ผลการค้นหา "{{keyword}}" ไม่ปรากฎแต่อย่างใด
การใช้และการจัดการคุกกี้
ธนาคารมีการใช้เทคโนโลยี เช่น คุกกี้ (cookies) และเทคโนโลยีที่คล้ายคลึงกันบนเว็บไซต์ของธนาคาร เพื่อสร้างประสบการณ์การใช้งานเว็บไซต์ของท่านให้ดียิ่งขึ้น โปรดอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมที่ นโยบายการใช้คุกกี้ของธนาคาร
การใช้และการจัดการคุกกี้
ธนาคารมีการใช้เทคโนโลยี เช่น คุกกี้ (cookies) และเทคโนโลยีที่คล้ายคลึงกันบนเว็บไซต์ของธนาคาร เพื่อสร้างประสบการณ์การใช้งานเว็บไซต์ของท่านให้ดียิ่งขึ้น โปรดอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมที่ นโยบายการใช้คุกกี้ของธนาคาร
เทคนิคค้นหาหุ้นตัวแรก
ในภาวะที่อัตราดอกเบี้ยเงินฝากอยู่ในระดับต่ำ ลำพังการฝากเงินเพียงอย่างเดียว อาจไม่ตอบโจทย์เป้าหมายทางการเงินของเราได้ เราจึงควรเริ่มศึกษาและมองหาทางเลือกในการลงทุนผ่านสินทรัพย์การเงินประเภทต่างๆ ไว้ด้วย
จุดเริ่มต้นในการวางแผนลงทุน เริ่มจาก “รู้จักตัวเอง” โดยที่คุณควรถามตัวเองให้แน่ใจก่อนว่า “เป้าหมาย” การลงทุนของคุณคืออะไร เช่น ลงทุนเพื่อบั้นปลายชีวิต เพื่อลดหย่อนภาษี เพื่อเอาชนะเงินเฟ้อ เพื่อทำกำไรหรือเพื่อทำตามความฝัน จากนั้นค่อยพิจารณา “เงื่อนไข” ในการลงทุน ว่าคุณรับความเสี่ยงได้มากน้อยแค่ไหน ต้องการผลตอบแทนเท่าไหร่ มีเงินลงทุนมากน้อยเพียงใด เงินนั้นเป็นเงินเย็นหรือไม่ (เงินเย็น คือ เงินที่เราไม่รีบร้อนนำไปใช้อะไร ทำให้สามารถมาลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยงในระยะเวลาที่ค่อนข้างนานได้) หรือมีข้อจำกัดเรื่องระยะเวลาอย่างไร เพราะสิ่งเหล่านี้ที่จะช่วยตอบโจทย์ได้เป็นอย่างดีว่า ทางเลือกการลงทุนแบบไหนที่จะเหมาะสมกับคุณมากที่สุด
เมื่อรู้จักตัวเองมากขึ้นแล้ว เรื่องถัดมาที่เราต้องมาทำความรู้จักก็คือ “รู้จักเครื่องมือ” คำว่า “เครื่องมือ” ในที่นี้หมายถึง “ทางเลือกในการลงทุน” นั่นเอง ซึ่งความเข้าใจเกี่ยวกับคุณสมบัติเฉพาะตัว ความเสี่ยง และผลตอบแทน ตลอดจนข้อดีข้อเสียของทางเลือกต่างๆ จะเป็นส่วนสำคัญที่จะช่วยให้คุณจัดสรรเงินลงทุนได้อย่างเหมาะสม และสอดคล้องกับเป้าหมายที่ตั้งไว้
การลงทุนในหุ้นที่จดทะเบียนอยู่ในตลาดหลักทรัพย์ก็เป็นทางเลือกที่น่าสนใจไม่น้อย โดยที่ "หุ้น" (Stock) เป็นตราสารที่กิจการออกให้แก่ผู้ถือ เพื่อระดมเงินทุนไปใช้ในกิจการ โดยผู้ถือหุ้นจะมีฐานะเป็น "เจ้าของ" ซึ่งจะมีส่วนได้เสียหรือมีสิทธิในทรัพย์สินและรายได้ของกิจการ ได้รับผลตอบแทนเป็นเงินปันผลเมื่อกิจการมีกำไร และหากกิจการมีผลการดำเนินงานที่ดี ราคาหุ้นเติบโต ก็จะสามารถทำกำไรได้จากส่วนต่างราคาได้ด้วย
อย่างไรก็ตามผลตอบแทนจากการลงทุนในหุ้นอาจไม่ค่อยแน่นอน ขึ้นอยู่กับผลการดำเนินงานของกิจการนั้นๆ นอกจากนี้หากกิจการมีปัญหาจนถึงขั้นล้มละลาย ผู้ถือหุ้นจะได้รับเงินลงทุนคืนก็ต่อเมื่อกิจการจ่ายภาระผูกพันทั้งหมดให้เจ้าหนี้ก่อน ซึ่งถือเป็น “ความเสี่ยง” ของการลงทุนในหุ้น จึงเป็นที่มาว่าทำไมเราต้องเลือกลงทุนในหุ้นให้เหมาะสม ซึ่งคำถามยอดนิยมของนักลงทุนมือใหม่คือ “แล้วเราจะเลือกลงทุนในหุ้นตัวไหนดี?”
