ผลการค้นหา "{{keyword}}" ไม่ปรากฎแต่อย่างใด
การใช้และการจัดการคุกกี้
ธนาคารมีการใช้เทคโนโลยี เช่น คุกกี้ (cookies) และเทคโนโลยีที่คล้ายคลึงกันบนเว็บไซต์ของธนาคาร เพื่อสร้างประสบการณ์การใช้งานเว็บไซต์ของท่านให้ดียิ่งขึ้น โปรดอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมที่ นโยบายการใช้คุกกี้ของธนาคาร
การใช้และการจัดการคุกกี้
ธนาคารมีการใช้เทคโนโลยี เช่น คุกกี้ (cookies) และเทคโนโลยีที่คล้ายคลึงกันบนเว็บไซต์ของธนาคาร เพื่อสร้างประสบการณ์การใช้งานเว็บไซต์ของท่านให้ดียิ่งขึ้น โปรดอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมที่ นโยบายการใช้คุกกี้ของธนาคาร
ค้นหาหุ้นต่ำ 10 บาท ด้วยปัจจัยพื้นฐาน
ถ้าเอ่ยถึงหุ้นที่มีราคาต่ำกว่า 10 บาท จะเข้าใจกันดีว่าเป็นหุ้นราคาถูก บริษัทขนาดเล็ก มาร์เก็ตแคป (Market Cap.) ต่ำ จึงเป็นสนาม
การลงทุน
ของนักลงทุนรายย่อย รวมถึงนักลงทุนที่มีจำนวนเงินลงทุนไม่สูง เนื่องจากการซื้อขายแต่ละครั้งจะใช้เงินไม่มาก ด้วยเหตุนี้ ทำให้หุ้นที่มีราคาต่ำ มักมีการซื้อขายในระยะสั้นๆ (Trading) หรือลักษณะเก็งกำไร (Speculative)
ดังนั้น จะสังเกตเห็นว่าหุ้นประเภทนี้ เป็นหุ้นที่มีความคึกคักในการซื้อขาย เพราะนักลงทุนทุกคนพร้อมขายทำกำไรแล้วไปหาหุ้นที่มีราคาต่ำตัวอื่นๆ ลงทุนต่อ ขณะเดียวกัน หุ้นบางตัวมักได้รับความสนใจแค่บางช่วงเวลา โดยเฉพาะในช่วงมีกระแสข่าวทำให้การซื้อขายคึกคักและสร้างสีสันได้ในช่วงเวลานั้นๆ ด้วยเหตุผลดังกล่าว การซื้อขายส่วนใหญ่จึงต้องอาศัยเทคนิคในการวิเคราะห์เพื่อตัดสินใจลงทุน
โดยเป้าหมายของนักลงทุนในหุ้นที่มีราคาต่ำก็คือ ต้องการทำกำไรจากส่วนต่างของราคา (Capital gain) ด้วยการซื้อราคาถูกและรอจังหวะขายเมื่อราคาปรับขึ้น (ซื้อถูก ขายแพง) เมื่อคิดเป็นอัตราการเพิ่มของราคาจะสูงมาก
ตัวอย่าง
ซื้อหุ้น ABC ราคา 2 บาท สัปดาห์ถัดมาราคาหุ้นปรับขึ้นไป 3 บาท หากขายทำกำไรก็จะได้ผลตอบแทน 1 บาท หรือคิดเป็นอัตรากำไรถึง 50%
อย่างไรก็ตาม ยังมีหุ้นที่มีราคาต่ำกว่า 10 บาท หลายตัวที่มีปัจจัยพื้นฐานแข็งแกร่ง มีแนวโน้มการเติบโตด้านการดำเนินธุรกิจสดใส มีความสามารถสร้างผลกำไรดีต่อนื่อง หมายความว่า นักลงทุนสามารถลงทุนในระยะยาวได้
ปฏิเสธไม่ได้ว่าราคาหุ้นที่จะปรับขึ้นได้ ต้องมีปัจจัยพื้นฐานแข็งแกร่ง และปัจจัยสำคัญที่สุด ก็คือ กำไรสุทธิ (Net Profit) ควรเติบโตต่อเนื่อง ที่สำคัญกำไรควรมาจากธุรกิจหลัก (Core Business) ไม่ใช่เติบโตขึ้นจากการควบรวมกิจการ (Mergers & Acquisition : M&A) หรือมาจากการขายสินทรัพย์
