ผลการค้นหา "{{keyword}}" ไม่ปรากฎแต่อย่างใด
การใช้และการจัดการคุกกี้
ธนาคารมีการใช้เทคโนโลยี เช่น คุกกี้ (cookies) และเทคโนโลยีที่คล้ายคลึงกันบนเว็บไซต์ของธนาคาร เพื่อสร้างประสบการณ์การใช้งานเว็บไซต์ของท่านให้ดียิ่งขึ้น โปรดอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมที่ นโยบายการใช้คุกกี้ของธนาคาร
การใช้และการจัดการคุกกี้
ธนาคารมีการใช้เทคโนโลยี เช่น คุกกี้ (cookies) และเทคโนโลยีที่คล้ายคลึงกันบนเว็บไซต์ของธนาคาร เพื่อสร้างประสบการณ์การใช้งานเว็บไซต์ของท่านให้ดียิ่งขึ้น โปรดอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมที่ นโยบายการใช้คุกกี้ของธนาคาร
3 ปัจจัยที่ต้องจับตา ก่อนเริ่มปั้นพอร์ตลงทุนรับปีมังกรทอง 2567
แม้ว่าในปี 2567 มีโอกาสที่จะเป็นปีที่ดีต่อการลงทุน เพราะมีการคาดการณ์ว่า ประเด็นความกังวลเรื่องเงินเฟ้อทั่วโลกจะเบาบางลง และอัตราดอกเบี้ยนโยบายได้ผ่านจุดสูงสุดไปแล้ว ขณะที่เม็ดเงินลงทุนในช่วงที่ผ่านมากระจุกตัวอยู่ในเงินฝาก และตลาดเงิน (money markets) ค่อนข้างมาก ดังนั้นใน ปี 2567 นี้ จึงคาดว่า นักลงทุนจะมีความต้องการลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยงมากขึ้น เพื่อแสวงหาผลตอบแทนจากการลงทุน
อย่างไรก็ตาม ด้วยความที่อัตราดอกเบี้ยค้างอยู่ระดับสูงเป็นเวลาค่อนข้างนาน ส่งผลให้สภาวะเศรษฐกิจในแต่ละประเทศได้รับผลกระทบ ชะลอตัวลงไม่เหมือนกัน บางประเทศมีโอกาสจะชะลอตัวมาก บางประเทศชะลอตัวในระดับที่บริหารจัดการได้ รวมถึงหนี้สินในบางภาคธุรกิจที่อยู่ในระดับสูง
ความไม่แน่นอนยังคงมีอยู่ในการลงทุนเสมอ นักลงทุนจึงควรเน้นคัดเลือกลงทุนในกลุ่มสินทรัพย์ที่มีคุณภาพสูง (Quality Growth) เพื่อก้าวข้ามปัจจัยความไม่แน่นอนของเศรษฐกิจโลกไปได้อย่างมั่นคง
3 ปัจจัยที่ต้องจับตา ก่อนเริ่มปั้นพอร์ตลงทุนรับปีมังกรทอง 2567
ก่อนอื่น อยากชวนมาทำความเช้าใจแนวโน้มเศรษฐกิจและการลงทุน ในปี 2567 ซึ่งมี 3 ปัจจัยสำคัญ ดังนี้
1) เศรษฐกิจแต่ละประเทศชะลอตัวไม่เหมือนกัน
ภาพรวมเศรษฐกิจโลกในปี 2567 จะอยู่ในภาวะที่แต่ละประเทศชะลอตัวไม่เหมือนกัน (Uneven slowdown) จากภาวะดอกเบี้ยสูงขึ้นต่อเนื่องและค้างไว้เป็นเวลานาน (Higher for longer) ในหลายประเทศทั่วโลก ซึ่งคาดว่าจะอยู่ไปจนถึงช่วงกลางปี 2567 เป็นอย่างน้อย โดยการชะลอตัวของเศรษฐกิจ จะมาจากการชะลอตัวของภาคการส่งออก รวมทั้งภาคธุรกิจที่อ่อนไหวสูงต่อดอกเบี้ย ได้แก่ ภาคอสังหาริมทรัพย์ และภาคก่อสร้าง