ผลการค้นหา "{{keyword}}" ไม่ปรากฎแต่อย่างใด
การใช้และการจัดการคุกกี้
ธนาคารมีการใช้เทคโนโลยี เช่น คุกกี้ (cookies) และเทคโนโลยีที่คล้ายคลึงกันบนเว็บไซต์ของธนาคาร เพื่อสร้างประสบการณ์การใช้งานเว็บไซต์ของท่านให้ดียิ่งขึ้น โปรดอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมที่ นโยบายการใช้คุกกี้ของธนาคาร
การใช้และการจัดการคุกกี้
ธนาคารมีการใช้เทคโนโลยี เช่น คุกกี้ (cookies) และเทคโนโลยีที่คล้ายคลึงกันบนเว็บไซต์ของธนาคาร เพื่อสร้างประสบการณ์การใช้งานเว็บไซต์ของท่านให้ดียิ่งขึ้น โปรดอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมที่ นโยบายการใช้คุกกี้ของธนาคาร
เพิ่มโอกาสการลงทุนสร้างความมั่งคั่ง ผ่าน Private Assets, Lombard Loan & Property-Backed Loan
แม้การลงทุนใน Private Assets จะมีการกำหนดจำนวนเงินลงทุนขั้นต้นที่สูงจำนวนหนึ่ง มีกรอบระยะเวลาการลงทุนชัดเจนและค่อนข้างยาว มีความเสี่ยงสภาพคล่องสูงกว่าการลงทุนใน Public Assets ทั่วไป แต่การเติบโตของตลาด Private Assets ทั่วโลกมีความน่าสนใจเพิ่มขึ้น
ในปี 2021 เศรษฐกิจและตลาดการเงินโลก ยังอยู่ในช่วงการฟื้นตัวจากการระบาดของโควิด-19
โดยความหวังของการเติบโตทางเศรษฐกิจและตลาดหุ้นทั่วโลกอยู่ที่ความคืบหน้าการพัฒนาวัคซีน และการเร่งฉีดวัคซีนในประเทศต่างๆ เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันหมู่ และลดความรุนแรงของการแพร่ระบาด เพื่อให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจและธุรกิจสามารถกลับมาดำเนินการได้ตามปกติ ในขณะที่นโยบายการเงินและการคลังทั่วโลกยังผ่อนคลายต่อเนื่อง ดอกเบี้ยในภาพรวมยังคงอยู่ในระดับต่ำ และสภาพคล่องก็มีอยู่ในระบบอย่างเพียงพอจะช่วยสนับสนุนการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ
นอกจากนี้ การกลับมาของสหรัฐฯ ในรอบใหม่ภายใต้การนำของประธานาธิบดีไบเดน และการกระจายวัคซีนไปทั่วโลก จะเป็นธีมการลงทุนหลักที่ทำให้สินทรัพย์เสี่ยงในภาพรวมปรับเพิ่มขึ้นได้ต่อเนื่องตามวัฏจักรเศรษฐกิจที่อยู่ในช่วงฟื้นตัว ผมจึงมองว่าโอกาสการลงทุนในสินทรัพย์ที่มีการจดทะเบียนซื้อขายในตลาดสาธารณะทั่วไป (Public Assets) เช่น ตลาดหุ้น ตลาดตราสารหนี้ และตลาดสินค้าโภคภัณฑ์ ยังคงมีอยู่มาก ในยุคที่การลงทุนสามารถทำได้ง่ายผ่านแอปพลิเคชัน และระบบการลงทุนที่สะดวกสบาย สามารถเข้าถึงนักลงทุนได้มากกว่าแต่ก่อน ทำให้นักลงทุนมีทางเลือกมากมายในการลงทุน