เมื่อกำไรเติบโต อัตรากำไรสุทธิ (Net Profit Margin) ก็ควรเพิ่มขึ้นต่อเนื่องเช่นกัน โดยเป็นการวัด
อัตราส่วนทางการเงิน
ของผลกำไรสุทธิกับยอดขาย สามารถบอกถึงความสามารถในการทำกำไรสุทธิ ประสิทธิภาพการดำเนินงานและความสามารถของทีมผู้บริหารได้
อัตรากำไรสุทธิ = กำไรสุทธิ/ยอดขาย x 100
วิธีการดูอัตรากำไรสุทธิ ก็คือ เปรียบเทียบกับคู่แข่งที่อยู่ในธุรกิจเดียวกัน ถ้าอัตรากำไรสุทธิอยู่ในระดับสูง แสดงว่าความสามารถของการดำเนินงานและสินค้าของบริษัทมีคุณภาพสูง ขายแล้วได้กำไรดี แต่ถ้าอยู่ในระดับต่ำ แสดงว่าบริษัทนั้นอาจมีปัญหาด้านการดำเนินงาน เช่น ไม่สามารถควบคุมต้นทุนการผลิตได้ การแข่งขันสูงจึงไม่สามารถเพิ่มราคาขายได้
ตัวอย่าง
ปี 2560 บริษัท XYZ มียอดขาย 250,000 บาท กำไรสุทธิ 50,000 บาท จะมีอัตรากำไรสุทธิ 20%
อัตรากำไรสุทธิ บริษัท XYZ = 50,000/250,000 x 100
หมายความว่า ทุกการลงทุน 100 บาท ในบริษัท XYZ จะได้กำไร 20 บาท ถัดจากนั้นก็นำอัตราส่วนนี้ไปเปรียบเทียบกับคู่แข่งที่อยู่ในธุรกิจเดียวกัน เพื่อดูว่าบริษัทไหนมีประสิทธิภาพในการทำธุรกิจมากกว่า
นอกจากนี้ การเลือกหุ้นที่น่าลงทุนควรเลือกหุ้นที่มีความสามารถในการทำกำไรมากกว่าบริษัทคู่แข่งในธุรกิจเดียวกัน ซึ่งนักลงุทนสามารถใช้อัตราตอบแทนส่วนผู้ถือหุ้น (Return on Equity : ROE) มาช่วยในการพิจารณา
ROE คืออัตราการทำกำไรในสินทรัพย์ ที่จะช่วยบอกนักลงทุนว่าบริษัทใดคือ เครื่องจักรทำเงิน โดยคิดง่ายๆ จากเงิน 1 บาทของผู้ถือหุ้น บริษัทไหนนำไปทำธุรกิจแล้วได้กำไรมากกว่า ถือว่ามีความสามารถในการจัดสรรเงินลงทุนเพื่อสร้างผลตอบแทนให้ผู้ถือหุ้นได้ดีกว่า
ROE = กำไรสุทธิ / ส่วนของผู้ถือหุ้น
ตัวอย่าง
ปี 2560 บริษัท ABC มีกำไรสุทธิ 150,000 บาท มีสินทรัพย์รวม 300,000 บาท มีหนี้สินรวม 20,000 บาท
ส่วนของผู้ถือหุ้น = สินทรัพย์รวม – หนี้สินรวม จะได้ 300,000 – 20,000 = 280,000 บาท
ROE = 150,000/280,000 = 0.54
หมายความว่า เงินลงทุน 1 บาท บริษัท ABC สามารถทำกำไรได้ 0.53 บาท
การที่ ROE เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง หมายความว่าบริษัทมีความสามารถในการบริหารจัดการและทำกำไรจากส่วนของผู้ถือหุ้นได้ดี แต่ถ้า ROE ปรับลดลงอาจสะท้อนถึงประสิทธิภาพการบริหารเงินลงทุนลดลง
อีกทั้ง นักลงทุนควรดูความสม่ำเสมอของอัตราผลตอบแทนจากเงินปันผล (Dividend Yield) โดยคาดการณ์จากอัตราผลตอบแทนให้อดีต
นี่คือการดูหุ้นที่มีราคาต่ำกว่า 10 บาท ที่คุณภาพ การเติบโต ราคา และผลตอบแทน ถ้าหาหุ้นที่มีคุณสมบัตินี้ได้ พอร์ตลงทุนคงจะมีแต่ “กำไร”