ผลการค้นหา "{{keyword}}" ไม่ปรากฎแต่อย่างใด
การใช้และการจัดการคุกกี้
ธนาคารมีการใช้เทคโนโลยี เช่น คุกกี้ (cookies) และเทคโนโลยีที่คล้ายคลึงกันบนเว็บไซต์ของธนาคาร เพื่อสร้างประสบการณ์การใช้งานเว็บไซต์ของท่านให้ดียิ่งขึ้น โปรดอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมที่ นโยบายการใช้คุกกี้ของธนาคาร
การใช้และการจัดการคุกกี้
ธนาคารมีการใช้เทคโนโลยี เช่น คุกกี้ (cookies) และเทคโนโลยีที่คล้ายคลึงกันบนเว็บไซต์ของธนาคาร เพื่อสร้างประสบการณ์การใช้งานเว็บไซต์ของท่านให้ดียิ่งขึ้น โปรดอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมที่ นโยบายการใช้คุกกี้ของธนาคาร
รู้จักกองทุนรวมต่างประเทศ โอกาสการลงทุนในยุคเศรษฐกิจไทยหดตัว
สำหรับบทความนี้ เราจะพาคุณไปรู้จักกับการลงทุนในต่างประเทศผ่านกองทุนรวมต่างประเทศ โดยที่กองทุนรวมที่ลงทุนในต่างประเทศ เราเรียกว่า Foreign Investment Fund หรือ FIF เป็นกองทุนรวมที่เน้นการลงทุนในหลักทรัพย์ต่างประเทศไม่ต่ำกว่า 80% ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิ โดย ก.ล.ต. กำหนดให้กองทุนต้องลงทุนในประเทศที่มีหน่วยงานกำกับดูแลที่เป็นสมาชิกสามัญของ ก.ล.ต.โลก (IOSCO) หรือในประเทศที่มีตลาดหลักทรัพย์เป็นสมาชิกขององค์กรตลาดหลักทรัพย์โลก (WFE) เพื่อให้เชื่อใจได้ว่าตลาดหลักทรัพย์และหลักทรัพย์ที่ผู้ลงทุนไปลงทุนนั้นจะได้รับการกำกับดูแลที่ดีในระดับมาตรฐานสากล
ในปัจจุบันกองทุนรวม FIF ของไทยมีรูปแบบการบริหารแบ่งได้เป็น 2 แบบหลักๆ คือ
1. แบบที่บลจ. ไทยบริหารกองทุนด้วยตนเอง
โดยนำเงินไปลงทุนในหลักทรัพย์หรือสินค้าทางการเงินต่างๆ ในต่างประเทศ ไม่ว่าจะเป็นหุ้น ตราสารหนี้ สัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่มีผลตอบแทนอ้างอิงกับตัวแปรต่างๆ เช่น อ้างอิงกับราคาหลักทรัพย์หรือดัชนีราคาหลักทรัพย์ ราคาสินค้าหรือดัชนีราคาสินค้าโภคภัณฑ์ เช่น ราคาทองคำหรือราคาน้ำมันดิบ เป็นต้น แต่ยังไม่ครอบคลุมไปถึงการลงทุนโดยตรงในสินค้าอื่นอีกหลายประเภท เช่น สินค้าโภคภัณฑ์ประเภททองคำและน้ำมัน ตัวอย่างของกองทุนรวมต่างประเทศประเภทนี้ที่ออกมาเสนอขายและเป็นที่นิยมกัน เช่น กองทุนรวม FIF ที่ไปลงทุนในพันธบัตรเกาหลีใต้
2. แบบที่ บลจ. ไทยไปซื้อกองทุนรวมที่บริหารจัดการโดยผู้จัดการกองทุนในต่างประเทศอีกทอดหนึ่ง หรือเป็นการลงทุนทางอ้อมผ่านกองทุนรวมในต่างประเทศนั่นเอง โดยสามารถลงทุนได้ 2 วิธี คือ
