แม่ค้าบอกต่อ! 5 ข้อดีขายอาหารบนแอป Robinhood

การสั่งฟู้ดเดลิเวอร์รี่มาทานที่บ้านดูจะเป็นเรื่องปกติของคนในยุคนี้ทำให้ร้านค้าที่เคยขายเฉพาะออฟไลน์ต้องปรับตัวเพื่อให้ทันกับพฤติกรรมของผู้บริโภค ยิ่งมีวิกฤติโควิดเป็นตัวเร่งให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างเร็วขึ้นไปอีก คนทำธุรกิจร้านอาหารที่พอจะมีต้นทุนสักหน่อยก็จะไปเปิดร้านตามแฟลตฟอร์มฟู้ดเดลิเวอร์รี่ แต่ปัญหาที่พบคือกำไรไม่ได้มากอย่างที่คิดเพราะต้องเสียค่าคอมมิชชันให้กับแพลตฟอร์มในอัตราประมาณ 30% ยกตัวอย่างเช่น ขายก๋วยเตี๋ยว 2 ถุงในราคา 80 บาท ต้องจ่ายค่าคอมมิชชันหรือที่เรียกว่าค่า GP ให้แพลตฟอร์มเป็นเงิน 24 บาท ร้านค้าได้รับเงินค่าก๋วยเตี๋ยว 56 บาท เมื่อเป็นอย่างนี้ร้านเล็กๆ ของคนตัวเล็กที่เงินทุนไม่มากพอจึงแทบไม่มีโอกาสเปิดร้านบนแพลตฟอร์มฟู้ดเดลิเวอร์รี่ได้เลย  แต่ในวันนี้ได้มี Robihhood แพลตฟอร์มฟู้ดเดลิเวอรีสัญชาติไทย โดยบริษัท เพอร์เพิล เวนเจอร์ส จำกัด ในเครือ SCB10X พัฒนาขึ้นเพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการร้านอาหารโดยเฉพาะร้านเล็ก ๆ ในการเพิ่มโอกาสการขาย ข้อดีของการเปิดร้านขายอาหารออนไลน์บนแพลตฟอร์ม Robinhood มีอะไรดีบ้างไปดูกัน

1.  ลดต้นทุน เพิ่มช่องทางขาย ช่วยขยายฐานลูกค้า

ในสภาพเศรษฐกิจซบเซาการเปิดร้านออนไลน์คือทางรอด ยิ่งร้านอาหารด้วยแล้วมีต้นทุนมากมายนอกจากค่าวัตถุดิบที่เป็นต้นทุนหลักยังมีค่าเช่าสถานที่ ค่าตกแต่งร้าน ค่าจ้างพนักงานและอีกจิปาถะ การขายออนไลน์จึงเป็นการลดต้นทุนที่ดีที่สุดเพราะไม่ต้องคำนึงถึงทำเลหรือสถานที่ในการตั้งร้านช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายในการเช่าสถานที่หรือตกแต่งร้าน ไม่จำเป็นต้องสร้างร้านขนาดใหญ่โตแค่มีคูหาเล็กๆ หรือทำที่บ้านพักก็ขายออนไลน์ได้ แถมไม่ต้องกังวลเรื่องเวลาเปิด-ปิดร้าน ไม่ต้องเสียเงินจ้างพนักงานเสิร์ฟ ไม่ต้องล้างจานชามที่กล่าวมานี้ทุกอย่างคือต้นทุน แต่เมื่อเปลี่ยนมาขายออนไลน์จะช่วยลดต้นทุนในด้านนี้ออกไปได้เยอะ นอกจากนี้ในเรื่องฐานลูกค้าก็สามารถขยายในวงกว้างได้มากกว่าเดิมจากที่แต่ก่อนขายได้เฉพาะคนในพื้นที่ละแวกใกล้เคียงก็สามารถขายได้ทั่วเขตที่มีการส่งฟู้ดเดลิเวอร์รี่

2. ไม่ต้องเสียค่าคอมมิชชันให้แพลตฟอร์มในอัตราสูง

ตามปกติแล้วแอปพลิเคชัน Food delivery จะมีค่าคอมมิชชั่นที่ร้านอาหารต้องจ่ายให้กับแอปสั่งอาหารหรือที่เรียกว่าค่า GP(Gross Profit)  ซึ่งตามปกติร้านจะต้องเสียค่า GP ประมาณ 20-30%  แต่ Robinhood ไม่คิดค่าธรรมเนียมการใช้แพลตฟอร์ม  ไม่มีค่าสมัคร ไม่คิดค่า GP (Gross Profit) ร้านอาหารได้เงินเต็มทุกบาททุกสตางค์ทำให้สามารถขายอาหารที่ได้ทั้งคุณภาพและปริมาณที่เหมาะสม  นอกจากนี้ร้านค้ายังสามารถเลือกเข้าร่วมโปรโมชั่นเพื่อมอบส่วนลด 8% ให้แก่ลูกค้าได้ โดยส่วนลดนั้นจะไม่เข้าแพลตฟอร์มแต่อย่างใดแต่จะส่งตรงให้แก่ลูกค้าใช้เป็นส่วนลดค่าอาหารตามออเดอร์ที่สั่ง ซึ่งส่วนลด 8% นี้จะช่วยเพิ่มโอกาสทางการขาย คืนกำไรกลับสู่ลูกค้า และสร้างความสัมพันธ์กับลูกค้าในระยะยาว

