ผลการค้นหา "{{keyword}}" ไม่ปรากฎแต่อย่างใด
การใช้และการจัดการคุกกี้
ธนาคารมีการใช้เทคโนโลยี เช่น คุกกี้ (cookies) และเทคโนโลยีที่คล้ายคลึงกันบนเว็บไซต์ของธนาคาร เพื่อสร้างประสบการณ์การใช้งานเว็บไซต์ของท่านให้ดียิ่งขึ้น โปรดอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมที่ นโยบายการใช้คุกกี้ของธนาคาร
การใช้และการจัดการคุกกี้
ธนาคารมีการใช้เทคโนโลยี เช่น คุกกี้ (cookies) และเทคโนโลยีที่คล้ายคลึงกันบนเว็บไซต์ของธนาคาร เพื่อสร้างประสบการณ์การใช้งานเว็บไซต์ของท่านให้ดียิ่งขึ้น โปรดอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมที่ นโยบายการใช้คุกกี้ของธนาคาร
4 เรื่องศุลกากรที่ผู้ส่งออกต้องรู้
การส่งออกถือเป็นหนึ่งในเครื่องจักรเศรษฐกิจตัวหลักของประเทศ การรู้รายละเอียดสำคัญที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการส่งออก เช่นขั้นตอนศุลกากร จะช่วยผู้ประกอบการประเมินต้นทุนการส่งออกได้อย่างมีประสิทธิภาพ ในการสัมมนาออนไลน์ “เคล็ดลับบริหารส่งออกไทย ให้ไปไกลถึงต่างแดนอย่างมืออาชีพ” SCB SME ได้เชิญคุณศุทธิกานต์ กริชไกรวรรณ วิทยากรผู้ชำนาญด้านการศุลกากร มาให้ข้อมูลเกี่ยวกับพิธีการศุลกากร ภาษีส่งออกที่ผู้ประกอบการส่งออกควรรู้
ประเด็นศุลกากรสำหรับผู้ส่งออก
จากสถิติการส่งออกประเทศไทยตั้งแต่ปีพ.ศ. 2559- 2563 สูงสุดอยู่ที่ 8 ล้านล้านบาทในปีพ.ศ. 2561 และในปีพ.ศ.2563 ส่งออกสินค้าเกษตรมากขึ้น โดยมูลค่าส่งออกไปประเทศอาเซียน คิดเป็นสัดส่วน 25-30% คู่ค้าอันดับหนึ่ง ได้แก่ เวียดนาม รองมาคือมาเลเซีย อินโดนีเซีย สิงคโปร์ กัมพูชา ตามลำดับ ทั้งนี้ขั้นตอนศุลกากรในการนำเข้า/ส่งออกสินค้ายึดตามหลักการสากล ซึ่งสิ่งที่ผู้ประกอบการมักกังวลคือเรื่องอากร ทั้งขาออกจากไทย และขาเข้าประเทศปลายทาง ว่าจะทำให้ราคาสินค้าสามารถแข่งขันได้หรือไม่ และการส่งออกปัจจุบันมีความซับซ้อนกว่าเดิมเพราะไม่ได้มีแค่การซื้อขายโดยตรงระหว่างผู้ซื้อผู้ขาย แต่ยังมีคนกลางเข้ามาด้วย
คุณศุทธิกานต์กล่าวถึงสิ่งที่ผู้ประกอบการต้องศึกษาก่อนส่งออก ได้แก่
1) สินค้าเป็นของควบคุมการส่งออกของไทย หรือควบคุมการนำเข้าในประเทศผู้ซื้อหรือไม่?
ผู้ประกอบการสามารถศึกษาว่าของที่จะส่งออกมีกฎหมายใดควบคุมการส่งออกอยู่บ้าง ดูจากตัวบทกฎหมาย และเว็บไซต์ของหน่วยงาน เช่น พ.ร.บ.การส่งออกไปนอกและการนำเข้ามาในราชอาณาจักรซึ่งสินค้า พ.ศ. 2522 พรบ.มาตรฐานสินค้าขาออก พ.ศ.2503 พ.ร.บ.มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511 และอื่นๆ ทั้งนี้ มีการแบ่งประเภทเป็นของส่งออกที่ต้องขออนุญาต ของที่ต้องมีหนังสือรับรอง/ขึ้นทะเบียน/ขึ้นบัญชีประกอบการส่งออก ของที่ต้องขอใบรับรองมาตรฐาน บางกรณีจำกัดช่องทางการส่งออกด้วย เช่น ข้าว ส่งออกได้เฉพาะท่ากรุงเทพ ด่านศุลกากรแหลมฉบัง ด่านศุลกากรสุไหงโกลกและด่านศุลกากรปาดังเบซาร์
2) อากรขาออก และ อากรขาเข้าในประเทศผู้นำเข้าเป็นอย่างไร? มีสิทธิพิเศษทางการค้าระหว่างไทยกับประเทศผู้นำเข้าหรือไม่?
