ผลการค้นหา "{{keyword}}" ไม่ปรากฎแต่อย่างใด
การใช้และการจัดการคุกกี้
ธนาคารมีการใช้เทคโนโลยี เช่น คุกกี้ (cookies) และเทคโนโลยีที่คล้ายคลึงกันบนเว็บไซต์ของธนาคาร เพื่อสร้างประสบการณ์การใช้งานเว็บไซต์ของท่านให้ดียิ่งขึ้น โปรดอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมที่ นโยบายการใช้คุกกี้ของธนาคาร
การใช้และการจัดการคุกกี้
ธนาคารมีการใช้เทคโนโลยี เช่น คุกกี้ (cookies) และเทคโนโลยีที่คล้ายคลึงกันบนเว็บไซต์ของธนาคาร เพื่อสร้างประสบการณ์การใช้งานเว็บไซต์ของท่านให้ดียิ่งขึ้น โปรดอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมที่ นโยบายการใช้คุกกี้ของธนาคาร
หลังคาโซลาร์เซลล์ใช้เงินเท่าไหร่ พร้อมช่องทางหาเงินติดตั้ง
พลังงานแสงอาทิตย์ เป็นหนึ่งในพลังงานทางเลือกที่น่าสนใจและหลายๆคน ก็นึกถึง แต่เพราะอะไร ในประเทศไทย ซึ่งตั้งอยู่ในแนวเส้นศูนย์สูตร รับพลังจากดวงอาทิตย์ ถึงยังไม่มีการใช้งานแพร่หลายนัก หนึ่งในเหตุผลที่ทำให้คนส่วนใหญ่มองข้ามไป คือ เรื่องของค่าใช้จ่ายของตัวอุปกรณ์ การติดตั้ง และการดูแลรักษา
สำหรับโซลาร์เซลล์ขนาดเล็กตามสนามหญ้าเพื่อให้แสงสว่างยามค่ำคืนนั้น อาจไม่จำเป็นต้องใช้งบประมาณมากมาย วิธีการติดตั้งก็ง่าย เจ้าของบ้านสามารถทำได้เอง แต่ถ้าเป็นระบบโซลาร์เซลล์ที่ติดตั้งบนหลังคา หรือ โซลาร์รูฟ โดยเฉพาะระบบที่มีการเก็บสำรองไฟฟ้าไว้ใช้งาน ถือว่ามีค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูงเลยทีเดียว ซึ่งในปัจจุบันก็มีหลายบริษัทที่รับติดตั้งระบบโซลาร์รูฟแบบครบวงจร หรือแม้กระทั่งในเว็บช้อปปิ้งออนไลน์ก็ยังมีชุดอุปกรณ์วางขายไว้สำหรับผู้ที่ต้องการซื้อไปติดตั้งเอง
ในการติดตั้งระบบหลังคาโซลาร์เซลล์นั้น การพิจารณาเลือกบริษัทที่ให้บริการมีความสำคัญ ไม่ควรดูแค่ปัจจัยเรื่องราคาเท่านั้น เพราะอาจต้องแลกมาด้วยความเสี่ยงเรื่องคุณภาพของอุปกรณ์ที่ไม่ได้มาตรฐาน ความเชี่ยวชาญของช่าง หรือไม่มีบริการหลังการขาย ดังนั้นผู้สนใจจึงควรคำนึงถึงปัจจัยอื่นๆ ประกอบการตัดสินใจด้วย เพราะถือเป็นการลงทุนที่สูงพอสมควร ซึ่งความเหมาะสมของค่าใช้จ่ายต่างๆ นั้นจะขึ้นอยู่กับความต้องการของเรา ระดับคุณภาพของอุปกรณ์ที่ใช้ติดตั้ง ขนาดกำลังการติดตั้ง รูปแบบการติดตั้ง โดยค่าใช้จ่ายเบื้องต้นจะอยู่ตั้งแต่ 80,000 - 100,000 บาทสำหรับระบบ 3 กิโลวัตต์เหมาะกับบ้านขนาดเล็กถึงกลาง ช่วยประหยัดไฟได้เดือนละประมาณ 1,500 บาท สำหรับระบบ 5 กิโลวัตต์ ซึ่งเป็นขนาดที่นิยมสำหรับบ้านขนาดใหญ่ขึ้น หรือโฮมออฟฟิศขนาดเล็กจะอยู่ประมาณ 120,000 - 200,000 บาท ประหยัดไฟได้ประมาณ 2,500 - 3,000 บาทต่อเดือน ส่วนระบบ 10 กิโลวัตต์ จะอยู่ประมาณ 250,000 - 350,000 บาท ช่วยประหยัดไฟได้ถึง 6,000 บาทต่อเดือน ซึ่งจะเห็นได้ว่าค่าใช้จ่ายต่อกิโลวัตต์ ยิ่งมากขึ้นก็จะยิ่งถูกลง แต่ทั้งนี้ก็จำเป็นต้องดูขนาดพื้นที่หลังคาสำหรับการติดตั้ง และวัตถุประสงค์ของการใช้งานควบคู่กันไปด้วย
