ผลการค้นหา "{{keyword}}" ไม่ปรากฎแต่อย่างใด
การใช้และการจัดการคุกกี้
ธนาคารมีการใช้เทคโนโลยี เช่น คุกกี้ (cookies) และเทคโนโลยีที่คล้ายคลึงกันบนเว็บไซต์ของธนาคาร เพื่อสร้างประสบการณ์การใช้งานเว็บไซต์ของท่านให้ดียิ่งขึ้น โปรดอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมที่ นโยบายการใช้คุกกี้ของธนาคาร
การใช้และการจัดการคุกกี้
ธนาคารมีการใช้เทคโนโลยี เช่น คุกกี้ (cookies) และเทคโนโลยีที่คล้ายคลึงกันบนเว็บไซต์ของธนาคาร เพื่อสร้างประสบการณ์การใช้งานเว็บไซต์ของท่านให้ดียิ่งขึ้น โปรดอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมที่ นโยบายการใช้คุกกี้ของธนาคาร
Bull, Bear, Sideways เป็นอย่างไร พร้อมกลยุทธ์การลงทุน
โดยทั่วไปภาวะตลาดหุ้นแบ่งออกได้ 2 ลักษณะ คือ ตลาดเป็นขาขึ้น หรือที่รู้จักกันดีว่า
ตลาดกระทิง (Bull Market) และตลาดช่วงขาลง หรือตลาดหมี (Bear Market) นอกจากนี้ยังมีตลาดอีกรูปแบบหนึ่ง คือ ตลาดขึ้นไม่มากและลงไม่มาก ไม่มีทิศทางการปรับตัวที่ชัดเจน เราจะเรียกว่าเป็นตลาดไซด์เวย์ (Sideways Market)
เหตุที่เรียกตลาดขาขึ้น ขาลง ว่า กระทิงกับหมี ก็เพราะท่าทางการสู้ และพฤติกรรมการโจมตีเหยื่อของมัน กระทิง เวลามันสู้ มันจะขวิดขึ้น เหมือนราคาหุ้นที่ทะยานขึ้น ส่วนหมีเวลามันสู้ มันจะใช้มือตะปบลง เหมือนราคาหุ้นที่ร่วงลงมานั่นเอง
หากตลาดหุ้นอยู่ในภาวะกระทิง ปัจจัยทุกอย่างจะดูดีไปหมด เช่น ภาวะเศรษฐกิจและความสามารถในการทำกำไรของบริษัทจดทะเบียนมีการเติบโต นักลงทุนเกิดความเชื่อมั่นในการลงทุน และมีปริมาณการซื้อขายหุ้นอย่างคึกคัก ในทางตรงกันข้ามหากเป็นภาวะหมีจะเป็นช่วงที่ปัจจัยพื้นฐาน ภาวะเศรษฐกิจ “ตกต่ำ” และเป็นช่วงที่นักลงทุนเริ่ม “ไม่มั่นใจ” ตลาดหุ้นมีความอ่อนไหว อีกทั้งนโยบายจากทางภาครัฐเกี่ยวกับการกระตุ้นตลาดหุ้นก็อาจไม่มีความชัดเจน
แล้วเราจะรู้ได้อย่างไรว่าตอนนี้เป็นตลาดกระทิงหรือตลาดหมี
ภาวะตลาดหุ้นจะเป็นภาพสะท้อนที่มาจากตลาดสินค้า กล่าวคือ
ถ้าภาวะตลาดการค้าดี ก็จะส่งผลให้ตลาดหุ้นเฟื่องฟูไปด้วย แต่จริงๆ แล้ว ปัจจัยที่บ่งบอกว่าตลาดหุ้นกำลังอยู่ในระยะเฟื่องฟูมีอยู่หลายประการ
ได้แก่
หากตลาดหุ้นมีการปรับตัวขึ้น โดยมีลักษณะตามเงื่อนไขที่กล่าวมา ก็น่าจะเชื่อว่าตลาดกำลังอยู่ในช่วงขาขึ้น ซึ่งเป็นระยะที่เหมาะสมต่อการลงทุน อย่างไรก็ตามนักลงทุนยังมีความจำเป็นที่ต้องวิเคราะห์ปัจจัยต่างๆ ให้ครบถ้วนก่อนลงทุนเสมอ
ในทางตรงกันข้าม
ภาวะที่ตลาดซบเซาหรือที่เรียกว่า ตลาดหมี เป็นระยะที่มูลค่าการซื้อขายหุ้นตกต่ำ ดัชนีราคาหุ้นลดลง หรือมีแนวโน้มลดลงอย่างต่อเนื่อง ซึ่งสามารถดูจากสภาพการณ์
