ผลการค้นหา "{{keyword}}" ไม่ปรากฎแต่อย่างใด
การใช้และการจัดการคุกกี้
ธนาคารมีการใช้เทคโนโลยี เช่น คุกกี้ (cookies) และเทคโนโลยีที่คล้ายคลึงกันบนเว็บไซต์ของธนาคาร เพื่อสร้างประสบการณ์การใช้งานเว็บไซต์ของท่านให้ดียิ่งขึ้น โปรดอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมที่ นโยบายการใช้คุกกี้ของธนาคาร
การใช้และการจัดการคุกกี้
ธนาคารมีการใช้เทคโนโลยี เช่น คุกกี้ (cookies) และเทคโนโลยีที่คล้ายคลึงกันบนเว็บไซต์ของธนาคาร เพื่อสร้างประสบการณ์การใช้งานเว็บไซต์ของท่านให้ดียิ่งขึ้น โปรดอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมที่ นโยบายการใช้คุกกี้ของธนาคาร
หุ้นคุณค่ากับหุ้นเติบโต ต่างกันอย่างไร
หากพูดถึงการลงทุนในหุ้น ก่อนที่นักลงทุนจะตัดสินใจซื้อหุ้นมักมี 2 เหตุผลนั่นคือ เชื่อว่าราคาหุ้นจะปรับขึ้นสูงกว่าวันที่ซื้อ และหุ้นที่ซื้อนั้นจะจ่ายเงินปันผลได้อย่างสม่ำเสมอ โดยนักลงทุนที่สามารถสร้างผลตอบแทนได้ตามเป้าหมายที่วางเอาไว้ มีปัจจัยสำคัญประการหนึ่งคือ มีความเข้าใจลักษณะพื้นฐานและความเสี่ยงของหุ้นนั้น ๆ เป็นอย่างดี โดยประเภทของหุ้นที่ถูกกล่าวถึงมากที่สุด ได้แก่ หุ้นคุณค่า (Value Stock) และหุ้นเติบโต (Growth Stock)
หุ้นคุณค่า (Value Stock)
เป็นหุ้นที่รู้จักของนักลงทุนโดยทั่วไปว่าเป็น “หุ้นดี ราคาถูก” มีปัจจัยพื้นฐานแข็งแกร่ง โดยความโดดเด่นทั่วไปก็คือ เป็นธุรกิจที่มีความมั่นคง ผลการดำเนินงานเติบโตสม่ำเสมอ มีกระแสเงินสดและอัตราเงินปันผลอยู่ในระดับสูง
สำหรับเกณฑ์ที่ใช้ตัดสินใจว่าหุ้นตัวไหนเป็นหุ้นคุณค่า ให้พิจารณา ดังนี้
1.อัตราการจ่ายเงินปันผล (High Dividend Yield) สูงกว่าค่าเฉลี่ยของตลาดหรือกลุ่มอุตสาหกรรมเดียวกัน***
2.อัตราส่วนราคาตลาดต่อกำไรต่อหุ้น (P/E Ratio) ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยของตลาดหรือกลุ่มอุตสาหกรรมเดียวกัน หุ้นลักษณะนี้จะมีผลการดำเนินงานต่ำกว่าหุ้นในกลุ่มเดียวกันหรือต่ำกว่าที่ตลาดคาดการณ์***
3.มูลค่าทางบัญชีต่อหุ้น (P/BV Ratio) ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยของตลาดหรือกลุ่มอุตสาหกรรมเดียวกัน***
หุ้นเติบโต (Growth Stock)
โดยส่วนใหญ่หุ้นเติบโตจะมีลักษณะตรงข้ามกับหุ้นคุณค่านั่นคือ มีความโดดเด่นทางด้านการดำเนินงาน (ขยายธุรกิจและใช้เงินลงทุนสูง) จึงเป็นที่รู้จักของนักลงทุนทั่วไปว่า “หุ้นดี ราคาแพง” มีกระแสเงินสดและอัตราเงินปันผลอยู่ในระดับต่ำ หรือบางบริษัทจะไม่จ่ายเงินปันผล ซึ่งเกณฑ์ที่ใช้ตัดสินใจว่าหุ้นตัวไหนเป็นหุ้นเติบโต ให้พิจารณาจาก
1.อัตราการจ่ายเงินปันผล (Low Dividend Yield) ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยของตลาดหรือของกลุ่มอุตสาหกรรมเดียวกัน เนื่องจากธุรกิจต้องสำรองเงินทุนหมุนเวียนสำหรับขยายธุรกิจ***
2.หุ้นที่มีการซื้อขายที่มีอัตราส่วนราคาตลาดต่อกำไรต่อหุ้น (P/E Ratio) สูงกว่าค่าเฉลี่ยของตลาดหรือของกลุ่มอุตสาหกรรมเดียวกัน เนื่องจากมียอดขายและความสามารถในการทำกำไรที่ดี ทำให้นักลงทุนยินดีที่จะซื้อหุ้นในราคาแพง***
3.หุ้นที่มีมูลค่าทางบัญชีต่อหุ้น (P/BV Ratio) สูงกว่าค่าเฉลี่ยของตลาดหรือของกลุ่มอุตสาหกรรมเดียวกัน***