สำหรับผู้ที่สนใจจะติดตั้งพลังงานทางเลือกอย่างโซลาร์เซลล์ หลังจากที่บริษัทผู้ให้บริการประเมินราคาค่าใช้จ่ายให้แล้ว ก็ต้องมาพิจารณาเงินในกระเป๋าตัวเองหรืองบประมาณที่จะใช้การติดตั้งด้วยว่า มีเพียงพอหรือไม่ ตลอดจนค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษานั้นสามารถมาจากแหล่งใดได้บ้าง
1. สำหรับคนมีเงินเก็บ - หากเรามีบ้านของตัวเอง และพร้อมจะติดตั้ง แถมยังมีเงินก้อนที่ไม่ได้วางแผนว่าจะใช้ทำอะไรนอนรออยู่ในบัญชีนานแล้ว อาจเจียดเงินก้อนนี้ออกมาใช้ลงทุนติดตั้งโซลาร์เซลล์ก็ได้ ซึ่งจะมีข้อดีคือ เจ้าของบ้านจะไม่ต้องเสียดอกเบี้ย และไม่ต้องมีภาระหนี้สินผูกพันด้วย
2. สำหรับคนที่มีบ้าน หรือที่ดิน แต่ไม่มีเงินก้อน - หากบ้านของเรานั้น เป็นบ้านปลอดภาระ ไม่ต้องผ่อนอะไรต่อ และกำลังพิจารณาการต่อเติม ซ่อมแซม รวมถึงติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์ เพื่อสร้างพลังงานไว้ใช้ในระยะยาว “สินเชื่อบ้านคือเงิน” เป็นทางเลือกที่น่าสนใจ เพียงนำบ้านหรือที่ดินมาเป็นหลักประกันกับธนาคาร ซึ่งจะได้วงเงินสูง ดอกเบี้ยถูก มีเงินก้อนไปใช้ได้ตามวัตถุประสงค์ ที่สำคัญคือ ยังมีบ้านให้อยู่เหมือนเดิม รายละเอียดเพิ่มเติมดูได้ที่ https://www.scb.co.th/th/personal-banking/loans/home-loans/my-home-my-cash.html
3. สำหรับลูกค้าสินเชื่อบ้านของธนาคาร - หากเรายังคงผ่อนบ้านอยู่ โดยผ่อนชำระตรงกำหนดไม่เคยขาดมาอย่างน้อย 2 ปีแล้ว ก็สามารถยื่นขอกู้เพิ่มกับธนาคารได้ โดยคำนวณจากวงเงินที่ได้ผ่อนชำระไปแล้ว ซึ่งเราสามารถผ่อนชำระในอัตราเดิมได้ แต่ระยะเวลาผ่อนนานขึ้นตามวงเงินที่ขอเพิ่มมา สนใจ “สินเชื่อบ้านได้เพิ่ม” สามารถดูรายละเอียดได้ที่ https://www.scb.co.th/th/personal-banking/loans/home-loans/top-up.html
4. สำหรับคนที่มองหาบ้านใหม่ หรือบ้านมือสอง และสนใจติดตั้งโซลาร์เซลล์เลย - ถึงแม้บางธนาคารจะอนุมัติวงเงินให้ 100% แต่กรณีนี้ก่อนยื่นขอสินเชื่อที่อยู่อาศัย แนะนำให้แจ้งความจำนงกับธนาคาร เพื่อขอวงเงินเพิ่มเติมสำหรับการติดตั้งไปพร้อมกัน จะได้ไม่ต้องเสียเวลาติดต่อใหม่ในภายหลัง สำหรับดอกเบี้ยนั้นมีให้เลือกทั้งแบบคงที่ และแบบลอยตัว สามารถดูรายละเอียดได้ที่
https://www.scb.co.th/th/personal-banking/loans/home-loans/scb-new-loan.html
การลงทุนกับที่อยู่อาศัยถือเป็นการลงทุนในระยะยาว ภาระผูกพันนาน ดังนั้นควรศึกษาข้อมูลต่างๆ ให้ละเอียดก่อนทุกครั้ง