ดังนี้
โดยกลยุทธ์ การลงทุนหากเป็นตลาดกระทิง เราสามารถลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยงในสัดส่วนที่สูงได้ อย่างไรก็ตามนักลงทุนต้องมีความระมัดระวังเรื่องการไล่ราคา ทำให้อาจจะซื้อหุ้นที่มีราคาแพงกว่าความเป็นจริงได้ ดังนั้นการวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานของหุ้น ก็ยังเป็นสิ่งที่นักลงทุนต้องให้ความสำคัญ
หากเป็นตลาดหมี ก็แปลว่า นักลงทุนควรถือเงินสดให้มากกว่าสินทรัพย์เสี่ยง และมีความอดทนรอดูสถานการณ์จนกว่าตลาดจะฟื้นตัว ซึ่งเป็นกลยุทธ์ที่เน้นป้องกันการขาดทุน
อย่างไรก็ตาม มีกลยุทธ์หนึ่งที่น่าสนใจกับการมองหาหุ้นในช่วงตลาดหมี นั่นคือ การลงทุนในหุ้นเน้นคุณค่า (Value Stock) ซึ่งเป็นแนวทางการลงทุนที่เน้นลงทุนในกิจการที่ผู้ลงทุนเชื่อว่ามีราคาหุ้นต่ำกว่ามูลค่าพื้นฐาน โดยการวิเคราะห์มูลค่าทางบัญชีหรือสัดส่วนทางการเงินแบบต่างๆ เช่น มูลค่าหุ้นตามบัญชี (Book Value) สัดส่วนราคาหุ้นต่อกำไร (Price-to-Earning Ratios) สัดส่วนราคาหุ้นต่อมูลค่าตามบัญชี (Price-to-Book Ratios) หรือสัดส่วนเงินปันผล (Dividend Yields) ซึ่งหากนักลงทุนได้ทำการวิเคราะห์หุ้นที่น่าลงทุนไว้เป็นประจำ ในสภาวะที่ตลาดซบเซา อาจจะเป็นโอกาสให้คุณได้ซื้อหุ้นที่มีคุณภาพดีในราคาที่เหมาะสมได้
สำหรับ
กลยุทธ์การลงทุนในตลาดไซด์เวย์ นักลงทุนควรจะเลือกลงทุนในกิจการที่เติบโตได้แม้ในยามที่ภาวะเศรษฐกิจไม่เอื้ออำนวย
เช่น บริษัทอยู่ในอุตสาหกรรมที่ยังเติบโตมีอนาคต ผลประกอบการของบริษัทมีความมั่นคงไม่ผันผวนรุนแรงแม้ว่าภาวะทางเศรษฐกิจจะ “เลวร้าย” หรือพูดง่ายๆ มันเป็นหุ้น “Defensive” ซึ่งเหตุผลที่เราต้องเลือกหุ้นที่มีคุณภาพสูงนั้น เป็นเพราะคุณภาพจะเป็นเครื่องรับประกันว่าบริษัทจะสามารถฟันฝ่าอุปสรรคต่างๆ ไปได้และเมื่ออุปสรรคผ่านพ้นไป มันก็จะกลับมาเติบโตใหม่ได้อย่างรวดเร็ว นอกจากนี้เราควรจะเลือกหุ้นที่มีผลตอบแทนในรูปของเงินปันผลที่ดี เพราะเงินปันผลนี้จะเป็นตัวที่ทำให้ความเสี่ยงที่เราจะเสียหายน้อยลงในกรณีที่ตลาดหุ้นปรับตัวลงแรง ผลตอบแทนจากเงินปันผลนั้นมีความสำคัญอย่างยิ่งยวดในการลงทุน เพราะในช่วงที่ตลาดไม่ดีหรือไม่มีเทรนด์นั้น เงินปันผลอาจคิดเป็นผลตอบแทนกว่า 90% ของผลตอบแทนทั้งหมดด้วยซ้ำ และไม่ว่าตลาดจะเป็นเช่นไรก็ตาม การประเมินมูลค่าเพื่อคัดเลือกหุ้นรายตัว คือสิ่งที่จะทำให้นักลงทุนมีผลตอบแทนดีกว่าตลาดได้
บทความโดย นิภาพันธ์ พูนเสถียรทรัพย์ CFP® นักวางแผนการเงินอิสระ นักเขียนและวิทยากร