ผลการค้นหา "{{keyword}}" ไม่ปรากฎแต่อย่างใด
การใช้และการจัดการคุกกี้
ธนาคารมีการใช้เทคโนโลยี เช่น คุกกี้ (cookies) และเทคโนโลยีที่คล้ายคลึงกันบนเว็บไซต์ของธนาคาร เพื่อสร้างประสบการณ์การใช้งานเว็บไซต์ของท่านให้ดียิ่งขึ้น โปรดอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมที่ นโยบายการใช้คุกกี้ของธนาคาร
การใช้และการจัดการคุกกี้
ธนาคารมีการใช้เทคโนโลยี เช่น คุกกี้ (cookies) และเทคโนโลยีที่คล้ายคลึงกันบนเว็บไซต์ของธนาคาร เพื่อสร้างประสบการณ์การใช้งานเว็บไซต์ของท่านให้ดียิ่งขึ้น โปรดอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมที่ นโยบายการใช้คุกกี้ของธนาคาร
ทิศทางเศรษฐกิจไทยหลังการเปิดเมือง
ตัวเลขเศรษฐกิจไทยไตรมาส 3 ปี 2564 ที่ทางสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สภาพัฒน์) ประกาศที่หดตัวที่ -0.3% ต่อปี ใกล้เคียงกับที่เราคาดการณ์ไว้ในช่วงที่ -0.5% ต่อปี แต่ดีกว่าที่นักเศรษฐศาสตร์เอกชนคาดไว้ที่ -1.6%
สาเหตุที่เราคาดไว้ในช่วงเดือนกันยายนว่าเศรษฐกิจไทยจะไม่ชะลอแรงเหมือนที่หลายฝ่ายคาด (เราเชื่อว่าเศรษฐกิจไทยทั้งปีนี้จะขยายตัวประมาณ 1% แม้เผชิญการระบาดรอบ 4) นั้นอยู่บนสมมติฐานสำคัญ 3 ประการ ได้แก่
ภาพสมมติฐานส่วนใหญ่เป็นไปตามที่เราคาดการณ์ แม้จำนวนผู้ป่วยใหม่จะลดน้อยลงกว่าที่เราคาดไว้บ้างก็ตาม (ตามแบบจำลองของเรา จำนวนผู้ติดเชื้อใหม่ควรจะอยู่ในระดับประมาณ 1,000 รายต่อวันในปัจจุบัน) แต่การฉีดวัคซีนและความพยายามอย่างยิ่งยวดของบุคลากรด้านสาธารณสุขทำให้สถานการณ์ดีขึ้นต่อเนื่อง
สำหรับตัวเลขเศรษฐกิจไทยในไตรมาส 3 ที่สภาพัฒน์เพิ่งจะประกาศนั้น มีองค์ประกอบสำคัญของการขยายตัวที่น่าสนใจ ดังนี้
ทั้งหมดนี้บ่งชี้ว่าพื้นฐานเศรษฐกิจไทย โดยเฉพาะภาคการผลิตไม่ได้แย่มากนัก เพราะยังสามารถผลิตได้แม้จะมีการล็อกดาวน์ในไตรมาสที่ 3 ก็ตาม
และเมื่อพิจารณาตัวเลขฝั่งภาคการผลิต จะพบว่าภาคเกษตรและบริการบางอย่างยังสามารถขยายตัวได้ดี อาทิ เกษตรกรรมที่ขยายตัวในผลผลิตพืชสำคัญ ได้แก่ ข้าวเปลือก ยางพารา ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ สับปะรด มันสำปะหลัง และปาล์มน้ำมัน ตามความต้องการโลกที่เพิ่มขึ้น แต่ระดับราคาสินค้าเกษตรเริ่มหดตัวลง และสาขาข้อมูลข่าวสารและการสื่อสาร ที่ขยายตัวสอดคล้องกับผลจากการปิดเมืองทำให้ต้องติดต่อผ่านทางออนไลน์มากขึ้น
ส่วนสาขาที่เริ่มชะลอ ได้แก่ สาขาการขายส่งและการขายปลีก ขยายตัวชะลอลงตามความต้องการอุปโภคบริโภคของภาคครัวเรือนในประเทศที่ลดลง การผลิตสินค้าอุตสาหกรรมลดลง โดยเฉพาะสินค้าภายในประเทศตามอุปสงค์ในประเทศที่หดตัว ขณะที่อุปสงค์ภาคต่างประเทศยังขยายตัวได้ สาขาที่พักแรมและบริการด้านอาหาร ที่ลดลงจากโรคโควิดที่ยังคงแพร่ระบาดทั้งในประเทศและต่างประเทศ ส่งผลต่อด้านการท่องเที่ยวในประเทศอย่างต่อเนื่อง และสาขาก่อสร้าง ที่หดตัวตามการลงทุนภาครัฐที่มีการเบิกจ่ายน้อยลง (ส่วนหนึ่งจากการปิดแคมป์คนงาน) ขณะที่รัฐวิสาหกิจไม่มีโครงการก่อสร้างใหม่
เมื่อภาพเป็นเช่นนี้ ทางสภาพัฒน์ได้ปรับประมาณการเศรษฐกิจปีนี้และปีหน้าขึ้นจากการ Reopen ที่ทำให้อุปสงค์ในประเทศฟื้นตัว ประกอบกับการฟื้นตัวของภาคการท่องเที่ยวและการแพร่กระจายวัคซีน แต่ยังกังวล
โดยสภาพัฒน์ปรับเป้า GDP ปีนี้และปีหน้าขึ้นเป็น 1.2% ในปีนี้ และ 3.5-4.5% ในปีหน้า โดยมองว่าการส่งออกจะชะลอลง (ปีนี้โต 16.8% ปีหน้าโต 4.9%) บัญชีเดินสะพัดบวกอ่อนๆ ในปีหน้า (+1.0% ของ GDP) จากปีนี้ที่ติดลบประมาณ -2.5%
ในส่วนของเราเชื่อว่าประเด็นบวกของเศรษฐกิจไทยในปีหน้าจะเห็นเด่นชัดขึ้น โดยเราเชื่อว่าเศรษฐกิจไทยจะฟื้นตัวขึ้นในธีม 2-4-4-8 กล่าวคือ
ทั้งนี้ เรามองว่าปัจจัยบวกเพิ่มเติม (Upside Risk) คือการที่รัฐบาลเพิ่มเพดานหนี้สาธารณะจาก 60% ต่อ GDP เป็น 70% ทำให้รัฐบาลมีช่องว่างให้สามารถกระตุ้นเศรษฐกิจได้หากจำเป็น
อย่างไรก็ตาม ในปีหน้าปัจจัยเสี่ยงที่ต้องจับตา ได้แก่ ภาวะเศรษฐกิจโลกเป็นหลัก โดยมี 5 ประการ ดังนี้
ทั้งหมดนี้คือภาพเศรษฐกิจไทยหลังการเปิดเมือง ท่านทั้งหลายเตรียมพร้อมรับสมรภูมิที่เปลี่ยนไปแล้วหรือยัง
ข้อมูล ณ วันที่ 17 พฤศจิกายน 2564
บทความโดย ดร.ปิยศักดิ์ มานะสันต์ ฝ่ายวิจัยการลงทุน SCBS
ขอบคุณข้อมูล :
The Standard Wealth