ผลการค้นหา "{{keyword}}" ไม่ปรากฎแต่อย่างใด
การใช้และการจัดการคุกกี้
ธนาคารมีการใช้เทคโนโลยี เช่น คุกกี้ (cookies) และเทคโนโลยีที่คล้ายคลึงกันบนเว็บไซต์ของธนาคาร เพื่อสร้างประสบการณ์การใช้งานเว็บไซต์ของท่านให้ดียิ่งขึ้น โปรดอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมที่ นโยบายการใช้คุกกี้ของธนาคาร
การใช้และการจัดการคุกกี้
ธนาคารมีการใช้เทคโนโลยี เช่น คุกกี้ (cookies) และเทคโนโลยีที่คล้ายคลึงกันบนเว็บไซต์ของธนาคาร เพื่อสร้างประสบการณ์การใช้งานเว็บไซต์ของท่านให้ดียิ่งขึ้น โปรดอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมที่ นโยบายการใช้คุกกี้ของธนาคาร
คาดการณ์ราคาทอง ต้องดูอะไรบ้าง?
ทองคำถือเป็นสินทรัพย์ทางเลือกในการบริหารความเสี่ยงที่นักลงทุนนิยมมีไว้ติดพอร์ตลงทุน เนื่องจากถูกมองว่าเป็นสินทรัพย์ปลอดภัยเมื่อเทียบกับการลงทุนอื่นๆ ในช่วงเกิดวิกฤติระดับโลก
ราคาทองคำมีการเปลี่ยนแปลงขึ้นลงมาโดยตลอด ตามปัจจัยต่างๆ ที่เข้ามากระทบ โดยปัจจัยหลักที่นักลงทุนใช้คาดการณ์แนวโน้มการขึ้นลงของราคาทองคำในตลาดโลก มีดังนี้
1. ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐ
ทองคำมีความสัมพันธ์กับสกุลเงินดอลลาร์มาตั้งแต่ช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 รวมถึงการเทรดทองคำในตลาดโลก (Gold Spot) ก็ใช้ดอลลาร์สหรัฐในการอ้างอิงราคาทองคำต่อออนซ์ การเปลี่ยนแปลงของเงินสกุลดอลลาร์จึงส่งผลต่อราคาทองคำมากกว่าเงินสกุลอื่น หากค่าเงินดอลลาร์สหรัฐอ่อนลงเมื่อเทียบกับเงินสกุลสำคัญของโลก เช่น ยูโร, หยวน, ปอนด์ นักลงทุนจะหันมาเก็งกำไรในทองคำ ทำให้ราคาทองคำปรับตัวสูงขึ้น ในทางกลับกันหากดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าขึ้น ทองคำก็จะถูกลดความน่าสนใจลง ราคาก็จะลดต่ำลง
2. อัตราเงินเฟ้อ
ทองคำเป็นสินทรัพย์ที่ป้องกันเงินเฟ้อได้ ราคาทองคำจึงมักไปในทิศทางเดียวกับอัตราเงินเฟ้อ หากอัตราเงินเฟ้อเพิ่มสูงขึ้น เงินลงทุนจะไหลเข้าซื้อทองคำเพิ่มมากขึ้นเพื่อป้องกันความเสี่ยงจากการลดลงของมูลค่าเงินจากเงินเฟ้อที่สูงขึ้น เมื่อทองคำเป็นที่ต้องการมากขึ้น ราคาก็จะปรับตัวสูงขึ้น
3. นโยบายการเงินและอัตราดอกเบี้ย
ปัจจัยด้านนโยบายการเงินและอัตราดอกเบี้ยจะมีความสัมพันธ์ในทิศทางตรงกันข้ามกับราคาทองคำ โดยเฉพาะนโยบายที่มาจากธนาคารกลางสหรัฐ (Fed) ถือเป็นสิ่งสำคัญที่นักลงทุนในทองคำต้องติดตาม หากนโยบายที่ประกาศเป็นผลดีต่อเศรษฐกิจ อัตราดอกเบี้ยนโยบายสูงพอที่จะต่อกรกับเงินเฟ้อได้ ก็จะกดราคาทองคำลง แต่ถ้านโยบายและอัตราดอกเบี้ยไม่หวือหวาพอจะกระตุ้นเศรษฐกิจ ราคาทองคำก็จะยังไปต่อได้
4. ระดับราคาน้ำมัน
ราคาน้ำมันมักจะมีความสัมพันธ์ในเชิงบวกกับทองคำโลก เพราะน้ำมันเป็นตัวผลักดันให้เกิดเงินเฟ้อได้ในลักษณะของต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้น และเป็นหนึ่งในปัจจัยที่นำมาคำนวณเงินเฟ้อ ดังนั้นถ้าราคาน้ำมันสูงขึ้น ราคาทองก็คำก็มักจะสูงตาม แต่ก็มีหลายครั้งที่ราคาน้ำมันและทองคำเดินสวนทางกัน ซึ่งมักเป็นเป็นผลมาจากอุปสงค์และอุปทาน ของตัวน้ำมันและทองคำเอง
5.วิกฤติการณ์ต่างๆ
หากมีวิกฤติการณ์เกิดขึ้น เช่น วิกฤติซับไพร์ม วิกฤติโรคระบาด ความขัดแย้งทางการเมืองระดับโลก หรือภาวะสงคราม ราคาทองคำจะปรับตัวสูงขึ้น เนื่องจากนักลงทุนยังคงมองทองคำเป็นสินทรัพย์ปลอดภัย (Safe Haven) ที่สร้างความมั่นใจแก่ผู้ถือครองมากกว่าการถือทรัพย์สินอื่นๆ หรือเงินสกุลที่กำลังมีปัญหาอยู่ในขณะนั้น
ปัจจัยที่กล่าวมาทั้งหมดเป็นเพียงตัวชี้วัดคร่าวๆ เท่านั้น ราคาทองคำยังมีปัจจัยแวดล้อมอื่นๆ เข้ามาเกี่ยวข้อง เช่น อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐอายุ 10 ปี (Bond Yield) มักสวนทางกับราคาทองคำ หรือหากมีการประกาศนโยบายที่แม้เป็นผลบวกกับราคาทองคำ แต่ผู้บริโภค และนักลงทุน ไม่เชื่อมั่นว่าจะเป็นจริงได้ ก็จะทำให้ราคาทองคำไม่เป็นไปตามคาดการณ์ได้เช่นกัน การจะลงทุนในทองคำจึงต้องติดตามข่าวสารรอบด้านอย่างสม่ำเสมอ