ผลการค้นหา "{{keyword}}" ไม่ปรากฎแต่อย่างใด
การใช้และการจัดการคุกกี้
ธนาคารมีการใช้เทคโนโลยี เช่น คุกกี้ (cookies) และเทคโนโลยีที่คล้ายคลึงกันบนเว็บไซต์ของธนาคาร เพื่อสร้างประสบการณ์การใช้งานเว็บไซต์ของท่านให้ดียิ่งขึ้น โปรดอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมที่ นโยบายการใช้คุกกี้ของธนาคาร
การใช้และการจัดการคุกกี้
ธนาคารมีการใช้เทคโนโลยี เช่น คุกกี้ (cookies) และเทคโนโลยีที่คล้ายคลึงกันบนเว็บไซต์ของธนาคาร เพื่อสร้างประสบการณ์การใช้งานเว็บไซต์ของท่านให้ดียิ่งขึ้น โปรดอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมที่ นโยบายการใช้คุกกี้ของธนาคาร
ลงทุนหุ้นพร้อมกองทุนรวมเสี่ยงไหม แบบไหนปลอดภัยมากกว่า
เมื่อบรรยากาศการลงทุนสดใส นักลงทุนส่วนใหญ่จะมีความกล้าในการลงทุนมากยิ่งขึ้น จึงตัดสินใจลงทุนหุ้นในสินทรัพย์เสี่ยงสูง เพื่อสร้างผลตอบแทนที่สูงขึ้น แต่เมื่อไหร่ที่ตลาดการลงทุนมีความผันผวนและความไม่แน่นอนสูงขึ้น นักลงทุนจะเพิ่มความระมัดระวังในการลงทุน
โดยปัจจุบัน นักลงทุนใช้วิธีการลดความเสี่ยงด้วยวิธีลงทุนหุ้นพร้อมๆ กับลงทุนผ่านกองทุนรวม ซึ่งหลายคนมองว่าการลงทุนแบบนี้อาจมีความซ้ำซ้อนในการลงทุน โดยเฉพาะลงทุนหุ้นกับกองทุนรวมหุ้น เช่น ลงทุนหุ้น ABC ขณะเดียวกันกองทุนรวมหุ้นที่ลงทุนอาจเข้าไปลงทุนในหุ้น ABC
ดังนั้น เพื่อลดความกังวลในการลงทุนหุ้นซ้ำซ้อน นักลงทุนต้องออกแบบพอร์ตการลงทุนตามระดับความเสี่ยงที่ยอมรับได้ให้ชัดเจนก่อน
1. พอร์ตลงทุนหุ้นแบบระมัดระวัง (Conservative)
พอร์ตลงทุนระมัดระวัง เหมาะกับนักลงทุนที่รับความเสี่ยงได้ต่ำ ไม่ต้องการสูญเสียเงินลงทุน เช่น ผู้ที่มีอายุใกล้เกษียณ ดังนั้น พอร์ตลงทุนส่วนใหญ่จึงเป็นสินทรัพย์ที่มีความผันผวนของราคาค่อนข้างต่ำ เช่น กองทุนรวมตราสารหนี้ กองทุนรวมตลาดเงิน และเงินฝาก เป็นต้น
2. พอร์ตลงทุนแบบปานกลาง (Moderate)
พอร์ตลงทุนแบบปานกลาง เหมาะสำหรับนักลงทุนหุ้นที่รับความเสี่ยงได้ปานกลาง รับความผันผวนได้พอสมควร ต้องการได้รับผลตอบแทนจากการลงทุนหุ้นแบบสม่ำเสมอ ดังนั้น จึงมุ่งเน้นลงทุนในสินทรัพย์ประเภทที่จ่ายเงินปันผลสม่ำเสมอ เช่น หุ้นปันผล กองทุนรวมที่มีนโยบายจ่ายเงินปันผล รวมถึงผลตอบแทนในรูปดอกเบี้ย เช่น พันธบัตรรัฐบาล
3. พอร์ตลงทุนแบบเชิงรุก (Aggressive)
พอร์ตลงทุนแบบเชิงรุก เหมาะสำหรับนักลงทุนที่รับความเสี่ยงได้สูงๆ มีเวลาการลงทุนระยะยาว ขณะเดียวกันก็ต้องการให้เงินลงทุนมีโอกาสได้รับผลตอบแทนสูงเช่นกัน ดังนั้น จึงเน้นหนักลงทุนไปยังสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงสูง เช่น หุ้นหรือกองทุนรวมหุ้น
(สัดส่วนการจัดพอร์ตลงทุนทั้ง 3 แบบ เป็นเพียงตัวอย่าง นักลงทุนสามารถปรับสัดส่วนตามที่ตัวเองต้องการ)
หากสนใจลงทุนหุ้นและกองทุนรวมหุ้นพร้อมๆ กัน ก็ให้พิจารณาเฉพาะสัดส่วนหุ้นและกองทุนรวมหุ้น (เหตุผลที่ดูลักษณะนี้เพื่อไม่ให้กระทบกับการออกแบบพอร์ตลงทุนโดยรวม) จากนั้นก็แบ่งการลงทุนหุ้นและกองทุนรวมหุ้นตามสัดส่วนที่ต้องการ
การเลือกเพื่อไม่ให้เกิดความซ้ำซ้อน ก็คือ เลือกลงทุนหุ้นที่มีความแตกต่างกัน เช่น หากเลือกลงทุนหุ้นมาร์เก็ตขนาดกลางที่จ่ายเงินปันผลสม่ำเสมอ ก็ต้องเลือกกองทุนรวมหุ้นที่มีนโยบายลงทุนในหุ้นกลุ่มขนาดใหญ่ หรือเลือกกองทุนรวมหุ้นที่มีนโยบายลงทุนในกลุ่มอุตสาหกรรมใดอุตสาหกรรมหนึ่ง เช่น กลุ่มพลังงาน ก็ควรเลือกลงทุนหุ้นกลุ่มอื่นๆ เช่น ธนาคารพาณิย์ สื่อสาร หรือค้าปลีก เป็นต้น ส่วนจำนวนเงินลงทุนขึ้นอยู่กับความต้องการของนักลงทุน เช่น มีหุ้นในพอร์ตแค่ 1 – 2 ตัว ที่เหลือก็ไปลงทุนกองทุนรวมหุ้น หรือมีกองทุน 2 กอง ที่เหลือก็ไปเน้นหุ้นเป็นรายตัว เป็นต้น
เหตุผลที่ควรลงทุนหุ้นโดยตรง เนื่องจากได้ลงทุนในธุรกิจที่ตัวเองต้องการและเป็นการสร้างผลตอบแทนให้พอร์ตในระดับที่ดีได้ ขณะที่การมีกองทุนรวมหุ้นจะเป็นการกระจายความเสี่ยง เพราะมีผู้เชี่ยวชาญคอยดูแลและกระจายการลงทุนไปในหุ้นหลายๆ ตัว ช่วยเพิ่มความปลอดภัยให้กับพอร์ตกรณีที่ตลาดหุ้นมีความผันผวนสูง
อย่างไรก็ตาม นอกจากต้องลงทุนหุ้นตามแผนอย่างมีวินัยแล้ว สิ่งสำคัญที่ละเลยไม่ได้ ก็คือ การตรวจสอบผลการดำเนินงานของพอร์ตลงทุนอย่างสม่ำเสมอ เพื่อปรับเปลี่ยนการลงทุนให้เหมาะสมกับสถานการณ์ และเป็นไปตามเป้าหมายที่วางเอาไว้จึงจะประสบความสำเร็จ