ผลการค้นหา "{{keyword}}" ไม่ปรากฎแต่อย่างใด
การใช้และการจัดการคุกกี้
ธนาคารมีการใช้เทคโนโลยี เช่น คุกกี้ (cookies) และเทคโนโลยีที่คล้ายคลึงกันบนเว็บไซต์ของธนาคาร เพื่อสร้างประสบการณ์การใช้งานเว็บไซต์ของท่านให้ดียิ่งขึ้น โปรดอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมที่ นโยบายการใช้คุกกี้ของธนาคาร
การใช้และการจัดการคุกกี้
ธนาคารมีการใช้เทคโนโลยี เช่น คุกกี้ (cookies) และเทคโนโลยีที่คล้ายคลึงกันบนเว็บไซต์ของธนาคาร เพื่อสร้างประสบการณ์การใช้งานเว็บไซต์ของท่านให้ดียิ่งขึ้น โปรดอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมที่ นโยบายการใช้คุกกี้ของธนาคาร
ประกันบำนาญ เหมาะกับใคร ทำแล้วคุ้มหรือไม่?
ประกันชีวิตแบบบำนาญ (Annuity) คือ ประกันชีวิตที่เน้นการออมเงินคล้ายประกันชีวิตแบบสะสมทรัพย์ โดยผู้เอาประกันต้องชำระเงินค่าเบี้ยประกันเป็นระยะเวลาตามที่ระบุไว้ในกรมธรรม์ประกันชีวิตที่ทำไว้ แต่รูปแบบการคืนเงิน จะไม่มีการคืนเงินระหว่างทาง ผู้ถือกรมธรรม์ต้องออมเงินอย่างต่อเนื่องจนถึงอายุเกษียณ (เช่น 55, 60 หรือ 65 ปี แล้วแต่แบบ) และจะได้รับเงินคืนในรูปแบบของเงินบำนาญ จนถึงอายุ 85 หรือ 90 ปี แล้วแต่แบบ
นอกเหนือจากเงินบำนาญที่จะได้รับหลังเกษียณอายุแล้ว ผู้เอาประกันจะได้รับความคุ้มครองเนื่องจากการเสียชีวิต และสามารถนำค่าเบี้ยประกันบำนาญไปลดหย่อนภาษีได้ตามที่กฎหมายกำหนด
ประกันบำนาญเหมาะกับใคร?
ข้อดีของประกันบำนาญ
ข้อจำกัดของประกันบำนาญ
แล้วคุ้มหรือไม่ ที่จะทำประกันบำนาญ
ความคุ้ม ไม่คุ้มขึ้นอยู่กับเป้าหมายทางการเงินของคุณเป็นหลัก โดยก่อนที่คุณจะซื้อสินค้าการเงินประเภทใดก็ตาม คุณต้องถามตัวเองก่อนเสมอว่า คุณต้องการอะไร เป้าหมายการเงินของคุณคืออะไร และความสามารถในการรับความเสี่ยงของคุณเป็นอย่างไร ดังที่ได้กล่าวไปแล้ว ประกันบำนาญเป็นหนึ่งในประกันลดหย่อนภาษี มีไว้เพื่อการวางแผนเกษียณอายุที่เหมาะกับผู้ที่ต้องการรายได้แบบบำนาญที่จ่ายออกมาเป็นจำนวนที่แน่นอน ในระยะเวลาที่แน่นอน พร้อมทั้งได้ความคุ้มครองชีวิตและสิทธิลดหย่อนภาษี และเป็นทางเลือกที่ค่อนข้างเสี่ยงน้อยกว่าทางเลือกอื่นๆ หากคุณมีความต้องการเช่นที่ได้กล่าวไป ประกันบำนาญก็จะตอบโจทย์ความต้องการของคุณได้
ประกันบำนาญไม่ได้ดีกว่าหรือด้อยกว่าตัวเลือกอื่น ทุกอย่างขึ้นอยู่กับเป้าหมายทางการเงินที่คุณวางไว้ เราจึงควรเลือกสินทรัพย์ทางการเงินที่ทำให้สามารถบรรลุและตอบโจทย์ความต้องการทางการเงินของเราให้ได้มากที่สุด สำหรับคนที่รู้และเข้าใจว่าตัวเองต้องการอะไร จะสามารถเลือกสินทรัพย์ทางการเงินที่เหมาะสมกับตัวเองได้ดีที่สุด
บทความโดย : นิภาพันธ์ พูนเสถียรทรัพย์ CFP® นักวางแผนการเงินอิสระ นักเขียนและวิทยากร