ผลการค้นหา "{{keyword}}" ไม่ปรากฎแต่อย่างใด
การใช้และการจัดการคุกกี้
ธนาคารมีการใช้เทคโนโลยี เช่น คุกกี้ (cookies) และเทคโนโลยีที่คล้ายคลึงกันบนเว็บไซต์ของธนาคาร เพื่อสร้างประสบการณ์การใช้งานเว็บไซต์ของท่านให้ดียิ่งขึ้น โปรดอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมที่ นโยบายการใช้คุกกี้ของธนาคาร
การใช้และการจัดการคุกกี้
ธนาคารมีการใช้เทคโนโลยี เช่น คุกกี้ (cookies) และเทคโนโลยีที่คล้ายคลึงกันบนเว็บไซต์ของธนาคาร เพื่อสร้างประสบการณ์การใช้งานเว็บไซต์ของท่านให้ดียิ่งขึ้น โปรดอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมที่ นโยบายการใช้คุกกี้ของธนาคาร
พาสายบุญทำบุญทันใจ สะดวก ง่าย ด้วย e-Donation
ความมีน้ำใจของคนไทยที่แสดงออกด้วยการบริจาคทำบุญสงเคราะห์คนยากไร้ คนที่ขาดแคลนไม่เคยห่างหายไปจากสังคม ซึ่งในยุคที่อะไรก็เปลี่ยนเป็นระบบอิเล็กทรอนิกส์ออนไลน์ โดยจะเห็นจากระบบใหม่ที่มีตัว e นำหน้าเช่น e-Learning , e-Payment ฯลฯ การบริจาคก็ได้เปลี่ยนรูปแบบกลายเป็น e-Donation ไปด้วย มาทำความรู้จัก e-Donation กันให้มากขึ้น แล้วก็บริจาคผ่านระบบ e-Donation แตกต่างจากการบริจาคธรรมดาอย่างไร แล้วทำไมควรบริจาคผ่าน e-Donation
ระบบบริจาค e-Donation คืออะไร
ระบบบริจาคอิเล็กทรอนิกส์ หรือที่เรียนกันว่า e-Donation คือระบบที่กรมสรรพากรพัฒนาขึ้นเพื่อใช้ในการรองรับข้อมูลการรับบริจาคของสถานศึกษา ศาสนสถาน โรงพยาบาล และองค์กรสาธารณกุศลอื่นๆ และอำนวยความสะดวกให้แก่ผู้บริจาคสามารถใช้สิทธิประโยชน์ลดหย่อนภาษีได้โดยไม่ต้องเก็บหลักฐานการบริจาคมาแสดงตอนยื่นแบบฟอร์มภาษีเงินได้ ซึ่งจะช่วยให้ผู้บริจาคได้รับเงินคืนภาษีได้รวดเร็วขึ้น
หน่วยงานใดรับบริจาค e-Donation และบริจาคอย่างไร
ตามรายละเอียดของกรมสรรพากรแล้ว หน่วยรับบริจาคได้แก่ สถานศึกษา ศาสนสถานทุกศาสนา โรงพยาบาล องค์การ สถานสาธารณกุศล* โดยการบริจาคผ่านระบบ e-Donation ทำได้ 2 วิธี ได้แก่
ข้อดีของ e-Donation
สำหรับคนชอบบริจาคทำบุญแล้ว ข้อดีสำคัญของระบบ e-Donation คือ ความสะดวกที่ผู้บริจาคไม่จำเป็นต้องเก็บหลักฐานบริจาคเช่นใบเสร็จรับเงินเอาไว้เพื่อรอยื่นพร้อมแบบภาษีตอนต้นปีถัดไป เพราะบางครั้งก็ทำหาย หรือไม่ก็ลืมว่าเคยบริจาคอะไรไป ด้วยบริการที่ธนาคารนำส่งข้อมูลการบริจาคของบุคคลธรรมดาให้กรมสรรพากร ข้อมูลว่าเราเคยบริจาคให้องค์กรใดจำนวนเท่าไรผ่านระบบ e-Donation ก็จะปรากฏในฐานข้อมูลของกรมสรรพากรอัตโนมัติ โดยเราไม่ต้องเก็บ/ส่งหลักฐานบริจาค และสามารถตรวจสอบข้อมูลการบริจาคได้ตลอด 24 ชั่วโมงบนเว็บไซต์กรมสรรพากร ( www.rd.go.th >บริการอิเล็กทรอนิกส์ > ระบบบริจาคอิเล็กทรอนิกส์ (e-Donation) > สำหรับผู้บริจาค > เข้าสู่ระบบ โดยใช้รหัสผู้ใช้และรหัสผ่านเดียวกับการยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้ผ่านอินเทอร์เน็ต) แล้วยังได้พิจารณาคืนภาษีเร็วขึ้น
ทั้งนี้ นอกจากการบริจาคผ่านหน่วยรับบริจาคตามข้างต้นแล้ว การบริจาคทำนุบำรุงศาสนาวัดวาอาราม ด้วยการทำบุญหยอดเงินใส่ตู้ในวัด ซึ่งก่อนหน้านี้ไม่มีหลักฐานสำหรับใช้สิทธิประโยชน์ภาษี แต่ด้วยระบบ e-Donation การบริจาคโดยใช้ แอป Mobile Banking สแกน QR Code ที่ตู้บริจาคในวัด เงินบริจาคเหล่านี้ก็ได้รับการบันทึกข้อมูลเพื่อนำไปลดหย่อนภาษีได้เช่นกัน
ปัจจุบันวัดต่างๆ ทั้ง
วัดไทย
และ
วัดจีน
ก็มีการติดตั้งแผ่นป้าย QR Code รองรับการบริจาคผ่านระบบ e-Donation ให้เหล่าสายบุญได้ทำบุญทันใจและใช้สิทธิลดหย่อนภาษีได้สะดวกยิ่งขึ้น คราวหน้าถ้าอยากบริจาคทำบุญ แนะนำหยิบมือถือสแกน QR Code ได้ความสุขใจจากการบริจาคและสิทธิทางภาษีพร้อมกันเลยทีเดียว
ในปี 2566 สิทธิการลดหย่อนภาษีในกลุ่มเงินบริจาค สามารถลดหย่อนได้ตามที่จ่ายจริง ไม่เกิน 10% ของรายได้หลักหักค่าลดหย่อนภาษี กรณีบริจาคให้หน่วยงานทางการศึกษา กีฬา พัฒนาสังคม สามารถลดหย่อนได้ 2 เท่าของที่จ่ายจริง ไม่เกิน 10% ของรายได้หลักหักค่าลดหย่อนภาษี
หมายเหตุ .
*องค์การ สถานสาธารณกุศล ที่ได้รับการประกาศให้เป็นองค์กรสาธารณกุศล ตามประกาศ กระทรวงการคลังว่าด้วยภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 2) เรื่อง ก าหนดองค์การ สถานสาธารณกุศล สถานพยาบาลและสถานศึกษา ตามมาตรา 47(7)(ข) แห่งประมวลรัษฎากร และมาตรา 3(4)(ข) แห่งพระราช กฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 239) พ.ศ. 2534 ซึ่ง แก้ไขเพิ่มเติมโดย พระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 254) พ.ศ. 2535
ข้อมูล
https://edonation.rd.go.th/donate/Q&A.pdf
https://www.facebook.com/TaxBugnoms/photos/a.192327474126010/3324210677604325/