เนื่องจากกองทุน รวม FIF จะต้องนำเงินที่ระดมได้ไปลงทุนในต่างประเทศ ดังนั้นผู้จัดการกองทุนจะมีงานที่เพิ่มขึ้นคือ การค้นหาและวิเคราะห์ ข้อมูล เพื่อตัดสินใจเลือกหลักทรัพย์หรือตราสารที่มีอยู่ในตลาดของประเทศต่างๆ ซึ่งถือเป็นงานที่ยากและท้าทายความสามารถของผู้จัดการกองทุนมากพอสมควร หากบริษัทจัดการกองทุนไม่มีเครือข่ายหรือพันธมิตรในต่างประเทศ ที่จะส่งข้อมูลบทวิเคราะห์ให้กับผู้จัดการกองทุน แทนที่กองทุน FIF จะเลือกหลักทรัพย์เพื่อลงทุนเอง บางกองทุนอาจจะเลือกวิธีลงทุนในกองทุนรวมในต่างประเทศที่มีความชำนาญและมีการลงทุนในตราสารที่ตรงกับนโยบายของกองทุน ซึ่งจะช่วยประหยัดเวลาให้กับผู้จัดการกองทุนได้มาก และเป็นการใช้ประโยชน์จากสิ่งที่มีอยู่แล้วด้วย
ในส่วนของค่าธรรมเนียมการจัดการ หากลงทุนผ่านกองทุนในต่างประเทศอีกทอดหนึ่ง ก็จะมีค่าธรรมเนียม 2 ชั้น คือ ค่าธรรมเนียมการจัดการของ บลจ. ไทยที่ออกกองทุน และค่าธรรมเนียมการจัดการของกองทุนต่างประเทศที่ บลจ. ไปลงทุนต่อ ทำให้โดยมากค่าธรรมเนียมการจัดการของกองทุนรวมต่างประเทศจะสูงกว่า ดังนั้นผู้ลงทุนจึงต้องศึกษาและเปรียบเทียบค่าใช้จ่ายต่างๆ ในการลงทุนให้ดีก่อนตัดสินใจลงทุน
กองทุนรวม FIF น่าสนใจอย่างไร?
ประเมินผลการดำเนินงานได้อย่างไร?
โดยทั่วๆ ไป ก็จะใช้วิธีนำผลประกอบการของกองทุนรวมไปเปรียบเทียบกับตัวชี้วัด (Benchmark) ที่กำหนด โดย บลจ.จะเลือกใช้ benchmark ที่สอดคล้องกับนโยบายการลงทุนของกองทุน โดยจะเปิดเผยให้ผู้ลงทุนทราบล่วงหน้า เช่น กองทุนรวม FIF ที่ลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันดิบ ก็นำผลการดำเนินงานของกองทุนไปเทียบกับดัชนีราคาน้ำมันดิบในตลาดโลก เช่น Deutsche Bank Liquid Commodity Index เป็นต้น ซึ่ง บลจ. จะบอกชื่อดัชนี และแหล่งข้อมูลในการดูดัชนีตัวชี้วัดเหล่านี้ไว้ในหนังสือชี้ชวนแล้ว
เหมาะกับใคร?
ผู้ลงทุนที่ต้องการจะกระจายการลงทุนไปในประเทศอื่นๆ ที่มีโอกาสที่จะใด้ผลตอบแทนแตกต่างจากการลงทุนในประเทศ ในขณะเดียวกันก็ต้องมีความรู้และความเข้าใจในความเสี่ยงของกองทุนรวม FIF ที่จะมีมากขึ้นและแตกต่างจากกองทุนรวมที่ลงทุนในประเทศ
ผลตอบแทนและความเสี่ยงจากการลงทุนในกองทุนรวม FIF
ผลตอบแทนที่เราจะได้จากการลงทุนในกองทุนรวม FIF ก็เหมือนกับผลตอบแทนที่ได้จากการลงทุนในกองทุนรวมโดยทั่วไป ซึ่งจะได้มาใน 2 รูปแบบ คือ Capital Gain หรือกำไรส่วนเกินจากมูลค่าหน่วยลงทุน และ Dividend หรือเงินปันผล (ซึ่งนักลงทุนจะได้ หรือไม่ได้รับเงินปันผล ก็ขึ้นอยู่กับนโยบายการจ่ายเงินปันผลของกองทุน)
สำหรับความเสี่ยงของกองทุนรวม FIF เป็นสิ่งที่ผู้ลงทุนต้องศึกษาให้เข้าใจ เพราะจะมีความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องนอกเหนือไปจากความเสี่ยงของกองทุนรวมที่ลงทุนในประเทศทั่วไป โดยความเสี่ยงของกองทุนรวม FIF มีดังนี้
