ผลการค้นหา "{{keyword}}" ไม่ปรากฎแต่อย่างใด
การใช้และการจัดการคุกกี้
ธนาคารมีการใช้เทคโนโลยี เช่น คุกกี้ (cookies) และเทคโนโลยีที่คล้ายคลึงกันบนเว็บไซต์ของธนาคาร เพื่อสร้างประสบการณ์การใช้งานเว็บไซต์ของท่านให้ดียิ่งขึ้น โปรดอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมที่ นโยบายการใช้คุกกี้ของธนาคาร
การใช้และการจัดการคุกกี้
ธนาคารมีการใช้เทคโนโลยี เช่น คุกกี้ (cookies) และเทคโนโลยีที่คล้ายคลึงกันบนเว็บไซต์ของธนาคาร เพื่อสร้างประสบการณ์การใช้งานเว็บไซต์ของท่านให้ดียิ่งขึ้น โปรดอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมที่ นโยบายการใช้คุกกี้ของธนาคาร
Health Tech ธีมการลงทุนที่น่าสนใจในอนาคต
จากวิกฤตโรคโควิด-19 ที่เกิดขึ้นในปี 2020 เป็นตัวเร่งให้คนทั่วโลกต้องปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิต มาเกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีมากขึ้น และต้องคำนึงถึงสุขภาพและความปลอดภัยเพิ่มขึ้นด้วย ทำให้สร้างโอกาสให้กับธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยี โดยเฉพาะอย่างยิ่งในทางการแพทย์และสุขภาพ หรือที่เราเรียกว่า Health Tech
นอกจากนี้จากการที่ค่ารักษาพยาบาลเพิ่มสูงขึ้นในแต่ละปี และการเข้าถึงบริการทางการแพทย์ในต่างประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสหรัฐอเมริกา และยุโรป ที่เข้าถึงค่อนข้างยาก ต้องใช้เวลารอคิวในการพบแพทย์ที่นาน ทางออกหนึ่งคือ การนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้ในวงการสุขภาพ (Digital Healthcare Technology) ถือเป็นความหวังที่จะช่วยให้ประชาชนเข้าถึงบริการทางการแพทย์อย่างทั่วถึงและมีต้นทุนที่ต่ำลง
แนวโน้มของ Health Tech นั้นเติบโตอย่างต่อเนื่องทุกปี สอดคล้องกับการก้าวเข้าสู่สังคมสูงอายุของประเทศและเทรนด์การดูแลสุขภาพของคนทุกรุ่นในปัจจุบัน
ตัวอย่างของ Health Tech ในประเทศไทย
เช่น
ตัวอย่าง Health Tech ในต่างประเทศ เช่น
ทางเลือกการลงทุนใน Health Tech
1) บริษัทที่เน้นในเรื่อง Research and Development เช่น บริษัทที่ให้บริการแก่บริษัทยาในเรื่องการทำวิจัยข้อมูลโดยใช้ AI
2) บริษัทที่เน้นในเรื่องการคิดค้นนวัตกรรมด้านการรักษาโรค เช่น การใช้คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าในการรักษาโรคมะเร็ง การใช้หุ่นยนต์ช่วยเหลือในการผ่าตัด
3) บริษัทที่เน้นการเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของอุตสาหกรรม Healthcare เช่น การให้บริการการปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญผ่าน Video Call
ความเสี่ยงในการลงทุนใน Health Tech
การนำเอาเทคโนโลยีเข้ามาประยุกต์ใช้กับการดูแลสุขภาพ เป็นการช่วยยกระดับคุณภาพและมาตรฐานของกลุ่มเฮลท์แคร์อย่างไม่ต้องสงสัย อย่างไรก็ตาม นักลงทุนควรพิจารณาถึงเป้าหมายการลงทุน ระยะเวลาการลงทุน และความสามารถในการยอมรับความเสี่ยงของตนเอง อีกทั้งควรศึกษาข้อมูลในหนังสือชี้ชวนให้เข้าใจ ก่อนตัดสินใจลงทุนทุกครั้ง
บทความโดย :
นิภาพันธ์ พูนเสถียรทรัพย์ CFP®, ACC
นักวางแผนการเงินอิสระ นักเขียนและวิทยากร