อย่างไรก็ดี ในแง่ของทางเลือกการลงทุน และการเพิ่มโอกาสการลงทุนและผลตอบแทน
นอกจากการลงทุนใน Public Assets ที่นักลงทุนคุ้นเคยดีอยู่แล้ว การลงทุนใน Private Assets
เป็นสิ่งที่นักลงทุนควรให้ความสนใจมากขึ้น
ซึ่งเป็นการลงทุนในสินทรัพย์ที่ไม่ได้จดทะเบียน และไม่ได้มีการซื้อขายในตลาดซื้อขายสาธารณะ (Public Exchange) โดยหากลงทุนในลักษณะการเข้าถือหุ้น เรียกว่า
Private Equity
ซึ่งเป็นการลงทุนในหุ้นนอกตลาดหลักทรัพย์ โดยส่วนใหญ่เป็นการลงทุนในกิจการที่ยังเติบโตไม่เต็มที่ โดยอาจอยู่ในช่วงที่เพิ่งก่อตั้งกิจการหรือต้องการขยายกิจการ ไปจนถึงการลงทุนในบริษัทที่มีกิจการมั่นคงแล้ว
ทั้งนี้ อีกด้านหนึ่งหากลงทุนในการปล่อยกู้โดยตรง เรียกว่า
Private Debt
ซึ่งคล้ายการลงทุนในตราสารหนี้เอกชน แต่ไม่ได้ลงทุนกับบริษัทโดยตรงเหมือนหุ้นกู้ทั่วไป แต่เป็นการลงทุนใน Securitized Asset (สินทรัพย์แปลงสภาพ) หรือ Lending Platform เช่น ลงทุนในสินเชื่อเพื่อการบริโภค เช่น สินเชื่อบัตรเครดิต สินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์ หรือสินเชื่อบ้าน เป็นต้น
แม้การลงทุนใน Private Assets จะมีการกำหนดจำนวนเงินลงทุนขั้นต้นที่สูงจำนวนหนึ่ง มีกรอบระยะเวลาการลงทุนชัดเจนและค่อนข้างยาว (อาจไม่สามารถขายก่อนกำหนดได้) และมีความเสี่ยงสภาพคล่องสูงกว่าการลงทุนใน Public Assets ทั่วไป แต่ผมมองว่าการเติบโตของตลาด Private Assets ทั่วโลกมีความน่าสนใจเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะสำหรับนักลงทุนที่ต้องการหลีกเลี่ยงความผันผวนจาก Public Assets และเล็งเห็นแนวโน้มการเติบโตของเม็ดเงินลงทุนที่จะเข้ามาลงทุนใน Private Assets อย่างต่อเนื่องในอนาคต
โดย Private Assets จะสามารถสร้างความสมดุล และช่วยกระจายความเสี่ยงในพอร์ตการลงทุนได้เป็นอย่างดี เนื่องจากผลตอบแทน Private Assets เฉลี่ยมักจะสูงกว่า แต่ความผันผวนต่ำกว่า ซึ่งจะช่วยให้พอร์ตการลงทุนมีผลตอบแทนที่ปรับด้วยความเสี่ยงดีขึ้น แม้การลงทุนใน Private Assets อาจจำกัดอยู่เพียงเฉพาะผู้ลงทุนรายใหญ่ (High Net Worth) กรณีบุคคลธรรมดาต้องมีสินทรัพย์สุทธิตั้งแต่ 50 ล้านบาทขึ้นไป หรือมีรายได้ต่อปีตั้งแต่ 4 ล้านบาทขึ้นไป หรือมีเงินลงทุนโดยตรงในหลักทรัพย์ตั้งแต่ 10 ล้านบาทขึ้นไป เนื่องจากการลงทุนมีความความซับซ้อนสูง และการเข้าถึงข้อมูลค่อนข้างลำบาก
