ผลการค้นหา "{{keyword}}" ไม่ปรากฎแต่อย่างใด
การใช้และการจัดการคุกกี้
ธนาคารมีการใช้เทคโนโลยี เช่น คุกกี้ (cookies) และเทคโนโลยีที่คล้ายคลึงกันบนเว็บไซต์ของธนาคาร เพื่อสร้างประสบการณ์การใช้งานเว็บไซต์ของท่านให้ดียิ่งขึ้น โปรดอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมที่ นโยบายการใช้คุกกี้ของธนาคาร
การใช้และการจัดการคุกกี้
ธนาคารมีการใช้เทคโนโลยี เช่น คุกกี้ (cookies) และเทคโนโลยีที่คล้ายคลึงกันบนเว็บไซต์ของธนาคาร เพื่อสร้างประสบการณ์การใช้งานเว็บไซต์ของท่านให้ดียิ่งขึ้น โปรดอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมที่ นโยบายการใช้คุกกี้ของธนาคาร
ความสัมพันธ์ระหว่างทองคำและสกุลเงินดอลลาร์
นับตั้งแต่ความขัดแย่งระหว่างรัสเซียและยูเครน จนกระทั่งรัสเซียโจมตีและส่งทหารเข้าไปยูเครน ส่งผลให้นักลงทุนขายสินทรัพย์เสี่ยง เช่น หุ้น แล้วเข้าลงทุนในสินทรัพย์ที่มีความปลอดภัย (Safe Heaven) เพิ่มขึ้น และทองคำกลายเป็นสินทรัพย์ที่ถูกมองว่ามีความปลอดภัยในภาวะสงคราม
อย่างไรก็ตาม ในช่วงที่นักลงทุนเข้าลงทุนทองคำ ราคาทองคำปรับตัวสูงขึ้น ขณะที่ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าลง จึงมีคำถามว่าความสัมพันธ์ระหว่างทองคำกับสกุลเงินดอลลาร์มาจากปัจจัยอะไร
ย้อนกลับไปในสมัยก่อนสงครามโลกครั้งที่ 1 ตัวกลางแลกเปลี่ยนสินค้าที่ได้รับความนิยมมากที่สุด คือ ทองคำ จากนั้นจึงเริ่มพัฒนามาเป็นกระดาษ คือ เงิน อย่างไรก็ตาม ด้วยความที่เงินกระดาษสามารถพิมพ์ออกมาได้อย่างไม่จำกัดจึงไม่มีมูลค่าในตัวเอง ธนาคารกลางจึงหารือเพื่อให้ระบบการเงินมีเสถียรภาพมากขึ้นและสามารถทำการค้ากันได้อย่างสะดวกสบาย จนได้ระบบเรียกว่า Gold Standard ซึ่งถือว่าเป็นจุดเริ่มต้นของทองคำเข้ามามีส่วนเกี่ยวข้องกับเงินสกุลดอลลาร์
ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ประเทศต่าง ๆ ที่มีสกุลเงินเป็นของตัวเองต่างประสบปัญหาอัตราแลกเปลี่ยนที่ผันผวน เนื่องจากต่างคนต่างกำหนดค่าเงินเพื่อประโยชน์ทางการค้า เช่น กำหนดค่าเงินให้อ่อนก็เพื่อประโยชน์การส่งออก บางประเทศก็อาศัยทองคำสนับสนุนในอัตราส่วนที่กำหนดเอง ทำให้การค้าขายค้า การลงทุนระหว่างประเทศเป็นไปด้วยความหวาดระแวง ประกอบกับหลายประเทศดำเนินนโยบายการค้าแบบปิด กีดกันการค้าและการลงทุนในรูปแบบต่าง ๆ เช่น การตั้งกำแพงภาษีในระดับสูง การอุดหนุนการส่งออก ทำให้ทั่วโลกเกิดความขัดแย้งระหว่างกันและเป็นส่วนหนึ่งของชนวนนำไปสู่สงครามโลก
หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 แฟรงค์ลิน ดี รูสเวสท์ ประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา ร่วมกับวินสตัน เซอร์ซิลล์ นายกรัฐมนตรีของสหราชอาณาจักร ริเริ่มให้มีการหารือระหว่างประเทศเพื่อเจรจาหาแนวทางจัดระเบียบการเงินระหว่างประเทศ และหาทางหลีกเลี่ยงความขัดแย้งทางเศรษฐกิจ
โดยผลที่ออกมา คือ การลงนามใน Bretton Woods Agreements ประกอบด้วยการที่สมาชิกยินยอมที่จะยกเลิกการกำหนดค่าเงินเองหรือการใช้ทองคำหนุนหลัง แล้วหันไปผูกติดอัตราแลกเปลี่ยนของสกุลเงินตัวเองกับสกุลเงินดอลล่าร์ โดยให้ดอลล่าร์เป็นสกุลเดียวที่มีทองคำหนุนหลัง และก่อตั้งองค์กรทางการเงินระหว่างประเทศขึ้นมาใหม่ 2 แห่ง คือ กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) และ ธนาคารเพื่อการก่อสร้างและการพัฒนา (IBRD) เพื่อเป็นกลไกจัดการกับประเด็นดังกล่าว
โดยเงื่อนไขที่สำคัญ คือ ทุกชาติจำเป็นจะต้องผูกค้าเงินไว้กับทองคำหรือเงินสกุลดอลล่าร์และกำหนดให้สามารถนำเงินดอลลาร์ที่ตัวเองมีนั้นมาแลกเป็นทองคำได้ที่ 35 ดอลลาร์ต่อ 1 ออนส์ จะเห็นว่าสหรัฐอเมริกาเข้ามาเกี่ยวข้องกับทั่วโลก ทำให้เงินดอลลาร์เป็นสื่อกลางในการทำการค้าระหว่างประเทศ
แม้ว่าระบบ Bretton Woods จะล่มสลายไปแล้ว แต่ยังส่งผลให้ธนาคารกลางประเทศต่าง ๆ ทั่วโลกยังคงใช้ทองคำเป็นเงินทุนสำรองระหว่างประเทศจนถึงปัจจุบัน และในช่วง Covid-19 หลายประเทศก็ซื้อทองคำเพิ่มขึ้น ดังนั้น ทองคำจึงเป็นสิ่งจำเป็นต่อสถานะความมั่นคงของประเทศ ดังนั้น จึงมีความสัมพันธ์ระหว่างราคาทองคำและสกุลเงินดอลลาร์ ซึ่งอาจมีผลกระทบต่อราคาทองคำเมื่อมูลค่าของเงินดอลลาร์เพิ่มขึ้นหรือลดลง
จะเห็นได้ว่าทองคำมีความสัมพันธ์กับสกุลเงินดอลลาร์มาอย่างยาวนาน และการเปลี่ยนแปลงของเงินสกุลดอลลาร์ก็ส่งผลต่อราคาทองคำ โดยค่าเงินดอลลาร์อ่อนลงเมื่อเทียบกับเงินสกุลสำคัญของโลก เช่น เงินยูโร เงินเยน ราคาทองคำจะปรับสูงขึ้น เพราะราคาทองคำซื้อขายเป็นสกุลเงินดอลลาร์ ดังนั้น เมื่อค่าเงินดอลลาร์อ่อนลง ทองคำจะมีราคาถูกลงเมื่อเทียบกับเงินสกุลอื่นที่นักลงทุนถือไว้ จึงสร้างแรงซื้อเข้ามาและทำให้ราคาทองคำปรับตัวเพิ่มสูงขึ้น