โดยทั่วไปความเสี่ยงด้านนี้สามารถลดลงได้โดยการป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนหรือที่เรียกว่า Hedging เช่น การทำสัญญาซื้อขายล่วงหน้า เพื่อล็อกค่าเงินบาทไว้ในอัตราที่ผู้จัดการกองทุนคิดว่าจะเป็นประโยชน์กับกองทุนรวมในอนาคต เป็นต้น แต่การทำ Hedging จะทำให้มีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น ซึ่งอาจทำให้ผลตอบแทนที่ผู้ลงทุนจะได้รับลดลง บลจ. จึงอาจเลือกทำ Hedging ค่าเงินทั้งหมด/เกือบทั้งหมด ทำ Hedging ค่าเงินไว้แค่บางส่วน หรือไม่ทำ Hedging เลยก็ได้
โดย ก.ล.ต. ได้กำหนดให้ บลจ. ต้องบอกให้ผู้ลงทุนทราบอย่างชัดเจนถึงความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนในสกุลเงินของหลักทรัพย์ที่กองทุนรวมไปลงทุน (Currency of Underlying Investment) และนโยบายที่ใช้เพื่อบริหารความเสี่ยงนั้นในหนังสือชี้ชวนเสนอขายหน่วยลงทุนนั้นๆ และยังต้องเปิดเผยไว้ในเอกสารทุกประเภทที่ใช้ประกอบการเสนอขายกองทุนรวม เช่น เอกสารโฆษณาประชาสัมพันธ์และเอกสารที่ใช้แจกในงานสัมมนาของกองทุนรวมอีกด้วย และต้องระบุด้วยว่าได้ป้องกันความเสี่ยงแบบใดไว้ใน 4 แบบเหล่านี้ ได้แก่
นอกจากจะมีการเปิดเผยข้อมูลให้เห็นกันอย่างเด่นชัดแล้ว ก.ล.ต. ยังให้มีแนวปฏิบัติให้ บลจ. ต้องสามารถแสดงหลักฐานเพื่อเป็นการยืนยันได้ว่า ผู้ลงทุนในกองทุนรวมเหล่านี้ได้รับทราบความเสี่ยงและคำเตือนต่างๆ แล้ว ดังนั้น ผู้ลงทุนจึงควรอ่านและทำความเข้าใจข้อมูลความเสี่ยงต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งความเสี่ยงในเรื่องอัตราแลกเปลี่ยนและการจัดการความเสี่ยงนี้ให้ดี ก่อนสั่งซื้อหน่วยลงทุนของกองทุนรวม FIF
ปัจจุบัน บริษัทหลักทรัพย์ไทยพาณิชย์ได้เปิดบริการซื้อ-ขายกองทุนรวมผ่านแอป SCB EASY INVEST โดยเปิดแค่เพียงบัญชีเดียว ก็สามารถซื้อกองทุนได้จาก 17 บลจ. ชั้นนำ กว่า 1,200 กองทุน ทั้งในไทยและต่างประเทศ ไม่ต้องยื่นเอกสารเพิ่ม พร้อมฟังก์ชั่นแนะนำกองทุนรวมเด่นๆ ที่ลงทุนในต่างประเทศ ทำให้ผู้ลงทุนมีโอกาสลงทุนได้กว้างไกลมากขึ้น ไม่จำกัดเพียงการลงทุนภายในประเทศแต่เพียงอย่างเดียว แต่เปิดโอกาสให้คุณได้ลงทุนในกองทุนรวมต่างประเทศจากหลากหลายบลจ.โดยไม่ต้องยึดติดกับที่เดียวอีกต่อไป
สามารถอ่านรายละเอียดของแอป EASY INVEST ได้จาก http://www.scbs.com/easyinvest หรือดาวน์โหลดแอป EASY INVEST เพื่อเปิดกว้างโลกการลงทุนให้เป็นเรื่องง่ายแค่ปลายนิ้ว
บทความโดย นิภาพันธ์ พูนเสถียรทรัพย์ CFP®, ACC นักวางแผนการเงินอิสระ นักเขียนและวิทยากร