ในปัจจุบัน การลงทุนใน Private Assets เริ่มเข้าถึงนักลงทุนได้มากขึ้น โดยนักลงทุนสามารถเริ่มศึกษาและเข้าถึงข้อมูลได้มากขึ้น และข้อจำกัดต่างๆ ก็เริ่มลดลง เช่น จำนวนเงินลงทุนขั้นต้นที่น้อยลง ระยะเวลาการลงทุนที่สั้นลง และความเสี่ยงสภาพคล่องที่เริ่มลดลง จึงทำให้การเพิ่มสัดส่วนการลงทุนใน Private Assets สำหรับนักลงทุนเป็นไปได้มากขึ้น และเป็นสินทรัพย์สำหรับการลงทุนที่เริ่มขยายฐานตลาดมากขึ้น
นอกจากนี้ การลงทุนที่เพิ่มพลังเงินลงทุน (Leveraged Investment) ในปัจจุบันก็สามารถทำได้ง่ายผ่านสินเชื่อเพื่อการลงทุน เช่น Lombard Loan และ Property-Backed Loan
ซึ่งเป็นตัวช่วยที่เหมาะสม และสามารถทำให้นักลงทุนสามารถบรรลุเป้าหมายของการลงทุนได้รวดเร็วขึ้น โดยการใช้สินเชื่อเพื่อการลงทุนนั้น มีประโยชน์และช่วยสร้างโอกาสใน 3 ประเด็น ได้แก่
ประเด็นที่หนึ่ง
สร้างโอกาสในการลงทุนเพิ่มขึ้นโดยไม่ต้องจำเป็นต้องใช้เงินทุนใหม่
โดยทั่วไปพอร์ตการลงทุนมักจะมีการจัดสรรเงินลงทุนในสินทรัพย์ต่างๆ ไว้ตามความเสี่ยง ไม่ถือครองเงินสดเป็นจำนวนมาก ทำให้เมื่อนักลงทุนมีโอกาสในการลงทุนใหม่ จำเป็นต้องนำเงินทุนใหม่เข้ามาลงทุน แต่การใช้สินเชื่อเพื่อการลงทุนนั้นจะทำให้นักลงทุนไม่จำเป็นต้องใช้เงินใหม่ทุกครั้ง แต่สามารถนำสินทรัพย์ลงทุนเดิมที่มีอยู่แล้วเป็นหลักประกัน และนำสินเชื่อที่ได้มาไปลงทุนต่อได้ทันที
ประเด็นที่สอง
สร้างโอกาสการกระจายความเสี่ยงและช่วยปรับพอร์ตการลงทุน
โดยใช้วงเงินที่ได้มาจัดพอร์ตการลงทุนใหม่ ซึ่งการปรับพอร์ตการลงทุนเพื่อให้สอดคล้องกับสภาวะตลาดที่ผันผวน เป็นส่วนสำคัญในการลงทุนให้ประสบความสำเร็จในระยะยาว โดยปกติการปรับพอร์ตการลงทุนนั้น หากผู้ลงทุนไม่นำเงินใหม่เข้ามาลงทุน ก็จำเป็นต้องขายสินทรัพย์การลงทุนเดิมเพื่อนำไปซื้อสินทรัพย์ใหม่ แต่การใช้สินเชื่อเพื่อการลงทุนจะเป็นอีกหนึ่งในทางเลือกที่ช่วยปรับพอร์ตการลงทุนได้ โดยที่ไม่จำเป็นต้องนำเงินใหม่มาลงทุน หรือขายสินทรัพย์การลงทุนที่ดีออกไป
ประเด็นที่สาม
สร้างโอกาสการเพิ่มผลตอบแทนให้กับพอร์ตการลงทุนมากกว่าการจัดพอร์ตลงทุนแบบทั่วไป