ทั้งนี้ ประเทศที่ยังมีตลาดแรงงานและค่าจ้างเติบโต จะมีกำลังซื้อในประเทศ ช่วยทำให้ภาพรวมเศรษฐกิจยังชะลอตัวแบบจัดการได้ (soft landing) เช่น สหรัฐฯ และญี่ปุ่น ส่วนประเทศที่พึ่งพาการส่งออกมาก และมีปัจจัยถ่วงเฉพาะตัว เช่น การฟื้นตัวช้าของภาคอสังหาริมทรัพย์ มีโอกาสที่เศรษฐกิจจะชะลอตัวค่อนข้างมาก เช่น จีน และ เวียดนาม
2) ดอกเบี้ยสูงค้างนาน แต่ตลาดก็คาดหวังเห็นการลดดอกเบี้ยในช่วงครึ่งปีหลัง
อัตราดอกเบี้ยแม้จะสูงนาน แต่ตลาดก็มีความคาดหวังจะเห็นการลดดอกเบี้ยในครึ่งปีหลัง จากการชะลอตัวของเศรษฐกิจและอัตราเงินเฟ้อ โดย SCB CIO มีมุมมองว่า ธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) และธนาคารกลางยุโรป (ECB) จะเริ่มลดดอกเบี้ยในไตรมาส 3/2567 ขณะที่ ธนาคารกลางญี่ปุ่น คาดว่า จะปรับมาตรการควบคุมเส้นอัตราผลตอบแทนพันธบัตร (Yield Curve Control : YCC) ให้เข้มงวดขี้น ในช่วงเดือน เม.ย. 2567 แล้วจึงจะยกเลิกทั้งมาตรการ YCC และนโยบายอัตราดอกเบี้ยติดลบ (NIRP) ในเดือนต.ค.2567 โดยธนาคารกลางกลุ่มประเทศ Emerging markets ส่วนใหญ่ เช่น จีน เวียดนาม อินโดนีเซีย และ อินเดีย มีแนวโน้มปรับลดดอกเบี้ย ในปี 2567 อย่างไรก็ดี แม้ตลาดคาดหวังการผ่อนคลายนโยบายการเงินของธนาคารกลางต่างๆ แต่ในส่วนของนโยบายการคลังนั้น หากประเทศที่มีหนี้สาธารณะสูงอยู่แล้วมีแนวโน้มจะทำมาตรการการคลังขนาดใหญ่ ก็จะทำให้ตลาดมีความกังวล และส่งผลทำให้อัตราผลตอบแทนพันธบัตรสูงขึ้น และค่าเงินอ่อนค่าลง
3) ความเสี่ยงจากภาวะเศรษฐกิจโตช้า แต่เงินเฟ้อสูง (Stagflation) รวมถึงจากภาคธุรกิจมีหนี้ใกล้ครบกำหนดจำนวนมาก ทำให้อาจต้องกู้ยืมใหม่ในอัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้น
ความเสี่ยงที่นักลงทุนควรติดตาม ได้แก่ ความเสี่ยงด้าน Stagflation คือเศรษฐกิจโตช้า แต่เงินเฟ้อสูง โดย SCB CIO ประเมินว่ากลุ่มประเทศในยุโรป โดยเฉพาะอังกฤษมีความเสี่ยงที่จะเกิดภาวะนี้สูงกว่าภูมิภาคอื่น ในขณะที่ภาคธุรกิจที่มีหนี้ใกล้ครบกำหนดจำนวนมาก ก็อาจมีความเสี่ยงที่จะต้องกู้ยืมใหม่ (rollover) ในอัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้นมาก สะท้อนจากอัตราผลตอบแทนตราสารหนี้ (Yield to Worst) ของกลุ่มหุ้นกู้ที่ให้ผลตอบแทนสูง (High Yield) ในสหรัฐฯ ที่ล่าสุดอยู่ในระดับ 8.6% (เทียบกับ 5.1% ในช่วงต้นปี 2563) หรือกรณี yield หุ้นกู้ไทย rating BBB อายุ 5 ปี ที่ล่าสุดอยู่ที่ 5.6% (เทียบกับ 4.2% ในช่วงต้นปี 2563)
