Blue Sweep ส่งผลอย่างไรต่อการลงทุน?

จากผลการเลือกตั้งสหรัฐฯ ซึ่งพรรคเดโมแครตมีอำนาจทั้งฝ่ายบริหารและฝ่ายนิติบัญญัติ (Blue Sweep) โดย Kelly Loeffler และ David Perdue พ่ายแพ้ให้แก่ Raphael Warnock และ Jon Ossoff ผู้ท้าชิงจากพรรคเดโมแครต ทำให้พรรคเดโมแครตสามารถครองเสียงข้างมากในวุฒิสภา มีคะแนนเสียง 50 ต่อ 50 เสียง รวมกับอีก 1 เสียงจากคามาลา แฮร์ริส ว่าที่รองประธานาธิบดีสหรัฐฯ ซึ่งจะใช้สิทธิลงคะแนนเสียงดังกล่าวในฐานะประธานวุฒิสภาโดยตำแหน่ง เพื่อชี้ขาดในกรณีที่วุฒิสมาชิกลงคะแนนเสียงเท่ากัน ซึ่ง Blue Sweep นี้อาจส่งผลให้การผลักดันมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจมีโอกาสผ่านความเห็นชอบจากสภาได้ง่ายขึ้นจากการที่ได้ครอง 2 สภา โดยโจ ไบเดนจะเข้าพิธีสาบานตนรับตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐฯ คนที่ 46 ในวันที่ 20 มกราคมนี้ ที่อาคารรัฐสภาในกรุงวอชิงตัน สหรัฐฯ


สำหรับนโยบายในรัฐบาล Blue Sweep ในด้านนโยบายการคลัง จะทำให้สามารถออก Fiscal Expansion มูลค่าอย่างน้อย 1.5-2 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐได้ เพื่อพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ระบบ Health Care และสนับสนุนให้เกิดการใช้นโยบายพลังงานสะอาด (Green Energy) ในส่วนของการลด/เพิ่มภาษี มีความเป็นไปได้ต่ำที่จะขึ้น Income Tax จาก 37% เป็น 39.6% และขึ้น Capital Gain Tax จาก 23.8% เป็น 39.6% แต่ก็มีความเป็นได้สูงที่จะขึ้น Corporate Tax จาก 21% เป็น 28% ในด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ได้มีการสนับสนุน Global Trade และรักษาความสัมพันธ์กับคู่ค้าให้ดีขึ้น เช่น จีน เป็นต้น

blue-sweep-01

นอกจากผลการเลือกตั้งที่จะเป็นตัวกระตุ้นเศรษฐกิจแล้ว ยังมีเรื่องของวัคซีนป้องกันโรค COVID-19 ที่เริ่มมีการใช้อย่างแพร่หลาย โดยคาดว่าสหรัฐฯ จะเป็นหนึ่งในกลุ่มประเทศแรกๆ ที่จะมีวัคซีนใช้ได้อย่างแพร่หลายในปีนี้ ซึ่งจะส่งผลให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจสามารถกลับมาดำเนินการได้อีกครั้ง ประกอบกับรอยแผลเป็นเศรษฐกิจในช่วงที่ผ่านมาน้อยกว่าที่คาดการณ์ จากอัตราการว่างงานที่ลดลงอย่างรวดเร็ว และอัตราการล้มละลายที่เริ่มปรับลดลง ทำให้ความกังวลว่าอาจมีผลต่อการเติบโตของเศรษฐกิจในระยะยาวลดลงกว่าที่ประเมินไว้ ทั้งยังมีการคาดการณ์ว่านโยบายการเงินสหรัฐฯ จะยังคงผ่อนคลายต่อไป โดยคาดว่าธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) จะคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไปจนถึงสิ้นปี 2024 เป็นอย่างน้อย ซึ่งจากปัจจัยดังกล่าวคาดว่าเศรษฐกิจสหรัฐฯ อาจเติบโตถึง 3.5%


นอกจากนี้ รัฐบาล Blue Sweep ยังจะส่งผลดีต่อการลงทุนในระยะยาว ประกอบกับปัจจัยอื่นๆ เช่น

