ผลการค้นหา "{{keyword}}" ไม่ปรากฎแต่อย่างใด
การใช้และการจัดการคุกกี้
ธนาคารมีการใช้เทคโนโลยี เช่น คุกกี้ (cookies) และเทคโนโลยีที่คล้ายคลึงกันบนเว็บไซต์ของธนาคาร เพื่อสร้างประสบการณ์การใช้งานเว็บไซต์ของท่านให้ดียิ่งขึ้น โปรดอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมที่ นโยบายการใช้คุกกี้ของธนาคาร
การใช้และการจัดการคุกกี้
ธนาคารมีการใช้เทคโนโลยี เช่น คุกกี้ (cookies) และเทคโนโลยีที่คล้ายคลึงกันบนเว็บไซต์ของธนาคาร เพื่อสร้างประสบการณ์การใช้งานเว็บไซต์ของท่านให้ดียิ่งขึ้น โปรดอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมที่ นโยบายการใช้คุกกี้ของธนาคาร
จัดพอร์ตเฟ้น ‘กองทุนรวม’ อย่างไรให้รอดในวันที่เศรษฐกิจผันผวน
ต้องยอมรับว่าการลงทุนในปี 2565 ไม่ใช่เรื่องง่าย จากสถานการณ์ความไม่แน่นอนทางด้านเศรษฐกิจ สังคม และความมั่นคงทางด้านสุขภาพของคนทั้งโลก ทำให้ความหวังที่จะเห็นเศรษฐกิจเติบโตภายหลังโควิดและทำให้พอร์ตการลงทุนมีกำไรสูงๆ อาจเป็นเรื่องที่ท้าทาย เพราะเมื่อลองกางภาพใหญ่เราจะพบ ‘3 ห่วง’ แห่งความกังวล คือ
ห่วงแรก คือทิศทางการดำเนินนโยบายการเงินของธนาคารกลางหลักแบบตึงตัว
ดอกเบี้ยยังมีแนวโน้มเป็นขาขึ้น ตลาดคาดการณ์ว่าธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) และธนาคารกลางยุโรป (ECB) อาจมีการเร่งขึ้นดอกเบี้ยเร็วและแรง เพื่อสกัดเงินเฟ้อไม่ให้เร่งตัวมากจนเกินไป โดยมีการคาดการณ์กันว่า Fed จะขึ้นดอกเบี้ยในทุกการประชุมที่เหลือของปีนี้ ทำให้ปีนี้น่าจะมีการขึ้นดอกเบี้ยราวๆ 1.75-2.00% ในปีนี้ และจะปรับขึ้นอีก 3 ครั้ง ในปีหน้า สู่ระดับ 2.50-2.75% พร้อมทั้งส่งสัญญาณการปรับลดขนาดงบดุลทางการเงิน (Quantitative Tightening) ในอัตราเดือนละ 9.5 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งจะเริ่มในเดือนพฤษภาคมนี้
ห่วงสอง คือวิกฤตรัสเซีย-ยูเครนยังมีความไม่แน่นอนสูง
หากสถานการณ์สงครามและการคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจจากประชาคมโลกมีแนวโน้มแพร่ขยาย ยืดเยื้อ และรุนแรงขึ้น จะส่งผลให้ราคาสินค้าโภคภัณฑ์ โดยเฉพาะราคาพลังงานและอาหารเร่งตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง
ห่วงสุดท้าย คืออัตราผลตอบแทนพันธบัตรในประเทศ
Emerging Markets ที่ Sensitive ต่อเงินเฟ้อ เช่น บราซิล ตุรกี ยังอยู่ในระดับสูงและมีความเสี่ยงอยู่มาก โดยเฉพาะรัสเซีย ขณะที่ Asian Bond Yields ยังอยู่ในระดับที่ไม่สูงมาก เนื่องจากการเร่งตัวของอัตราเงินเฟ้อยังไม่น่ากังวล จึงส่งผลให้ไม่มีแรงกดดันให้ธนาคารกลางต้องรีบขึ้นดอกเบี้ย
นักลงทุนจึงจำเป็นต้องวางแผนการลงทุนอย่างรอบคอบ เพื่อกระจายความเสี่ยงไปยังสินทรัพย์ที่หลากหลายมากขึ้น เช่น เดิมเคยลงทุนเน้นแต่กองทุนหุ้น Growth อาจจะต้องหันกลับมามองกองทุนหุ้น Value กองทุนสินค้าโภคภัณฑ์อย่างน้ำมัน ทองคำ สินค้าอุปโภคบริโภค และพลังงานทดแทน เป็นต้น หรืออาจลงทุนผ่านกองทุน SCBCIO (กองทุนเปิดไทยพาณิชย์ Cross Asset Investment Opportunity) ที่เป็นกองทุนผสม สามารถปรับเปลี่ยนพอร์ตตามสภาวะตลาด ผ่านการลงทุนในกองทุนรวมและสินทรัพย์ต่างๆ ทั้งในและต่างประเทศ เหมาะกับนักลงทุนที่ไม่มีเวลาติดตามและปรับพอร์ตการลงทุนให้สอดคล้องกับภาวะตลาด และเพื่อเสริมประสิทธิภาพในการบริหารจัดการกองทุน