รายละเอียดอัตราอากรขาออกของไทย ค้นหาจาก ภาค 3 ของพ.ร.ก. พิกัดอัตราศุลกากร พ.ศ. 2530 แต่ปัจจุบันบางรายการได้รับยกเว้นอากร ตามประกาศใช้ในปัจจุบันตามม.12 พ.ร.ก.พิกัดฯ ซึ่งปัจจุบันอากรขาออกในประเทศไทย มีเรียกเก็บทั้งตามสภาพและตามราคา กรณีอัตราตามราคา ใช้ราคาศุลกากร คือ ราคาขายส่งเงินสดที่จะพึงขายของประเภทเดียวกันได้โดยขาดทุน ณ เวลาที่ส่งของออกโดยไม่มีการหักทอนหรือลดหย่อนราคาอย่างใด (เป็นราคา FOB) กรณีมีราคาที่อธิบดีกำหนด ให้ใช้ราคานั้นคำนวณอากรขาออก และอัตราแลกเปลี่ยนให้ใช้อัตราแลกเปลี่ยนที่อธิบดีกรมศุลกากรประกาศ ถ้าอัตราอากรมีทั้งสองแบบ ให้คำนวณทั้งสองแบบ และแบบใดที่ให้ผลลัพธ์สูงกว่าให้นำแบบนั้นมาแสดงต่อกรมศุลกากรเพื่อขอชำระอากรขาออก ในส่วนภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับการส่งออก กรมสรรพากรกำหนดว่า เป็นการขายเพื่อส่งออก อัตรา 0 ในการส่งรายงานภาษีมูลค่าเพิ่ม ให้ใช้ฐานราคา FOB อัตราแลกเปลี่ยนตามเกณฑ์ที่กรมสรรพากรกำหนด
ทั้งนี้ ผู้ส่งออกจำเป็นต้องทราบการจัดพิกัดฯ ของสินค้าส่งออกในระบบ HS code ที่ใช้กับการจัดสินค้าขาเข้าด้วย เพื่อนำชุดรหัสพิกัดนั้นมาใช้เป็นรหัสสถิติสำหรับการส่งออก และถ้าต้องการทราบว่าอัตราอากรสินค้าที่อยู่ในเงื่อนไขข้อตกลงการค้าเสรี (FTA) ที่ไทยมีกับประเทศต่างๆ ทั้งแบบทวิภาคีและพหุพาคี เพื่อศึกษาอัตราอากรขาเข้าในประเทศคู่เจรจา ก็สามารถสืบค้นได้จากประกาศกระทรวงการคลัง เรื่องการยกเว้นอากรและลดอัตราอากรศุลกากร ม. 14 และต้องมีใบรับรองถิ่นกาเนิดสินค้าส่งไปให้ผู้นำเข้า เพื่อให้ใช้สิทธิพิเศษตามความตกลงด้วย
ในส่วนราคาซื้อขายสินค้าส่งออก กรมศุลกากร / กรมสรรพากร ใช้ ราคา FOB คำนวณภาษีอากรในความรับผิดชอบ แต่ไม่ได้ห้ามการซื้อขายระหว่างผู้ประกอบการ โดยจะใช้ราคาที่รวมค่าขนส่ง ค่าประกันภัย หรือ ราคาที่รวมค่าใช้จ่ายใดๆตามความตกลง INCOTERM ที่เป็นข้อตกลงสากล ผู้ส่งออกต้องมีความรู้เรื่อง INCOTERM ซึ่งจะทำให้ผู้ซื้อผู้ขายทราบหน้าที่ ความรับผิดชอบของตนเองได้ชัดเจน ช่วยให้การซื้อขายง่ายขึ้น เช่น EXW CIF CIP DDP เป็นต้น
3) กระบวนการทางศุลกากรสำหรับการส่งออก และกระบวนการนำเข้ากรณีของส่งกลับคืน
อันดับแรก ผู้ประกอบการต้องไปลงทะเบียนเป็นผู้นำของเข้า ผู้ส่งของออกที่ www.customs.go.th และปฏิบัติตามพิธีการศุลกากรสาหรับการส่งออก ทำใบขนสินค้าออก ชำระอากรขาออกโดยปัจจุบันสามารถชำระผ่านระบบอีแบงก์กิ้งได้ด้วย กรณีที่ผู้ส่งออกจะใช้บริการตัวแทนออกของ (Shipping) ก็ต้องระบุชื่อบริษัทชิปปิ้งลงในระบบด้วย และทางบริษัทชิปปิ้งก็ต้องระบุชื่อผู้ส่งออกในระบบเช่นกัน ที่สำคัญผู้ส่งออกต้องมีใบขนสินค้าขาออก เป็นหลักฐานยื่นสรรพากรลงบัญชีเดบิตเครดิตระบบภาษีมูลค่าเพิ่ม