  • ว่าที่รัฐมนตรีว่าการกระทรางการคลังที่ประสบการณ์แน่นอย่าง เจเน็ต เยลเลน มีประสบการณ์ในการบริหารนโยบายเศรษฐกิจสำคัญๆ ตั้งแต่ยุคของ Alan Greenspan อีกทั้งยังเป็นคนแรกที่นั่ง 3 ตำแหน่งสำคัญที่วางนโยบายเศรษฐกิจของสหรัฐฯ ได้แก่ ประธานสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจ (Chair of The Council of Economic Advisers, ประธานธนาคารกลางสหรัฐฯ (Chairman of the Federal Reserve) และล่าสุดรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง (Treasury Secretary) โดยคาดว่าเยลเลนจะสามารถขับเคลื่อนนโยบายการคลังได้อย่างละเอียดรอบคอบ และจะสามารถประสานงานกับ เจอโรม พาวเวลล์ ประธาน Fed คนปัจจุบันได้เป็นอย่างดี
  • ความเสี่ยงจากการขึ้นภาษีเริ่มมีความเป็นไปได้มากขึ้น ทั้งนี้ ความรุนแรงจะขึ้นอยู่กับขนาดของนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจถัดไปหลังจากที่ไบเดนขึ้นรับตำแหน่งอย่างเป็นทางการ หากนโยบายใหญ่กว่าที่คาดไว้ จะทำให้ต้องใช้นโยบายภาษีเข้ามาเกี่ยวข้องมากขึ้นเพื่อป้องกันการขาดดุลเพิ่มเติม
  • ตามที่ตลาดหุ้นทั่วโลกหลักๆ ได้ปรับตัวขึ้นมาค่อนข้างเยอะ (ประมาณ 20% ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2020) ที่เราเริ่มเห็นสัญญาณเตือนการปรับฐานในตลาด เช่น Valuation, Risk Sentiment, Bond Yield และ Dollar คาดว่าภาพ Blue Sweep อาจจะนำไปสู่ประเด็นเรื่องขึ้นภาษี ซึ่งจะเป็นตัวจุดชนวนในการปรับฐานรอบนี้ของตลาด ซึ่งนับว่าเป็นโอกาสที่ดีในการเข้าสะสมการลงทุนในกองทุนหุ้น เพื่อการเติบโตของพอร์ตการลงทุนในระยะยาว

ทั้งนี้ บลจ.ไทยพาณิชย์ มีกองทุนที่แนะนำ ได้แก่ กองทุนเปิดไทยพาณิชย์ หุ้นยูเอส แอคทีฟ (SCBUSA) ลงทุนในหน่วยลงทุนของกองทุนรวมต่างประเทศเพียงกองทุนเดียว ได้แก่ Morgan Stanley Investment Fund-US Growth Fund (กองทุนหลัก) เน้นลงทุนหุ้นบริษัทขนาดใหญ่ที่มั่นคง และบริษัทกำลังโตที่มีศักยภาพสูงในสหรัฐฯ ภายใต้กลยุทธ์ของกองทุนหลักที่เน้นวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานเชิงลึกของหุ้นรายตัว (Bottom-up Security Selection) เป็นปัจจัยหลักสำคัญในการลงทุนระยะยาว และ กองทุนเปิดไทยพาณิชย์ ยูเอสสมอลแคป (SCBUSSM) ลงทุนในหน่วยลงทุนของกองทุนรวมต่างประเทศเพียงกองทุนเดียว ได้แก่ กองทุน Granahan US Focused Growth UCITS (กองทุนหลัก) เน้นลงทุนในหุ้นของบริษัทขนาดเล็กในสหรัฐฯ


ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไข ผลตอบแทน และความเสี่ยง และควรขอคำแนะนำเพิ่มเติมจากผู้ประกอบธุรกิจก่อนทำการลงทุนก่อนตัดสินใจลงทุน สนใจสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมและรับหนังสือชี้ชวนได้ทุกวันทำการ ได้ที่ SCBAM Call Center โทร. 0 2777 7777 กด 0 กด 6 หรือผู้สนับสนุนการขายทุกราย


บทความโดย คุณณรงค์ศักดิ์ ปลอดมีชัย ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน ไทยพาณิชย์ จำกัด


ขอบคุณข้อมูล : The Standard Weath