ผลการค้นหา "{{keyword}}" ไม่ปรากฎแต่อย่างใด
การใช้และการจัดการคุกกี้
ธนาคารมีการใช้เทคโนโลยี เช่น คุกกี้ (cookies) และเทคโนโลยีที่คล้ายคลึงกันบนเว็บไซต์ของธนาคาร เพื่อสร้างประสบการณ์การใช้งานเว็บไซต์ของท่านให้ดียิ่งขึ้น โปรดอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมที่ นโยบายการใช้คุกกี้ของธนาคาร
การใช้และการจัดการคุกกี้
ธนาคารมีการใช้เทคโนโลยี เช่น คุกกี้ (cookies) และเทคโนโลยีที่คล้ายคลึงกันบนเว็บไซต์ของธนาคาร เพื่อสร้างประสบการณ์การใช้งานเว็บไซต์ของท่านให้ดียิ่งขึ้น โปรดอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมที่ นโยบายการใช้คุกกี้ของธนาคาร
รู้จักจุดแข็ง-จุดอ่อนของกลยุทธ์การลงทุนตัวเองด้วย Performance Attribution
สำหรับการลงทุนในตลาดหุ้นนั้น นอกจากการศึกษาหาความรู้ก่อนที่จะลงทุน และติดตามข่าวสาร หรือการหาเทคนิคในการเลือกหุ้นที่จะลงทุนแล้วนั้น สิ่งที่สำคัญไม่แพ้กันก็คือ การทบทวนพอร์ตการลงทุน (Review) เพื่อที่เราจะได้เห็นว่า กลยุทธ์การลงทุนที่ผ่านมาทำได้ดีหรือไม่
โดยการรีวิวพอร์ตการลงทุนนั้นไม่ได้ดูว่าเราได้กำไรมาก-น้อยหรือไม่เพียงอย่างเดียว แต่เราควรดูถึงที่มาของผลตอบแทนด้วย โดยเราสามารถวิเคราะห์องค์ประกอบผลตอบแทน (Performance Attribution) อย่างง่ายได้จาก 2 ปัจจัย คือ การที่เราเลือกหุ้นได้ดี (Selection Effect) หรือเราจัดสรรน้ำหนักในการลงทุนได้อย่างเหมาะสม (Allocation Effect)
ปัจจัยด้าน Selection Effect นั้นจะสามารถบอกว่าหุ้นหรือสินทรัพย์ที่เราเลือกลงทุนไป ให้ผลตอบแทนที่ดีกว่าตัวชี้วัด หรือ Benchmark หรือไม่ เช่น นักลงทุน A ได้ลงทุนในหุ้นสหรัฐฯ ได้ผลตอบแทน 10% แต่ลงทุนในหุ้นไทยขาดทุน -2% โดยทั่วไปก็อาจมองว่าลงทุนในหุ้นสหรัฐฯ เก่งกว่า เพราะได้กำไรจากการลงทุน
แต่หากเรามาดูผลตอบแทนของ Benchmark ประกอบด้วย จะพบว่า SET Index ให้ผลตอบแทนขาดทุนอยู่ที่ – 7% ซึ่งการที่นักลงทุนได้ผลตอบแทน -2% แสดงให้เห็นว่า นักลงทุน A มีความสามารถในการเลือกหุ้นที่ดีกว่าดัชนี ในทางกลับกัน ผลตอบแทนจากการลงทุนของหุ้นสหรัฐฯ ทำได้เพียง 10% ในขณะที่ S&P 500 Index ให้ผลตอบแทน 15% แสดงว่านักลงทุน A เลือกหุ้นสหรัฐฯ ได้ไม่ดีนัก การที่เรานำวิธีดังกล่าวมาวิเคราะห์ จะทำให้เรามองฝีมือในการเลือกหุ้นของนักลงทุน A ผิดไป โดยสิ่งที่นักลงทุน A ควรทำคือ ปรับปรุงวิธีการเลือกหุ้นสหรัฐฯ ให้ดีขึ้น
สำหรับปัจจัยด้าน Allocation Effect จะบอกว่าเราได้รับผลตอบแทนจากการจัดสรรน้ำหนักลงทุนมากหรือน้อยกว่า Benchmark หรือที่เราอาจจะเคยได้ยินนักวิเคราะห์หรือนักกลยุทธ์พูดคำว่า Overweight (OW) และ Underweight (UW) สินทรัพย์ประเภทไหน หรือกลุ่มอุตสาหกรรมใดๆ ตามบทความหรือสื่อต่างๆ
โดยการวิเคราะห์ Allocation Effect นั้น ทำได้ทั้งพอร์ตการลงทุนที่เป็นหุ้นอย่างเดียว 100% หรือพอร์ตการลงทุนที่มีการจัดสินทรัพย์ไว้หลากหลายประเภท
จะเห็นได้ว่าผลตอบแทนจากพอร์ตการลงทุนของนักลงทุน B มีผลตอบแทนที่ดีกว่า Benchmark ที่ขาดทุน -3% ในขณะที่พอร์ต Benchmark เองขาดทุน -4% แต่สิ่งที่นักลงทุนทำได้ดีนั้นไม่ใช่เพราะมีฝีมือการคัดเลือกหุ้นหรือตราสารได้ดี เพราะผลตอบแทนจากการลงทุนในหุ้นไทย -9% ซึ่งแย่กว่า Benchmark ที่ -7% แต่เป็นเพราะนักลงทุน B Underweight หุ้นไทย และ Overweight ตราสารหนี้ไทยนั่นเอง
การที่เราจะสร้างผลตอบแทนให้ดีขึ้นได้นั้น ไม่ได้จำเป็นต้องมาจากการที่เราจะต้องเลือกหุ้นหรือตราสารเก่งเพียงอย่างเดียว แต่การติดตามข่าวสารและจัดสรรน้ำหนักในการลงทุนตามสถานการณ์ก็มีส่วนเช่นกัน ทั้งนี้ หากนักลงทุนรีวิวพอร์ตการลงทุนที่ผ่านมาด้วยวิธี Selection Effect แล้วพบว่าคัดเลือกหุ้นแพ้ Benchmark ต่อเนื่อง ก็ควรจะต้องปรับปรุงกลยุทธ์ในการคัดเลือกหุ้น หรือลงทุนในกองทุน Passive หรือ Index Fund เพื่อให้ได้ผลตอบแทนเท่ากับตลาด แต่หากคัดเลือกหุ้นได้ดี แต่ทำการ Overweight หรือ Underweight ผิดพลาด ก็แสดงว่าเราวิเคราะห์มุมมองสินทรัพย์นั้นๆ ผิดไป ทั้งนี้อาจปรับสัดส่วนให้น้ำหนักเท่ากับ Benchmark ก่อน แล้วปรับวิธีมองตลาดใหม่
หากเราเปรียบการลงทุนเสมือนการขับรถทางไกล การที่นักลงทุนรีวิวพอร์ตการลงทุนเป็นประจำนั้น ก็เหมือนการที่เราแวะจอดบำรุงรักษารถยนต์เป็นประจำ เพื่อที่จะได้เห็นจุดบกพร่อง และพัฒนาปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ต่อไปในอนาคต เพื่อให้พอร์ตการลงทุนเราสามารถสร้างผลตอบแทนต่อเนื่องในระยะยาวให้บรรลุเป้าหมายการลงทุนของเราครับ
บทความโดย คุณศรชัย สุเนต์ตา
กรรมการผู้จัดการ SCBS-Chief Investment Office บริษัทหลักทรัพย์ ไทยพาณิชย์ จำกัด
ขอบคุณข้อมูลจาก The Standard Wealth