วันนี้ SCB CIO มีกลยุทธ์และกองทุนแนะนำ เพื่อให้ผู้ลงทุนได้ลงทุนในสินทรัพย์คุณภาพสูง 2 ธีมน่าลงทุน ได้แก่
ธีมการลงทุน 1 : หุ้นกู้ Investment Grade
· หุ้นกู้ Investment Grade ยังคงเป็นคำตอบที่จะทำให้เราลงทุนได้อย่างสบายใจและได้ผลตอบแทนที่เหมาะสม สามารถเลือกลงทุน กับ
กองทุน SCBDBOND กองทุนเปิดไทยพาณิชย์ Dynamic Bond (ชนิดสะสมมูลค่า)
ที่เน้นลงทุนตราสารหนี้ภาครัฐ-เอกชนคุณภาพดีระดับ Investment Grade ทั้งในประเทศและต่างประเทศ
·
จุดเด่นกองทุน
คือ เน้นลงทุนตราสารคุณภาพดี เฉลี่ยในระดับ Investment Grade ช่วยเพิ่มโอกาสการลงทุนในยีลด์สูงในต่างประเทศ ปรับเปลี่ยนอายุตราสารตามภาวะตลาด และตั้งเป้าสร้างผลตอบแทนเป็นบวก
·
เหมาะสำหรับ
ผู้ลงทุนที่คาดหวังสร้างผลตอบแทนสม่ำเสมอ ความผันผวนต่ำ สามารถใช้เป็น Core Portfolio สำหรับการลงทุนตราสารหนี้
·
ระดับความเสี่ยง
: 4 ความเสี่ยงปานกลางค่อนข้างต่ำ
·
SCBDBOND(A) IPO 8 ม.ค. 67 - 15 ม.ค. 67 และลงทุนต่อเนื่องได้ตั้งแต่ 23 ม.ค. 67
ธีมการลงทุน 2 : หุ้นที่เติบโตอย่างมีคุณภาพ
เมื่อเรานำปัจจัยต่างๆมาพิจารณา โดยเฉพาะภาวะอัตราดอกเบี้ยสูง higher for longer ที่จะยังคงอยู่ การลงทุนในหุ้นจึงอยากให้เน้นย้ำในเรื่องของคุณภาพการเติบโต(quality growth) แนะนำทยอยสะสมหุ้นในตลาดหุ้นสหรัฐฯ และ อินเดีย ที่เป็นกลุ่ม Quality Growth มีกำไรเติบโตสม่ำเสมอ และมีงบดุลที่แข็งแกร่ง
กองทุนหุ้นน่าสนใจ มี 4 กองทุน ได้แก่
1) SCBDJI(A) กองทุนเปิดไทยพาณิชย์ หุ้นยูเอส ดีเจไอ (ชนิดสะสมมูลค่า)
o จุดเด่นกองทุน คือ สะท้อนผลตอบแทนจากการเคลื่อนไหวของดัชนี Dow Jones ของสหรัฐฯ
o เหมาะสำหรับ ผู้ลงทุนที่ต้องการลงทุนในหุ้น Dow Jones ของสหรัฐฯ และผู้ลงทุนที่สามารถรับความผันผวนของราคาหุ้นที่กองทุนรวมไปลงทุน ซึ่งอาจจะปรับตัวเพิ่มสูงขึ้น หรือลดลงจนต่ำกว่ามูลค่าที่ลงทุนและทำให้ขาดทุนได้
o ระดับความเสี่ยง : 6 ความเสี่ยงสูง
2) SCBS&P500A กองทุนเปิดไทยพาณิชย์ หุ้นยูเอส (ชนิดสะสมมูลค่า)
o จุดเด่นกองทุน คือ สะท้อนผลตอบแทนจากการเคลื่อนไหวของดัชนี S&P500 ของสหรัฐฯ
o เหมาะสำหรับ ผู้ลงทุนที่ต้องการลงทุนในหุ้นขนาดใหญ่ 500 บริษัทแรกของสหรัฐฯ และผู้ลงทุนที่สามารถรับความผันผวนของราคาหุ้นที่กองทุนรวมไปลงทุน ซึ่งอาจจะปรับตัวเพิ่มสูงขึ้น หรือลดลงจนต่ำกว่ามูลค่าที่ลงทุนและทำให้ขาดทุนได้
o ระดับความเสี่ยง : 6 ความเสี่ยงสูง
3) TMBUSBLUECHIP กองทุนเปิดทหารไทย US Blue Chip Equity (ชนิดไม่จ่ายเงินปันผล)
