คู่รักข้าวใหม่ปลามัน จัดการเงินอย่างไร ให้แฟร์สุดๆ

การบริหารเงินในครอบครัวเป็นศาสตร์และศิลป์ที่คู่รักต้องคิด และตกลงให้ได้ก่อนใช้ชีวิตคู่ร่วมกัน แต่ว่าแนวตัดสินใจเรื่องเงินๆ ทองๆ ของเราจะไปด้วยกันได้หรือไม่กับคู่ของเรา จึงต้องมีการตั้งคำถามให้คู่รักลองตอบกันก่อนบริหารจัดการการเงินในครอบครัว

5 คำถาม ที่ทุกคู่ต้องตอบก่อนบริหารจัดการการเงินในครอบครัว

คำถามที่ 1 เราทั้งคู่ได้จดทะเบียนสมรสเพื่อรวมสินสมรสกันหรือไม่
คำตอบ

A. ไม่จดทะเบียนสมรส

B. จดทะเบียนสมรส

C. จดทะเบียนสมรส แต่ทำสัญญาแยกการจัดการสินสมรส

คำถามที่ 2 เรามีรายได้ต่างกันมากน้อยเท่าไหร่
คำตอบ

A. ฉันมีรายได้ต่อปีมากกว่าเธอ 3 เท่าขึ้นไป

B. ฉันมีรายได้ต่อปีน้อยกว่าเธอประมาณ 3 เท่า

C. ฉันมีรายได้ต่อปีพอๆ กับเธอ ต่างกันไม่เกิน 3 เท่า

คำถามที่ 3 ถ้าเราทั้งคู่คิดวางแผนจะซื้อบ้าน/คอนโดอยู่กัน ฉันจะทำแบบใด
คำตอบ

A. ฉันจะรับผิดชอบซื้อบ้านด้วยเงินของฉันทั้งหมด ฉันจะผ่อนเอง

B. ฉันจะให้คู่ครองของฉันเป็นคนซื้อและจ่ายค่าผ่อน

C. ฉันและคู่ครองคิดว่าจะแบ่งกันจ่ายค่าบ้านคนละครึ่ง และทุกเดือนจะผ่อนกันคนละครึ่ง

คำถามที่ 4 เราทั้งคู่คิดเกี่ยวกับการมีลูกแบบนี้
คำตอบ

A. อยากมีลูก ค่าเลี้ยงดูส่วนใหญ่ฉันจะรับผิดชอบเอง

B. ไม่อยากมีลูก หรือถ้ามีลูก ฉันจะให้คู่ครองของฉันรับผิดชอบเรื่องค่าใช้จ่าย

C. อยากมีลูก เราสองคนจะช่วยรับผิดชอบค่าใช้จ่ายเลี้ยงดูกันคนละครึ่ง

คำถามที่ 5 เธอกับฉัน ใครถนัดทำงานบ้าน ดูแลบ้าน เลี้ยงลูก มากกว่ากัน
คำตอบ

A. เธอ

B. ฉัน

C. ไม่ถนัดพอๆ กัน หรือถนัดพอๆ กัน

แนวทางการบริหารจัดการเงินในครอบครัวควรเป็นอย่างไร


ให้ดูว่าส่วนใหญ่เราตอบข้อ A, B หรือ C

  • ถ้าตอบ A มากกว่า แนวทางที่เหมาะคือ 4
  • ถ้าตอบ B มากกว่า แนวทางที่เหมาะคือ 2 และ 3
  • ถ้าตอบ C มากกว่า แนวทางที่เหมาะสมคือ 1
  • ถ้าคำตอบดูคละๆ กัน แต่ค่อนไปทางข้อ A และ C แนวทางที่เหมาะคือ 1 และ 4

แนวทางที่ 1 Half Money - Half Doing ฉันและเธอออกเงินกองกลางเท่าๆ กัน และแบ่งงานทำเท่ากัน