ดังที่ได้กล่าวมาแล้ว สิ่งสำคัญอันดับหนึ่งในการเริ่มต้นลงทุน คือ การกำหนดเป้าหมายและระยะเวลาการลงทุนให้ชัดเจน เพราะเป้าหมายและระยะเวลาลงทุนที่แตกต่างกันย่อมส่งผลต่อผลตอบแทน ความเสี่ยง และสไตล์การลงทุนที่แตกต่างกัน เช่น บางคนต้องการลงทุนในหุ้น เพราะอยากได้เงินปันผลในระยะยาว ดังนั้น หุ้นที่เลือกลงทุน ก็ควรเป็นหุ้นที่มีปัจจัยพื้นฐานแข็งแกร่ง และมีประวัติการจ่ายเงินปันผลอย่างสม่ำเสมอ เป็นต้น เมื่อได้กำหนดเป้าหมายและระยะเวลาการลงทุนแล้ว ต่อไปนี้คือไอเดียในการค้นหาหุ้นตัวแรก
1. เลือกหุ้นตัวแรกจากธุรกิจที่คุณมีความคุ้นเคยในชีวิตประจำวันหรือเป็นธุรกิจที่คุณรู้จักเป็นอย่างดี เลือกจากความชอบและความเชื่อมั่นในตัวผู้บริหาร หรือเลือกจากธุรกิจที่เป็นผู้นำในตลาด ธุรกิจผูกขาด หรือธุรกิจที่มีอัตราการเติบโตและมีการจ่ายเงินปันผลสม่ำเสมอทุกปี เราสามารถเข้าไปหาข้อมูลการลงทุนได้ที่ www.set.or.th โดยมีข้อมูลสำคัญที่เราควรรู้ ดังนี้
2. เนื่องจากในปัจจุบันมีหุ้นที่จดทะเบียนอยู่ในตลาดหลักทรัพย์มากกว่า 500 บริษัท ให้เราไปนั่งค้นหาข้อมูลทุกบริษัท ก็คงไม่ไหว จึงมีคำแนะนำว่าให้เลือกจากการจัดอันดับมูลค่าตามราคาตลาด (Market Capitalization) ของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย โดยทางตลาดหลักทรัพย์ฯ ได้จัดทำดัชนีราคา SET50 หรือ SET100 ซึ่งความหมายของ SET50 และ SET100 คือ ดัชนีราคาหุ้นที่ใช้แสดงระดับและความเคลื่อนไหวของราคาหุ้นสามัญ 50 และ 100 ตัวที่มีมูลค่าตามราคาตลาดสูง การซื้อขายมีสภาพคล่องสูงอย่างสม่ำเสมอ และมีสัดส่วนผู้ถือหุ้นรายย่อยผ่านเกณฑ์ที่กำหนด นั่นก็แปลว่าหุ้นใน SET50 คือ หุ้น 50 ตัวแรกที่มีมูลค่าตามราคาตลาดสูงที่สุดตามลำดับ เราจะใช้หุ้นเหล่านี้เป็นแนวทางประกอบการคัดเลือก จากนั้นให้ใช้วิธีเลือกหุ้นตามข้อที่ 1 เพราะอย่างน้อยที่สุดคุณควรจะลงทุนในบริษัทที่คุณรู้จัก
3. ควรเริ่มต้นลงทุนในจำนวนเงินที่ไม่สูงมาก เช่น 5-10% ของเงินลงทุนทั้งหมดที่เราเตรียมไว้ เพื่อเป็นการฝึกฝนก่อน โดยให้คิดอยู่เสมอว่า เป้าหมายของการลงทุนในหุ้นตัวแรกไม่ใช่เพื่อผลตอบแทนที่สูงที่สุด แต่เพื่อเป็นการเตรียมตัวในการลงทุนในตลาดทุน ดังนั้นกำไรหรือขาดทุนจากหุ้นตัวแรกอาจไม่ใช่สิ่งที่สำคัญที่สุด สิ่งที่สำคัญคือการเรียนรู้และฝึกฝนจากการลงทุนจริงต่างหาก นอกจากนี้หากเราลงทุนด้วยเงินจำนวนน้อย เมื่อขาดทุนก็จะไม่มากนัก แต่สิ่งที่เราจะได้คือบทเรียนในการลงทุน ซึ่งจะทำให้เรามีความสามารถในการลงทุนที่ดีขึ้นอย่างแน่นอน
บทความโดย: นิภาพันธ์ พูนเสถียรทรัพย์ CFP® นักวางแผนการเงินอิสระ นักเขียนและวิทยากร