o จุดเด่นกองทุน คือ ลงทุนในหุ้นชั้นดีของบริษัทในประเทศสหรัฐอเมริกา กองทุนอาจมีการลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้าเพื่อหวังผลกำไร บริหารจัดการโดย T. Rowe Price International Ltd
o เหมาะสำหรับ ผู้ลงทุนที่สามารถรับความเสี่ยงจากการลดลงของเงินต้นจากการลงทุนในหุ้น เพื่อแลกกับโอกาสที่ได้รับผลตอบแทนมากกว่าการลงทุนในตราสารหนี้ทั่วไป และ ผู้ลงทุนที่ต้องการลงทุนในพอร์ตโฟลิโอที่มีการกระจายความเสี่ยงของหุ้นชั้นดี
o Morning Star Rating Type: Overall Rating 3 ดาว จาก MorningStar ประเภท India Equity ณ 31 ต.ค. 2566
o ระดับความเสี่ยง: 6 ความเสี่ยงสูง
4) KT-INDIA-A กองทุนเปิดเคแทม อินเดีย อิควิตี้ ฟันด์ (ชนิดสะสมมูลค่า)
o จุดเด่นกองทุน คือ ลงทุนในหน่วยลงทุนของกองทุน Invesco India Equity Fund – Class A (กองทุนหลัก) โดยลงทุนส่วนใหญ่ในตราสารทุน หรือตราสารที่คล้ายคลึงกันของบริษัทอินเดีย
o เหมาะสำหรับ ผู้ลงทุนที่สามารถลงทุนในระยะกลางถึงระยะยาว โดยคาดหวังผลตอบแทนในระยะยาวที่ดีกว่าการลงทุนในตราสารหนี้ทั่วไป สามารถรับความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศได้ และ ต้องการสะสมผลประโยชน์จากการลงทุน (Total Return)
o MorningStar Rating / Type: Overall Rating 3 ดาว จาก MorningStar ประเภท US Equity Large Cap Blend ณ 31 ต.ค. 2566
o ระดับความเสี่ยง : 6 ความเสี่ยงสูง
กองทุนรวมที่มีผู้เชี่ยวชาญจัดพอร์ตให้ มี 2 กองทุน ได้แก่
1) SCBCIO(A) กองทุนเปิดไทยพาณิชย์ Cross Asset Investment Opportunity (ชนิดสะสมมูลค่า)
o
จุดเด่นกองทุน
คือ ลงทุนในหน่วยลงทุนของกองทุนรวม เช่น หน่วย CIS หน่วยของกองทุนอีทีเอฟ (ETF) ที่ลงทุนในสินทรัพย์ต่าง ๆ กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ หน่วยทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ (REITs) กองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน หน่วย private equity เป็นต้น โดยลงทุนในหน่วยลงทุนดังกล่าวตั้งแต่ 2 กองทุนขึ้นไป โดยจะลงทุนในกองทุนใดกองทุนหนึ่งโดยเฉลี่ยในรอบปีบัญชีไม่เกินร้อยละ 79 ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุน
o เหมาะสำหรับ ผู้ลงทุนที่รับความเสี่ยงปานกลาง และรับความผันผวนระหว่างทางได้เนื่องจากมีการลงทุนในหุ้น
o ระดับความเสี่ยง : 5 ความเสี่ยงปานกลางค่อนข้างสูง
2) SCBGA(A) กองทุนเปิดไทยพาณิชย์ Global Allocation (ชนิดสะสมมูลค่า)
o