อย่างไรก็ตาม แม้ว่าความสัมพันธ์ระหว่างมูลค่าเงินดอลลาร์และทองคำจะมีความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิด แต่ยังมีปัจจัยอื่น ๆ ที่ส่งผลต่อราคาทองคำ
1.นโยบายการเงินและอัตราดอกเบี้ย
โดยมีความสัมพันธ์ทิศทางตรงกันข้ามกับราคาทองคำ หากอัตราดอกเบี้ยนโยบายเป็นขาขึ้น แสดงว่าเศรษฐกิจเริ่มฟื้นตัว ความเชื่อมั่นผู้คนเพิ่มขึ้น ค่าเงินดอลลาร์จะปรับตัวเพิ่มสูงขึ้น ส่งผลให้ราคาทองคำปรับลดลง ในทางตรงกันข้ามอัตราดอกเบี้ยนโยบายปรับลดลง แสดงว่าเศรษฐกิจชะลอ ค่าเงินดอลลาร์จะปรับตัวลดลง ราคาทองคำจะปรับเพิ่มขึ้น
2.อุปสงค์ อุปทานทองคำ
โดยความต้องการใช้ทองคำส่วนใหญ่มาจาก 3 กลุ่มหลัก ได้แก่ ภาคเครื่องประดับ ภาคอุตสาหกรรมการผลิตและการแพทย์ ภาคการลงทุนรวมถึงภาครัฐของประเทศต่าง ๆ มีการนำทุนสำรองไปซื้อทองคำมากขึ้น หากมีความต้องการทองคำมากขึ้น ทำให้ราคาทองคำปรับเพิ่มขึ้น
3.ระดับราคาน้ำมัน
จะมีความสัมพันธ์ในเชิงบวกกับราคาทองคำโลก ทั้งนี้เพราะน้ำมันเป็นตัวผลักดันให้เกิดเงินเฟ้อได้ในลักษณะของ Cost Push Inflation ดังนั้นถ้าราคาน้ำมันสูงขึ้นราคาทองก็คำจะสูงขึ้นตาม นอกจากนี้น้ำมันและทองคำยังอยู่ใน Commodity Basket เดียวกัน เวลาที่นักลงทุนในต่างประเทศซื้อขายน้ำมันก็จะซื้อขายทองคำตามไปด้วย
4.วิกฤติการณ์ในระดับโลก
จะมีความสัมพันธ์ในเชิงบวกกับราคาทองคำโลก คือ หากมีวิกฤติการณ์ต่าง ๆ เช่น วิกฤติซับไพร์ม ความขัดแย้งทางการเมืองระดับโลก หรือภาวะสงคราม ราคาทองคำจะสูงขึ้นเนื่องจากทองคำถือเป็น Safe Heaven ที่สร้างความมั่นใจแก่ผู้ถือครองมากกว่าการถือเงินสกุลที่กำลังมีปัญหาหรือสินทรัพย์อื่นๆ ที่มีปัญหา
5.อัตราเงินเฟ้อ
มีความสัมพันกับราคาทองในทิศทางเดียวกัน จะเห็นได้ว่าในช่วงตั้งแต่ปลายปี 2564 อัตราเงินเงินเฟ้อสหรัฐอเมริกาเพิ่มสูงขึ้น ราคาทองคำก็ปรับขึ้นตามด้วย เนื่องจากเงินลงทุนไหลเข้าซื้อทองคำเพิ่มมากขึ้นเพื่อป้องกันการลดลงของมูลค่าเงินจากอัตราเงินเฟ้อที่สูงขึ้น
ความสัมพันธ์ระหว่างทองคำและสกุลเงินดอลลาร์ มีมาตั้งแต่สมัยสงครามโลกครั้งที่ 1 และจากระบบการเงินโลกที่มีการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาขึ้นต่อเนื่อง ไม่เพียงสกุลเงินดอลล่าร์ที่มีความสัมพันธ์กับราคาทองคำ ยังมีปัจจัยอื่น ๆ ดังนั้น หากนักลงทุนเข้าใจถึงการเปลี่ยนแปลงของปัจจัยดังกล่าว ก็สามารถนำไปปรับใช้กับกลยุทธ์ลงทุนทองคำเพื่อคว้าโอกาสการลงทุนในระยะยาว