ผลการค้นหา "{{keyword}}" ไม่ปรากฎแต่อย่างใด
การใช้และการจัดการคุกกี้
ธนาคารมีการใช้เทคโนโลยี เช่น คุกกี้ (cookies) และเทคโนโลยีที่คล้ายคลึงกันบนเว็บไซต์ของธนาคาร เพื่อสร้างประสบการณ์การใช้งานเว็บไซต์ของท่านให้ดียิ่งขึ้น โปรดอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมที่ นโยบายการใช้คุกกี้ของธนาคาร
การใช้และการจัดการคุกกี้
ธนาคารมีการใช้เทคโนโลยี เช่น คุกกี้ (cookies) และเทคโนโลยีที่คล้ายคลึงกันบนเว็บไซต์ของธนาคาร เพื่อสร้างประสบการณ์การใช้งานเว็บไซต์ของท่านให้ดียิ่งขึ้น โปรดอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมที่ นโยบายการใช้คุกกี้ของธนาคาร
เทคนิคการเลือกสินเชื่อบ้านให้เหมาะสมกับตนเอง
การซื้อบ้าน คอนโดฯ เพื่ออยู่อาศัย คือ ฝันของใครหลายๆ คน เนื่องจากที่อยู่อาศัยเป็นหนึ่งในปัจจัยสี่ ที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิต เมื่อเลือกแบบบ้านได้ตรงใจของเราแล้ว จะซื้อบ้านได้ ส่วนใหญ่ก็จะขอสินเชื่อเพื่อซื้อที่อยู่อาศัย จึงมีคำถามในใจก่อนตัดสินใจซื้อบ้าน คือ จะเลือกสินเชื่อบ้านอย่างไรให้เหมาะกับตนเอง ซึ่งมีปัจจัยที่เกี่ยวข้องดังนี้
1. อัตราดอกเบี้ย
อัตราดอกเบี้ยของสถาบันการเงินจะมี 2 ประเภท คือ
เทคนิคการเลือกอัตราดอกเบี้ยให้เหมาะสมกับตนเอง
2. ยอดผ่อนชำระในแต่ละงวด
เน้นผ่อนหนี้ให้หมดเร็ว ควรเลือกยอดผ่อนชำระสูง เพื่อเพิ่มยอดชำระเงินต้นให้มากขึ้น ข้อควรระวัง คือ เมื่อตกลงจะผ่อนชำระรายเดือนในอัตราสูง เพื่อให้หนี้หมดเร็วแล้ว หากจะเปลี่ยนใจลดอัตราผ่อนชำระรายเดือนลง จะทำได้ยากขึ้น เนื่องจากในสัญญาระบุยอดไว้แล้ว
เน้นผ่อนน้อยๆ ควรเลือกยอดผ่อนชำระน้อยๆ เพื่อเพิ่มสภาพคล่องในแต่ละเดือนได้ เหมาะกับนักลงทุนที่เน้นนำค่าเช่ามาเป็นยอดผ่อนชำระรายเดือน เพื่อไม่เป็นภาระผ่อนสำหรับนักลงทุนมากเกินไป ข้อควรระวัง หากไม่มีผู้เช่า ยอดผ่อนชำระน้อยๆ แสดงว่าจะชำระเงินต้นน้อยเช่นกัน
เทคนิคการเลือกยอดผ่อนชำระให้เหมาะสมกับตนเอง
3. วงเงินกู้ 100% มีจริงหรือ
อีกปัจจัยในเลือกสินเชื่อ คือ วงเงินกู้ โดยทั่วไปผู้ขอสินเชื่อต้องการได้สินเชื่อเต็มวงเงินราคาที่ซื้อขาย 100% แต่จากเกณฑ์ของธนาคารแห่งประเทศไทย ให้สถาบันการเงินปล่อยวงเงินกู้ได้ที่ 80-95% ของราคาซื้อขายหรือราคาประเมิน (แล้วแต่ราคาใดจะต่ำกว่า) ซึ่งส่งผลให้ดอกเบี้ยที่จ่ายให้สถาบันการเงิน ด้วยวงเงินส่วนนี้จะสามารถนำไปลดหย่อนภาษี (ดอกเบี้ยเพื่อการซื้อที่อยู่อาศัย) จำนวนไม่เกิน 100,000 บาทได้ ในขณะที่วงเงินส่วนที่เหลือจะเป็นสินเชื่ออเนกประสงค์ ซึ่งดอกเบี้ยจ่ายจะไม่สามารถนำมาลดหย่อนภาษีเพื่อซื้อที่อยู่อาศัยได้
เทคนิคการเลือกวงเงินให้เหมาะสมกับตนเอง
นอกจากการขอสินเชื่อกับสถาบันการเงินแล้ว ยังมีทางเลือกสำหรับสมาชิกสหกรณ์ออมทรัพย์ขององค์กรต่างๆ ซึ่งอาจจะมีอัตราดอกเบี้ยที่แตกต่างจากสถาบันการเงินแล้ว จะได้ประโยชน์จากส่วนแบ่งกำไรในรูปของเงินปันผลจากสหกรณ์ด้วย มีสมาชิกสหกรณ์หลายคนมักใช้วิธีขอสินเชื่อเพื่อนำเงินที่ลงทุนในหุ้นสหกรณ์ออกมาใช้ก่อน และยินยอมชำระส่วนต่างของอัตราดอกเบี้ยกับเงินปันผลที่ได้รับจากสหกรณ์
อย่างไรก็ตาม การเลือกและบริหารจัดการสินเชื่อเป็นส่วนหนึ่งของการบริหารหนี้สิน เราต้องไม่ลืมบริหารจัดการสภาพคล่องด้วย ควรเตรียมเงินสำรองเผื่อฉุกเฉินอย่าง 3-6 เดือน เผื่อกรณีขาดรายได้ก็ยังผ่อนชำระได้ตามปกติ
โดยสรุป การเลือกสินเชื่อให้เหมาะสมกับตนเอง ควรเลือกจากวัตถุประสงค์ในการใช้เงิน สภาพคล่องในการดำรงชีวิต และแผนการเงินด้านอื่นๆ นำมาประกอบการตัดสินใจอีกครั้งด้วย
บทความโดย
กิตติคุณ สิวะสรรค์กุล นักวางแผนการเงิน CFP®
ขอบคุณข้อมูลจากสมาคมนักวางแผนการเงินไทย
http://www.tfpa.or.th
ที่มา: นิตยสาร Money & Wealth ฉบับเดือนตุลาคม 2561