ทาง บลจ. จึงได้แต่งตั้งให้ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) ซึ่งมีประสบการณ์จากการทำ Open Architecture ครอบคลุมหลากหลายกองทุนครบทุกประเภทสินทรัพย์จากหลายบริษัทจัดการกองทุนในไทยเป็นที่ปรึกษาการลงทุน ในการแนะนำกองทุนที่บริหารจัดการโดย บลจ. ต่างๆ เพื่อให้กองทุน SCBCIO เป็นกองทุน ONE-Stop Fund ที่สามารถปรับเปลี่ยนพอร์ตได้แบบไร้ข้อจำกัด เพื่อสร้างผลตอบแทนตามเป้าหมายและกรอบความเสี่ยงที่วางไว้
โดยปัจจุบันมี 5 กลยุทธ์สำคัญที่สอดรับกับสถานการณ์ คือ
1. เน้นถือสินทรัพย์สภาพคล่อง เพื่อรอทยอยลงทุนในตลาดหุ้น
เนื่องจากสถานการณ์วิกฤตยูเครนที่มีความไม่แน่นอนสูง ประกอบกับ Bond Yield ใน Develop Market ที่มีแนวโน้มทยอยเพิ่มสูงขึ้น จะทำให้สินทรัพย์เสี่ยงส่วนใหญ่เคลื่อนไหวผันผวน
2. ระมัดระวังการลงทุนในหุ้นกู้ต่างประเทศ
เลี่ยงการลงทุนตราสารหนี้ในกลุ่ม High Yield ของประเทศจีน ที่มีความเสี่ยงการผิดนัดชำระหนี้ในกลุ่มผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ เลี่ยงการลงทุนตราสารหนี้ที่เกี่ยวข้องกับรัสเซีย และระมัดระวังการลงทุนในตราสารหนี้ที่ออกโดยธนาคารในยุโรป
3. คงสัดส่วนการลงทุนหุ้นกลุ่ม Growth ต่อ Value ที่ 50:50
โดยหุ้นกลุ่ม Quality Growth มีแนวโน้มทนทานต่อความผันผวนในตลาดการเงิน และกลุ่มยังมีงบการเงินที่แข็งแกร่ง ส่วนกลุ่ม Value มีแนวโน้มได้อานิสงส์จาก Bond Yield ที่เพิ่มขึ้น
4. จับจังหวะสะสมตลาดหุ้นไทยและเวียดนาม
ผลกระทบจากวิกฤตยูเครนต่อทั้ง 2 ประเทศ ยังมีจำกัด คาดว่าธนาคารกลางไทยและเวียดนามจะยังเน้นนโยบายที่กระตุ้นเศรษฐกิจ ขณะที่ผลกระทบต่อผลประกอบการน่าจะอยู่ในระดับที่จัดการได้ โดย Valuation ของตลาดเริ่มน่าสนใจมากขึ้น
5. ให้น้ำหนักการลงทุนในสินค้าโภคภัณฑ์
เนื่องจากเป็นกลุ่มสินทรัพย์ที่ราคามีแนวโน้มปรับเพิ่มขึ้นตามความกังวลต่อวิกฤตรัสเซีย-ยูเครน และเป็นกลุ่มสินทรัพย์ที่ใช้ป้องกันความเสี่ยงจากอัตราเงินเฟ้อที่มีแนวโน้มสูงขึ้น (Inflation Hedge)
สำหรับนักลงทุนที่ต้องการเฟ้นหากองทุนที่เหมาะกับไลฟ์สไตล์ของตัวเองจะช่วยให้การลงทุนมีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยเฉพาะคนที่ไม่มีเวลาติดตามสถานะพอร์ตลงทุนของตนเอง กองทุน SCBCIO ถือเป็นอีกหนึ่งกองทุนที่มีการกระจายสินทรัพย์ (Asset Allocation) ที่เหมาะสม และมีการปรับพอร์ตการลงทุนอย่างต่อเนื่องตามระดับความเสี่ยงและสถานการณ์ตลาดในขณะนั้น เปรียบเสมือนอาหารจาน Masterpiece ที่มีเชฟมืออาชีพคัดสรรวัตถุดิบที่ดีที่สุด ปรุงอย่างดีที่สุด เพื่อให้นักลงทุนได้ลิ้มรสชาติความกลมกล่อมของผลตอบแทนที่พึงพอใจ
ข้อมูล ณ วันที่ 24 เมษายน 2565
บทความโดย คุณนันท์มนัส เปี่ยมทิพย์มนัส Chief Investment Officer บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน ไทยพาณิชย์ จำกัด
ที่มา :
The Standard Wealth