จุดเด่นกองทุน
คือ เน้นลงทุนเพื่อการเติบโตของเงินลงทุนในระยะยาว โดยกระจายการลงทุนในสินทรัพย์ หมวดอุตสาหกรรม และประเทศต่างๆ ทั่วโลก
o เหมาะสำหรับ ผู้ลงทุนที่ต้องการผลตอบแทนผ่านการเพิ่มมูลค่าของหน่วยลงทุนเป็นหลัก (Total return)
o ระดับความเสี่ยง : 5 ความเสี่ยงปานกลางค่อนข้างสูง
ถึงตรงนี้...หากคุณมีคำถามในใจว่า “จะเริ่มปั้นพอร์ตลงทุนรับปีมังกรทอง 2567 เริ่มจากตรงไหนดี?”
เริ่มจากการทยอยลงทุนกับกองทุนแนะนำจาก SCB CIO ในบทความนี้ เพื่อให้ผู้ลงทุนได้ลงทุนในสินทรัพย์คุณภาพสูง จากทั้ง 2 ธีมน่าลงทุน คือคำตอบครับ
สนใจลงทุน เริ่มต้นยังไง ?
ใครสนใจ เริ่มต้นวันนี้ ด้วยการดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน SCB Easy แล้วทำตาม 3 ขั้นตอนง่ายๆนี้
1. เปิดบัญชีกองทุนผ่าน SCB Easy App
2. ผูกบัญชีกองทุนบน SCB Easy App
3. ซื้อกองทุนผ่าน SCB Easy App
รายละเอียดเพิ่มเติม
คัดสรรกองทุนเด่นจากหลากหลาย บลจ. ชั้นนำโดยผู้เชี่ยวชาญ SCB CIO
ลงทุนสะดวก ง่าย ครบ จบในที่เดียวบนแอป SCB EASY
หมายเหตุ (
*ข้อมูลจาก SCBCIO ณ 8 ธ.ค. 2566)
• การลงทุนมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน ความเสี่ยง รวมถึงควรขอคำแนะนำเพิ่มเติมจากผู้ประกอบธุรกิจก่อนตัดสินใจลงทุน
• ผลการดำเนินงานในอดีตมิได้เป็นสิ่งยืนยันผลการดำเนินงานในอนาคต
• กองทุน SCBCIO(A) ได้ให้ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)เป็นที่ปรึกษาการลงทุน ซึ่งธนาคารฯเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่และเป็นตัวแทนสนับสนุนการซื้อขายกองทุนรวมกับบลจ.ไทยพาณิชย์ จึงอาจมีธุรกรรมที่อาจก่อให้เกิดความขัดแย้งทางผลประโยชน์
• เนื่องจากกองทุนไม่ได้ป้องกันความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยนทั้งจำนวน ผู้ลงทุนอาจขาดทุนหรือได้รับกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยนหรือได้รับเงินคืนต่ำกว่าเงินลงทุนเริ่มแรกได้
• ศึกษาข้อมูลกองทุนหลักและหนังสือชี้ชวนกองทุนที่ร่วมรายการเพิ่มเติมได้จาก website ของบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนรวม www.scbam.com www.ktam.co.th www.eastspring.co.th และสามารถศึกษารายละเอียดกองทุนรวมเพิ่มเติมผ่าน SCB EASY App • สอบถามรายละเอียดและข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ SCB Call Center โทร. 02-777-7777
#ปั้นพอร์ตลงทุนรับปีมังกรทอง 2567
#SCB #SCBWealth #SCBEASY #นิ้วโป้ง