ผลการค้นหา "{{keyword}}" ไม่ปรากฎแต่อย่างใด
การใช้และการจัดการคุกกี้
ธนาคารมีการใช้เทคโนโลยี เช่น คุกกี้ (cookies) และเทคโนโลยีที่คล้ายคลึงกันบนเว็บไซต์ของธนาคาร เพื่อสร้างประสบการณ์การใช้งานเว็บไซต์ของท่านให้ดียิ่งขึ้น โปรดอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมที่ นโยบายการใช้คุกกี้ของธนาคาร
การใช้และการจัดการคุกกี้
ธนาคารมีการใช้เทคโนโลยี เช่น คุกกี้ (cookies) และเทคโนโลยีที่คล้ายคลึงกันบนเว็บไซต์ของธนาคาร เพื่อสร้างประสบการณ์การใช้งานเว็บไซต์ของท่านให้ดียิ่งขึ้น โปรดอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมที่ นโยบายการใช้คุกกี้ของธนาคาร
‘Factor Investing’ กับปรากฏการณ์ผลตอบแทนรับตรุษจีน
ช่วงสิบปีที่ผ่านมา ‘ตลาดหุ้นจีน’ เป็นตลาดหุ้นในอันดับต้นๆ ที่นักลงทุนทั้งชาวไทยและต่างชาติให้ความสนใจเข้าไปลงทุนค่อนข้างมาก ด้วยเสน่ห์ของตลาดหุ้นจีนที่ดึงดูดนักลงทุนได้ดีคือผลตอบแทนของตลาดเหวี่ยงขึ้นลงได้อย่างน่าตื่นเต้น ทำให้นักลงทุนที่จับจังหวะตลาดได้สามารถสร้างผลตอบแทนที่สูงได้ แต่เหตุผลที่สำคัญที่สุดในเชิงพื้นฐานคือ จีนเป็นประเทศมหาอำนาจที่มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับสองของโลก รองจากสหรัฐอเมริกา และตลาดหุ้นจีน (A-Share) ก็ยังมีมูลค่าตลาด (Market Capitalization) ใหญ่เป็นอันดับต้นๆ ของโลกนั่นเอง
ตลาดหุ้นในประเทศจีนที่นักลงทุนคุ้นหูกันและได้ยินบ่อยคือ Shanghai Stock Exchange และ Shenzhen Stock Exchange แต่เมื่อไม่นานมานี้ ในปี 2021 ประเทศจีนได้เปิดตลาดหุ้นแห่งที่ 3 คือ Beijing Stock Exchange เพื่อสนับสนุนธุรกิจขนาดเล็กและขนาดกลาง (Small and Medium-Sized Enterprises: SMEs) สะท้อนให้เห็นถึงการเติบโตของเศรษฐกิจในประเทศจีน และบ่งชี้ว่าเศรษฐกิจมีการขยายตัวออกไปในทุกขนาดธุรกิจ ไม่ว่าจะเป็นธุรกิจขนาดใหญ่ ขนาดกลาง หรือขนาดเล็ก
แม้ว่าในปี 2022 ผลตอบแทนในตลาดหุ้นจีนทั้ง Shanghai Stock Exchange และ Shenzhen Stock Exchange จะสร้างผลตอบแทนได้ไม่ดีนัก เนื่องจากมาตรการ Zero-COVID ทำให้เกิดการชะงักของกิจกรรมทางเศรษฐกิจในประเทศ จากนโยบายที่ออกมาจำกัดการดำเนินงานของบริษัทเทคโนโลยีขนาดใหญ่ของจีน ซึ่งจะเห็นได้จากผลตอบแทนตั้งแต่ต้นปี 2022 จนถึงเดือนพฤจิกายน ตลาด Shanghai Composite Index ปรับตัวลดลง -11.17% ขณะที่ตลาด Shenzhen Component Index ก็ปรับลดลง -24.22% แต่อย่างไรก็ตาม