถ ค่าเดินทางขนส่งมวลชน -ซ่อมรถ |
(ระบุตัวเลขค่าใช้จ่าย) |
(ระบุตัวเลขค่าใช้จ่าย) |
ค่าใช้จ่ายอื่นๆ -หนี้สิน -ค่าพักผ่อน สังสรรค์ -ท่องเที่ยว |
(ระบุตัวเลขค่าใช้จ่าย) |
(ระบุตัวเลขค่าใช้จ่าย) |
รวมค่าใช้จ่าย |
(ผลรวมค่าใช้จ่าย) |
(ผลรวมค่าใช้จ่าย) |
จากนั้นลองใส่จำนวนเงินแล้วรวมว่าแต่ละเดือนต้องใช้จ่ายเท่าไหร่ อย่างไรก็ตาม ควรเผื่อเหลือเผื่อขาดค่าใช้จ่ายในแต่ละเดือนด้วย เช่น คาดว่าจะใช้เงินหลังวัยเกษียณเดือนละ 20,000 บาท ก็เพิ่มเป็น 25,000 บาท (หรือปีละ 300,000 บาท) นั่นหมายความว่า นาย ก. ต้องเก็บเงินให้ได้ก่อนถึงวันเกษียณ 7,500,000 บาท (300,000 บาท x 25 ปี)
นอกจากนี้ อย่าลืมคำนวณอัตราเงินเฟ้อเพราะเป็นสิ่งที่ลดมูลค่าของเงิน เนื่องจากราคาของสินค้าในอนาคตจะเพิ่มสูงขึ้น หากเป็นเช่นนี้เมื่อถึงเวลาที่เกษียณเงินที่เตรียมไว้สำหรับค่าใช้จ่ายในแต่ละเดือนอาจจะไม่เพียงพอ ดังนั้น การวางแผนการเงินต้องคำนึงถึงอัตราเงินเฟ้อด้วย
หลายคนอาจมองว่าวันเกษียณยังอีกไกล มีเวลาวางแผนอีกหลายปี ตอนนี้ขอใช้ชีวิตและใช้เงินให้สุดๆ ไปก่อน พอถึงอายุ 45 ปีค่อยว่ากันอีกทีว่าจะวางแผนอย่างไรเพื่อวัยเกษียณ แต่อนาคตเป็นสิ่งที่ไม่แน่นอน
แม้ว่าไม่มีคำว่าสายกับการวางแผนเพื่อวัยเกษียณ แต่ถ้าเตรียมความพร้อมและลงมือทำตั้งแต่เนิ่นๆ จะเป็นการปูทางเพื่อให้ชีวิตหลังวัยเกษียณเป็นไปอย่างราบรื่น