ผลการค้นหา "{{keyword}}" ไม่ปรากฎแต่อย่างใด
การใช้และการจัดการคุกกี้
ธนาคารมีการใช้เทคโนโลยี เช่น คุกกี้ (cookies) และเทคโนโลยีที่คล้ายคลึงกันบนเว็บไซต์ของธนาคาร เพื่อสร้างประสบการณ์การใช้งานเว็บไซต์ของท่านให้ดียิ่งขึ้น โปรดอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมที่ นโยบายการใช้คุกกี้ของธนาคาร
การใช้และการจัดการคุกกี้
ธนาคารมีการใช้เทคโนโลยี เช่น คุกกี้ (cookies) และเทคโนโลยีที่คล้ายคลึงกันบนเว็บไซต์ของธนาคาร เพื่อสร้างประสบการณ์การใช้งานเว็บไซต์ของท่านให้ดียิ่งขึ้น โปรดอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมที่ นโยบายการใช้คุกกี้ของธนาคาร
ค่าธรรมเนียมโอนที่ดิน ควรรู้ก่อนซื้อขายอสังหาริมทรัพย์
การลงทุนในอสังหาริมทรัพย์เป็นอีกหนึ่งการลงทุนทางเลือกที่น่าสนใจ ไม่ว่าจะเป็นแบบซื้อมาเพื่อปล่อยเช่า หรือเพื่อการเก็งกำไร โดยคาดหวังว่าจะได้ส่วนต่างกำไรจากราคาอสังหาริมทรัพย์ที่ซื้อมาและขายไป อย่างไรก็ตามการขายอสังหาริมทรัพย์ย่อมมีภาระภาษี ค่าใช้จ่ายและค่าธรรมเนียมต่างๆ มาเกี่ยวข้องเสมอ โดยบทความนี้จะเล่าให้ฟังว่า ในกรณีที่เป็นบุคคลธรรมดา หากขายอสังหาริมทรัพย์จะต้องเสียภาษี ค่าใช้จ่ายและค่าธรรมเนียมอะไรบ้าง
หากอสังหาริมทรัพย์นั้น ได้รับมาโดยทางมรดก หรือ รับจากการให้โดยเสน่หาให้หักค่าใช้จ่ายได้ ร้อยละ 50
จำนวนปีที่ถือครองนั้นจะนับตามปีบัญชี โดยหนึ่งปีจะเริ่มนับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคมไปจนถึง 31 ธันวาคมของปีเดียวกัน การซื้อขายภายในปีเดียวกันนับเป็นการถือครอง 1 ปี หากครอบครองตั้งแต่เดือนธันวาคมปีนี้ถึงมีนาคมปีหน้าก็ให้นับเป็นถือครอง 2 ปี
กรณีการขายอสังหาริมทรัพย์ที่ได้มาโดยมิได้มุ่งค้ากำไร ภาษีที่คำนวณหัก ณ ที่จ่าย สูงสุดต้องไม่เกินร้อยละ 20 ของราคาขาย แต่หากเป็นกรณีขายโดยมุ่งค้ากำไร จะไม่มีการจำกัดเพดานภาษี นอกจากนี้การขายอสังหาริมทรัพย์ที่ตั้งอยู่นอกเขตกรุงเทพมหานคร เทศบาล สุขาภิบาล หรือ เมืองพัทยา ยังได้รับยกเว้น 200,000 บาทก่อน เหลือเท่าใดจึงนำไปคำนวณหักค่าใช้จ่าย
ตัวอย่างวิธีคำนวณภาษีเงินได้
นายมั่งคั่งได้ซื้อที่ดินมาเดือนมิถุนายน 2555 และขายไปเมื่อเดือน มกราคม 2562 ในราคา 4,000,000 บาท
* การคำนวณภาษีจากการขายอสังหาริมทรัพย์ ไม่ได้รับยกเว้นสำหรับเงินได้สุทธิ 0 - 150,000 บาทแรก
** การนับจำนวนปีในการถือครองอสังหาริมทรัพย์ เศษของปี ให้นับเป็น 1 ปี และหากถือครองเกิน 10 ปี ให้นับเพียง 10 ปี ทั้งนี้รายได้จากการขายอสังหาริมทรัพย์ที่ไม่ได้มุ่งค้ากำไร ผู้มีเงินได้มีสิทธิ์เลือกที่จะเสียภาษีตามจำนวนที่ถูกหัก ณ ที่จ่ายไว้ โดยไม่ต้องนำไปรวมคำนวณภาษีกับรายได้อื่นตามปกติได้
จากตัวอย่างการซื้อขายที่ดินข้างต้น จะมีค่าใช้จ่ายทั้งหมด ดังนี้
บทความโดย : นิภาพันธ์ พูนเสถียรทรัพย์ CFP® นักวางแผนการเงินอิสระ นักเขียนและวิทยากร