ในกรณีที่สินค้าที่ผลิตในประเทศและไม่เป็นของต้องห้ามการได้รับสิทธิตามกฎหมาย และส่งออกไปนอกราชอาณาจักรและได้รับเงินค่าสินค้า ขายสินค้าให้ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ ตามโครงการเงินกู้ /เงินช่วยเหลือจากต่างประเทศ หรือขายสินค้าตามภาค 4 (ภาคยกเว้นอากร) ให้แก่องค์การระหว่างประเทศที่มีสิทธินำสินค้านั้นเข้ามาในราชอาณาจักร จะได้รับเงินชดเชยอากรส่งออกตามพ.ร.บ.ชดเชยค่าภาษีอากรสินค้าส่งออกที่ผลิตในราชอาณาจักรในรูปแบบบัตรภาษี โดยต้องยื่นคำขอภายใน 1ปี นับแต่วันส่งออก
ในทางกลับกัน การนำเข้าสินค้าก็ต้องมีใบขนสินค้าขาเข้าและยื่นในระบบอิเล็กทรอนิกส์โดยผู้ยื่นต้องมีโปรแกรมการส่งข้อมูลใบขนสินค้าเข้าที่ได้รับการทดสอบจากกรมศุลกากรแล้ว และ มีลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ ที่แจ้งไว้กับกรมศุลกากร ซึ่งผู้ที่สามารถยื่นใบขนสินค้าได้ ได้แก่ผู้นำเข้า ผู้ส่งออก ดำเนินการด้วยตนเอง, ตัวแทนออกของที่รับมอบ ดำเนินการแทน, ใช้บริการเคาน์เตอร์เซอร์วิส หรือใช้บริการของเจ้าหน้าที่ศุลกากร ซึ่งจะมีค่าธรรมเนียมการบันทึกข้อมูล 100บาท/ฉบับ ใบขนสินค้าขาเข้า และ ใบขนสินค้าขาออก มีค่าธรรมเนียมการผ่านพิธีการ 200บาทต่อฉบับ
กรณีของส่งออก ถูกส่งกลับคืน หากสามารถพิสูจน์ได้ว่า ของที่นำกลับเป็นของเดียวกันกับที่ส่งออกไป ไม่เปลี่ยนแปลงรูปร่าง ลักษณะ เมื่อทำใบขนสินค้าขาเข้า จะได้รับการยกเว้นอากร ตามภาค 4ประเภท 1และได้รับยกเว้นภาษีสรรพสามิต และ ภาษีมูลค่าเพิ่มด้วย และหากได้รับเงินชดเชยฯ (บัตรภาษี) ไป ต้องนำเงินมาคืนก่อนจะรับของไปจากศุลกากร และต้องนำมาคืนภายในกำหนด 60 วัน นับแต่วันนำเข้า หากนำมาคืนเกินกำหนดจะต้องเสียเงินเพิ่ม ร้อยละ 2 ต่อเดือนหรือเศษของเดือน จนถึงวันที่นำมาคืน
4) มาตรการส่งเสริมการส่งออกของรัฐ
รัฐบาลมีนโยบายส่งเสริมการส่งออกผ่านสิทธิประโยชน์ทางภาษีอากร ดังนี้
· การคืนอากรการผลิตเพื่อส่งออก ตาม ม.29 : ของที่นำเข้ามาใช้ในการผลิตสินค้าส่งออกที่ได้ชำระอากรไว้ จะได้รับการคืนอากรขาเข้าให้เมื่อส่งสินค้าที่ผลิตแล้วอออกไปนอกราชอาณาจักร ตามสัดส่วนที่ใช้ในการผลิต ผู้ได้สิทธิ คือ ผู้นำเข้าที่ชำระอากรขาเข้าไว้