เป้าหมายหลักของการจัดพอร์ตการลงทุนนั้น ไม่ใช่การคำนึงถึงเฉพาะการสร้างผลตอบแทนเพียงอย่างเดียว แต่เป็นการกระจายความเสี่ยงในการลงทุนในสินทรัพย์ต่างๆ โดยให้พอร์ตการลงทุนอยู่ในจุดที่ดีที่สุดภายใต้ความเสี่ยงที่ยอมรับได้ โดยนักลงทุนสามารถใช้การกู้ หรือ Leverage เพื่อสร้างผลตอบแทนให้สูงกว่าปกติได้ ซึ่งในสภาวะดอกเบี้ยต่ำทั่วโลกในปัจจุบัน เป็นปัจจัยสนับสนุนสำคัญที่ทำให้การใช้สินเชื่อเพื่อการลงทุนนั้นมีความน่าสนใจมากขึ้น เนื่องจากต้นทุนค่าเสียโอกาส (ดอกเบี้ย) อยู่ในระดับต่ำมาก
Lombard Loan และ Property-Backed Loan เป็นสินเชื่อเพื่อการลงทุน ที่ออกแบบสำหรับนักลงทุนกลุ่ม High Net Worth ที่ต้องการเพิ่มกระแสเงินสดสำหรับการลงทุน
โดยนักลงทุนสามารถนำสินทรัพย์ทางการเงินที่มีความต้องการในตลาด เช่น เงินฝากธนาคารพาณิชย์ หุ้นกู้ หุ้นสามัญ หรือหุ้นกู้อนุพันธ์ มาเป็นหลักประกัน วางไว้กับสถาบันการเงิน (Lombard Loan) หรือนำอสังหาริมทรัพย์ประเภทที่ดินหรือที่อยู่อาศัย ซึ่งปลอดภาระมาเป็นหลักประกันจดจำนอง (Property-Backed Loan) เพื่อที่จะได้รับวงเงิน สำหรับการลงทุนในสินทรัพย์ลงทุนหลากหลายประเภท ได้แก่ หุ้นกู้ หุ้นไทย หุ้นต่างประเทศ รวมทั้งกองทุนรวมทั้งในและต่างประเทศตามความเสี่ยงที่นักลงทุนรับได้ อีกทั้งนักลงทุนยังสามารถที่จะขายอสังหาริมทรัพย์ที่ใช้เป็นหลักประกันได้ภายหลัง โดยไม่มีค่าธรรมเนียมการชำระคืนก่อนกำหนด หรือถ้าต้องการหาหลักประกันอื่นมาทดแทนก็สามารถทำได้ กล่าวโดยสรุป ข้อแตกต่างสำคัญจึงอยู่ที่ประเภทของหลักประกัน โดย Lombard Loan หลักประกันจะเป็นสินทรัพย์ทางการเงิน ในขณะที่ Property Backed Loan จะใช้หลักประกันรูปแบบอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งต้องมีการจดจำนอง รูปแบบจะคล้ายกับการกู้สินเชื่อบ้านหรือสินเชื่อธุรกิจทั่วไป|
สุดท้ายนี้ ผมเชื่อว่าปี 2021 เป็นปีแห่งโอกาสในการลงทุนหลังโลกเผชิญกับวิกฤตโควิด-19 ในปีที่ผ่านมา ในโลกแห่งการลงทุนที่มีทั้งโอกาสและความท้าทาย รวมทั้งความผันผวนที่ยังคงอยู่ควบคู่กับการลงทุน นอกจากการวางแผนการลงทุนทั้งในระยะสั้นและระยะยาวในรูปของ Public Assets ที่นักลงทุนคุ้นเคย การเปิดรับโอกาสการลงทุนในรูปแบบใหม่ เช่น Private Assets รวมถึงการเพิ่มพลังเงินลงทุนผ่าน Lombard Loan และ Property-Backed Loan จึงเป็นทางเลือกที่น่าสนใจที่ไม่อาจมองข้ามสำหรับนักลงทุนในยุคที่ตลาดการเงินโลกเผชิญความผันผวนสูงต่อเนื่อง
บทความโดย คุณธนพล ศรีธัญพงศ์
Manager, Investment Advisory Chief Investment Officer (CIO) บริษัท หลักทรัพย์ไทยพาณิชย์ จำกัด
ขอบคุณข้อมูลจาก The Standard Wealth