หุ้นทั้ง 2 ประเภท เหมาะกับใคร
สำหรับกลยุทธ์การลงทุนหุ้นทั้งสองประเภท หากเป็นนักลงทุนที่มีสไตล์การลงทุนระยะยาว (เช่น 3 ปี, 5 ปี) เน้นรับเงินปันผลก็จะลงทุนหุ้นคุณค่าเป็นหลัก ขณะที่นักลงทุนสไตล์ลงทุนระยะสั้น (เช่น ต่ำกว่า 1 ปี) และมีเป้าหมายทำกำไรจากส่วนต่างราคาหุ้น (Capital gain) จะเลือกหุ้นเติบโตเป็นหลัก
อย่างไรก็ตาม การลงทุนระยะยาวในตลาดหุ้นจะมีโอกาสประสบความสำเร็จสูง หรืออีกนัยยะก็คือ ลดความสูญเสียลงไปได้ ตัวอย่าง งานวิจัยของ Fama and French ชื่อ The cross-section of expected stock returns ซึ่งตีพิมพ์ในวารสาร Journal of Finance ปี 1992
งานวิจัยดังกล่าวให้ความสำคัญกับอัตราส่วน P/E Ratio และ P/BV Ratio ที่มีผลต่อผลตอบแทนของหุ้นในตลาดหุ้นสหรัฐอเมริกา โดยศึกษาระหว่างปี 1963 - 1990 ได้ทำการแบ่งหุ้นออกเป็น 10 กลุ่ม ตามค่า P/E Ratio และ P/BV Ratio จากหุ้นที่มีค่าดังกล่าวน้อยไปหามาก จากนั้นทำการคำนวณหาค่าผลตอบแทนในอนาคตของหุ้นทั้ง 10 กลุ่ม
ผลจากการศึกษา พบว่าหุ้นกลุ่มที่มีค่า P/E Ratio และ P/BV Ratio ต่ำที่สุดคือ หุ้นคุณค่า โดยให้ผลตอบแทนเฉลี่ย 21 - 23% ต่อปี ส่วนหุ้นกลุ่มที่มีค่า P/E Ratio และ P/BV Ratio สูงที่สุดก็คือ หุ้นเติบโต ให้ผลตอบแทนเฉลี่ย 7 - 12% ต่อปี
นอกจากนี้ งานวิจัยของ Fama and French ยังทำการศึกษาตลาดหุ้นทั่วโลกอีก 12 แห่ง เพื่อดูผลตอบแทนของหุ้นคุณค่าและหุ้นเติบโต โดยให้ความสำคัญกับค่า P/E Ratio, P/BV Rati และเงินปันผลพบว่าในช่วงปี 1975 – 1995 ผลตอบแทนหุ้นคุณค่าอยู่ในระดับสูงกว่าหุ้นเติบโตและสูงกว่าผลตอบแทนตลาดหุ้นโดยรวมในทุกประเทศ
สำหรับจังหวะของการลงทุนระหว่างหุ้นคุณค่าและหุ้นเติบโต มีข้อสังเกตว่านักลงทุนประเภทหุ้นคุณค่าจะลงทุนหุ้นคุณค่าก่อน เพื่อรับผลตอบแทนในรูปเงินปันผล และเมื่อบริษัทเริ่มมีผลประกอบการดีขึ้น จะทำให้นักลงทุนที่เน้นหุ้นเติบโตเริ่มเข้ามาลงทุน ในขณะที่นักลงทุนหุ้นคุณค่าเริ่มประเมินว่าราคาหุ้นเริ่มแพงก็จะทยอยขายหุ้น
เช่นเดียวกันหากบริษัทนั้นเริ่มมีความแข็งแกร่งขึ้น อัตราการเติบโตของยอดขายและกำไรเริ่มลดลง นักลงทุนที่เน้นหุ้นเติบโตจะเริ่มทยอยขายหุ้นเพื่อทำกำไรจากส่วนต่างของราคา ก็จะเป็นจังหวะที่นักลงทุนหุ้นคุณค่าจะเข้ามาลงทุนแทน
ปัจจุบัน ไม่มีสูตรสำเร็จตายตัวว่านักลงทุนที่เน้นหุ้นคุณค่าแล้วจะสร้างผลตอบแทนมากกว่าหรือการเน้นหุ้นเติบโตเข้าพอร์ตลงทุนจะประสบความสำเร็จมากกว่า เพราะการคัดเลือกประเภทหุ้นเป็นเพียงปัจจัยหนึ่งเท่านั้น ดังนั้น ก่อนตัดสินใจเลือกหุ้นต้องพิจารณาปัจจัยอื่นๆ ประกอบ เช่น วิเคราะห์ภาพรวมเศรษฐกิจ วิเคราะห์อุตสาหกรรม วิเคราะห์บริษัท การประเมินมูลค่าหุ้น รวมถึงการเลือกหุ้นให้เหมาะกับสไตล์การลงทุนของตัวเอง
หมายเหตุ
1.ข้อมูลอัตราส่วนทางการเงินรายบริษัท เช่น P/E Ratio, P/BV Ratio สามารถดูได้ที่เว็บไซต์ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ( www.set.or.th ) ซึ่งจะมีข้อมูลล่าสุด และ 5 ปีย้อนหลัง
2.เกณฑ์ที่ใช้ตัดสินใจว่าหุ้นตัวไหนเป็นหุ้นคุณค่าหรือหุ้นเติบโต ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้จาก
www.set.or.th/education/th/begin/stock_content08.pdf