· คลังสินค้าทัณฑ์บน : ของที่นำเข้ามาใช้ในการผลิตสินค้า เมื่อผลิตสินค้าแล้วส่งออกไปนอกราชอาณาจักร หรือของที่นำเข้ามาในคลังฯ ภายหลังส่งออกไปนอกราชอาณาจักรในสภาพเดิม ของที่นำเข้าจะได้รับการยกเว้นอากรขาเข้าและอากรขาออกในเวลาที่ส่งออก โดยผู้ได้สิทธิ เป็นบุคคลใดก็ได้ เนื่องจากของที่นำเข้าได้เข้ามาอยู่ในพื้นที่ที่เรียกว่า คลังสินค้าทัณฑ์บน
· เขตปลอดอากร / เขตประกอบการเสรี : ของตามที่กฎหมายกาหนดที่นำเข้ามาในเขตฯ ได้รับยกเว้นอากรขาเข้า ของที่นำเข้าต้องนำมาใช้ในการประกอบธุรกรรมที่ได้รับอนุญาต ของที่ส่งออกไปนอกราชอาณาจักร จะได้รับยกเว้นอากรขาออก ผู้ได้สิทธิ เป็นบุคคลใดก็ได้ เนื่องจากของที่นำเข้าได้เข้ามาอยู่ในพื้นที่ที่เรียกว่า เขตปลอดอากร / เขตประกอบการเสรี
· กฎหมายการส่งเสริมการลงทุน : กฎหมายบัญญัติสิทธิประโยชน์ทั้งการลดหย่อนอากรขาเข้า และยกเว้นอากรขาเข้า ขึ้นกับกิจการที่ขอรับการส่งเสริมการลงทุนและยังได้รับสิทธิเรื่องภาษีเงินได้นิติบุคคลด้วย หากไม่ดำเนินการตามเงื่อนไข ต้องชาระอากรขาเข้าและภาษีอื่นๆที่ได้สิทธิในขณะนำเข้า ซึ่งผู้ได้สิทธิ คือ ผู้ที่ได้รับอนุมัติให้เป็นผู้ประกอบการส่งเสริมการลงทุน
นอกเหนือจากประเด็นศุลกากร SCB มีบริการผู้ประกอบการการส่งออกสินค้า ช่วยลดความเสี่ยงให้ธุรกิจดำเนินราบรื่นได้ เช่น บริหารความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยนจาก SCB FX , การทำธุรกรรมการเงินโอนเงิน/เก็บเงินทั้งในและต่างประเทศด้วย SCB Global Solution และบริการออนไลน์ www.scbtrade.com แพลตฟอร์มให้บริการข้อมูลเทรนด์สินค้านำเข้าส่งออก ข้อมูลตลาด มากกว่า 200 ประเทศ เพิ่มโอกาสขยายตลาดต่างประเทศ ทั้ง TRADE PORTAL : แพลตฟอร์มเดียวในประเทศไทยที่ให้บริการข้อมูลความเคลื่อนไหวของธุรกิจนาเข้า-ส่งออกตลอดจนมาตรการการนาเข้า/ส่งออก และเอกสารสาคัญที่ใช้ในการขนส่งสินค้าในแต่ละประเทศ ที่สำคัญยังมีข้อมูลอัตราภาษีของสินค้าแต่ละประเภท และสิทธิพิเศษ ที่จะได้รับเช่น Free Trade Areaกับ Thailand, ASEAN, WTO ฯลฯ ช่วยให้ผู้ประกอบการประมาณการต้นทุนเบื้องต้นได้ และ TRADE CLUB จับคู่ธุรกิจกับคู่ค้าที่มีคุณภาพและน่าเชื่อถือ
สนใจบริการสำหรับผู้ประกอบการส่งออก ติดต่อ Call Center 1164 หรือคลิกที่นี่ https://ccc.customs.go.th/
ที่มา : สัมมนาออนไลน์ “เคล็ดลับบริหารส่งออกไทย ให้ไปไกลถึงต่างแดนอย่างมืออาชีพ” วันที่ 26 สิงหาคม 2564
THE GLOBAL TRADE PLATFORM DESIGNED TO HELP YOUR BUSINESS EXPAND INTERNATIONALLY