ตลาดจีนยังคงเป็นตลาดที่น่าสนใจ เนื่องจากราคาหุ้นในตลาดปรับราคาลงมามากจนสร้างความได้เปรียบเชิงความคุ้มค่า (Valuation) เมื่อเทียบกับเมื่อก่อน รวมถึงนโยบายการลดอัตราส่วนสำรองขั้นต่ำ (RRR) ของธนาคารจีนที่ถูกประกาศใช้เพื่อให้ภาคการเงินเป็นตัวช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจ ให้เศรษฐกิจเดินหน้าต่อไปได้เมื่อจีนเข้าสู่ยุคหลังการระบาดของโควิด
สำหรับอีกประเด็นหนึ่งที่น่าสนใจและใกล้จะมาถึงคือ ปรากฏการณ์ Seasonal Effect อย่าง Chinese New Year Effect ที่มักจะเกิดขึ้นในตลาดหุ้นจีนค่อนข้างจะสม่ำเสมอทุกปี จากการที่ตลาดหุ้นจีนมักจะปรับตัวสูงขึ้นอย่างชัดเจนมากกว่าช่วงอื่นๆ ของปี โดยมักจะเกิดในช่วงปลายมกราคมยาวไปจนถึงต้นมีนาคม ซึ่งจากงานวิจัยของ Wolfe Research ได้แสดงการเปรียบเทียบผลตอบแทนรายเดือนเฉลี่ยจากทั้งปี, ผลตอบแทนเฉลี่ยเฉพาะเดือนกุมภาพันธ์ และผลตอบแทนเฉลี่ยเฉพาะช่วง Chinese New Year (เริ่มต้น 1 สัปดาห์ก่อนที่ตลาดจีนจะเปิดจนถึง 3 สัปดาห์หลังจากตลาดเปิด) ของตลาดจีน ซึ่งเราจะเห็นว่า Chinese New Year Effect สามารถสร้างผลตอบแทนได้สูงกว่าผลตอบแทนของเดือนอื่นๆ อย่างชัดเจน
จากรูปด้านล่าง A) เมื่อดูผลตอบแทนในช่วง Chinese New Year จะเห็นได้ว่าตั้งแต่ปี 2001-2021 มีเพียง 5 ปีจาก 20 ปีนี้เท่านั้นที่ผลตอบแทนในช่วง Chinese New Year เป็นลบ
เมื่อวิเคราะห์ผลตอบแทนในช่วง Chinese New Year ด้วย Factor Investing ทำให้เข้าใจได้มากขึ้นว่าหุ้นในกลุ่มหรือสไตล์ไหนที่มีความสามารถในการสร้างผลตอบแทนในช่วงนี้
จากรูปด้านล่าง B) แสดงถึง Factor ที่ Underperform ในช่วง Chinese New Year ซึ่งจะเห็นได้ว่า Factor กลุ่ม Defensive สไตล์เช่น Low Volatility, Large Cap, High Dividend Yield จะทำผลงานได้ไม่ดีในช่วงของ Chinese New Year
ดังนั้นปรากฏการณ์ในช่วง Chinese New Year จึงเป็นช่วงที่นักลงทุนน่าจับตามองตลาดหุ้นจีน A-Share เพราะเป็นช่วงเวลาสั้นๆ ที่เพิ่มโอกาสสร้างผลตอบแทนที่ดีขึ้นได้เมื่อเทียบกับช่วงเวลาอื่นๆ ของปี ยิ่งไปกว่านั้นยังพบอีกด้วยว่าในช่วงเวลาดังกล่าว หุ้นในกลุ่ม High Risk, Low Quality หรือกลุ่ม Small Cap ยิ่งมีโอกาสที่จะ Outperform ตลาดหุ้นจีนได้อีกด้วย
ข้อมูล ณ วันที่ 14 ธันวาคม 2565
บทความโดย คุณณรงค์ศักดิ์ ปลอดมีชัย ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน ไทยพาณิชย์ จำกัด
ที่มา : The Standard Wealth