3.  เงินสดเข้าร้านทันทีภายใน 1 ชั่วโมง ทำให้มีกระแสเงินหมุนเวียนในการต่อยอดธุรกิจ

การเคลียร์เงินระหว่างร้านค้ากับแพลตฟอร์มส่วนใหญ่ระบบชำระเงินคืนกลับให้ร้านค้าจะเป็นแบบตัดรอบบิล โดยรอบบิลแต่ละรอบจะตัดแตกต่างกันออกไป เช่น ทุกสิ้นเดือน แต่สำหรับ Robinhood ได้ทำระบบการเคลียร์เงินค่าสั่งอาหารให้ได้ภายใน 1 ชั่วโมง จึงทำให้ร้านอาหารขนาดเล็กที่ต้องการใช้เงินทุนหมุนเวียนเพื่อซื้อวัตถุดิบในแต่ละวันสามารถมีเงินหมุนทันเพื่อนำไปใช้จ่ายในร้านอาหารได้ และ Robinhood รับจ่ายเงินผ่านระบบเท่านั้น (ไม่รับเงินสด) จึงทำให้สามารถเคลียร์เงินให้กับร้านอาหารและคนส่งได้ภายใน 1 ชั่วโมง


4. ช่วยร้านค้าเพิ่มรายได้นอกช่วงเวลาขายดี

โดยปกติร้านค้าบนแพลตฟอร์มฟู้ดเดลิเวอรีจะมีช่วงเวลาขายดีอยู่สองช่วง คือ มื้อกลางวัน (11.00 – 13.00 น.) และมื้อเย็น (17.00 – 19.00 น.) โดยช่วงเวลาที่เหลือนอกจากนั้น ยอดขายจะลดลง Robinhood จึงได้นำเอา dynamic delivery pricing เข้ามาช่วยเพิ่มโอกาสทางการขาย นั่นหมายความว่าถ้าสั่งอาหารในช่วงเวลาที่ไม่ใช่พีคของวันราคาค่าส่งอาหารก็จะถูกลง จึงเป็นเทคนิคหนึ่งในการกระตุ้นยอดขายให้ลูกค้าสั่งอาหารในช่วงเวลาอื่นๆ อีกด้วย

5.  เจ้าของร้านเข้าถึงสินเชื่อของธนาคารเพื่อขยายธุรกิจได้ง่ายขึ้น

ร้านค้าขนาดเล็กมักประสบกับปัญหาข้อจำกัดในการเข้าถึงสินเชื่อธุรกิจในระบบธนาคารพาณิชย์ เนื่องจากไม่มีหลักฐานยืนยันรายได้ที่แน่นอนเพราะส่วนใหญ่ร้านอาหารจะรับเป็นเงินสดทำให้ขาดหลักฐานยืนยันรายได้จากการเดินบัญชี แต่ถ้าหากมาเปิดร้านบนแพลตฟอร์ม Robinhood จะช่วยเพิ่มโอกาสในการเข้าถึงสินเชื่อในระบบธนาคาร เพราะ Robinhood เน้นการชำระเงินแบบไร้เงินสดที่เป็นดิจิทัลเพย์เมนต์แบบ 100% ทำให้ร้านค้ามีหลักฐานรายการเดินบัญชีที่สามารถใช้เป็นหลักฐานนำไปยื่นขอกู้เงินกับธนาคารพาณิชย์ได้สะดวกมากยิ่งขึ้น

นอกจากนี้ทาง Robinhood ยังมีทีมช่วยเหลือและสนับสนุนร้านค้าในการนำร้านขึ้นสู่แพลตฟอร์มออนไลน์โดยเฉพาะร้านค้าขนาดร้านเล็กที่ยังไม่เคยมีประสบการณ์เปิดร้านออนไลน์หรือขาดความชำนาญในการใช้แอปรับออเดอร์ผ่านแพลตฟอร์ม รวมไปถึงการช่วยเหลือแนะนำการสร้างคอนเทนต์อาหารให้น่าสนใจให้แก่ร้านอาหารอีกด้วย หาก ร้านอาหารสนใจอยากเปิดร้านออนไลน์ที่แพลตฟอร์ม Robinhood สามารถสมัครได้โดยดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน Robinhood Shop (โหลดได้ทั้ง App Store และ Play Store) กรณีเป็นบุคคลธรรมดาสามารถยืนยันตัวตนผ่าน SCB Application เริ่มต้นใช้งานได้ทันที ส่วนนิติบุคคลดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน Robinhood Shop แล้วกรอกข้อมูลระบบจะส่งเอกสารการสมัครให้ทาง e-mail   สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมที่ https://www.robinhood.in.th/merchant/