เหมาะสำหรับ:

  • คู่ครองที่มีรายได้ใกล้เคียงกัน
  • มีความสามารถทุกด้านโดยรวมพอๆ กัน
  • มีเวลาให้ครอบครัวได้พอๆ กัน


วิธีจัดการเงินที่แนะนำ:

  • กำหนดงบประมาณรายจ่ายต่อเดือน
  • จ่ายเงินเข้ากองกลางในอัตรา 50:50 จำนวนเงินควรจะเท่ากันทุกเดือน หรือจะใช้วิธีสลับกันจ่ายเต็มๆ คนละเดือนก็ได้
  • เงินกองกลางประกอบไปด้วยค่าอยู่ ค่ากิน ค่าเลี้ยงลูก ค่าเงินออมเพื่อครอบครัว ค่าเดินทาง แต่ค่าบันเทิงส่วนตัวควรแยกกัน
  • เงินกองกลางที่ตั้งใจเก็บไว้เพื่อการศึกษาลูก ควรเก็บไว้ในบัญชีเงินฝากประจำหรือเงินฝากระยะยาวแต่ละเดือนก็ช่วยกันฝากเข้าไป ดอกเบี้ยจะได้เยอะกว่าฝากออมทรัพย์ธรรมดา

แนวทางที่ 2 Less Money, More Doing ฉันออกเงินน้อยกว่า แต่ลงแรงมากกว่าเธอ


เหมาะสำหรับ:

  • คนที่มีรายได้น้อยกว่าคู่ครอง
  • มีเวลาให้ครอบครัว
  • เก่งงานบ้านงานเรือน


วิธีจัดการเงินที่แนะนำ:

  • ลงเงินกองกลางในอัตราส่วนที่น้อยกว่าอีกคน ในอัตรา 40:60 (หรือ 20:80 แล้วแต่ตกลงกัน)
  • ควรนำเงินที่ไม่ได้จ่ายกองกลางไปออมเพื่อลูกมากขึ้น

แนวทางที่ 3 No Money, Doing Only ฉันไม่ต้องออกเงิน ฉันลงแรงล้วนๆ เธอลงเงินอย่างเดียว

ฉันไม่ต้องออกเงิน ฉันลงแรงล้วนๆ เธอลงเงินอย่างเดียว


เหมาะสำหรับ:

  • ชอบทำงานบ้าน
  • มีเวลาเยอะ บางคนอาจ work at home


วิธีจัดการเงินที่แนะนำ:

  • ควรหารายได้เสริมที่ไม่เครียดเอามาทำที่บ้านไปด้วย
  • เพื่อป้องกันความเสี่ยงการขาดรายได้หลังการเลิกราในอนาคต ควรจะออมเงินเพื่อตัวเองไว้ด้วย

แนวทางที่ 4 Pay All, None Doing ฉันออกเงินทุกอย่างในบ้าน เธอลงแรงลุยเดี่ยว


เหมาะสำหรับ:

  • คนที่มีรายได้สูงกว่าคู่ครองมาก
  • งานยุ่ง มีเวลาให้ครอบครัวน้อย


วิธีจัดการเงินที่แนะนำ:

  • ออมมากขึ้น อาจมีการออมในรูปแบบของการลงทุนในกองทุนรวมเพื่อให้เงินทำงานแทนเรา ในอนาคตจะได้มีเวลากับครอบครัวมากขึ้น เช่น ออมทุกเดือนในกองทุนรวมตราสารหนี้หรือตราสารทุน


ลองเอาแนวทางจัดการเงินทองในบ้านที่แนะนำมานี้ไปคุยกับคู่ครองของเราดูว่า สุดท้ายแล้วเราจะทำแบบไหนดี สามีภรรยาก็คือเพื่อนคู่คิด ช่วยกันคิดช่วยกันปรับ เพื่อให้ได้สิ่งที่เหมาะสมที่สุดสำหรับครอบครัวของเรา