ผลการค้นหา "{{keyword}}" ไม่ปรากฎแต่อย่างใด
การใช้และการจัดการคุกกี้
ธนาคารมีการใช้เทคโนโลยี เช่น คุกกี้ (cookies) และเทคโนโลยีที่คล้ายคลึงกันบนเว็บไซต์ของธนาคาร เพื่อสร้างประสบการณ์การใช้งานเว็บไซต์ของท่านให้ดียิ่งขึ้น โปรดอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมที่ นโยบายการใช้คุกกี้ของธนาคาร
การใช้และการจัดการคุกกี้
ธนาคารมีการใช้เทคโนโลยี เช่น คุกกี้ (cookies) และเทคโนโลยีที่คล้ายคลึงกันบนเว็บไซต์ของธนาคาร เพื่อสร้างประสบการณ์การใช้งานเว็บไซต์ของท่านให้ดียิ่งขึ้น โปรดอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมที่ นโยบายการใช้คุกกี้ของธนาคาร
โค้ชทีมให้ชนะในสภาวะที่ยากลำบากด้วยตัวผู้นำ
Leader as Coach ผู้นำที่จะประสบความสำเร็จในการนำพาองค์กรไปสู่ความสำเร็จ ต้องเป็นโค้ชที่ดีด้วย โดยเฉพาะเมื่อโลกใบนี้ไม่เหมือนโลกใบก่อนอีกต่อไป เมื่อโควิดได้ทิ้งคราบรอยแห่งความหวาดกลัว วิตกกังวลในใจผู้คน เพื่อจะก้าวผ่านการเปลี่ยนแปลงและความยากลำบากที่คุกคามเข้ามา ทุกคนในองค์กรต้องร่วมแรงร่วมใจพายเรือไปในทิศทางเดียวกัน เพราะผู้นำองค์กรเพียงลำพังคงฝ่าไปคนเดียวไม่ได้ ทำอย่างไรให้ทีมกลับมามีขวัญกำลังใจ มีส่วนร่วมในการผลักดันกลยุทธ์ขององค์กรเพื่อไปสู่เป้าหมายร่วมกัน การสื่อสารสองทางอย่างไว้ใจซึ่งกันและกัน โดย “การโค้ช” อย่างถูกวิธีจะช่วยเตรียมความพร้อมของพนักงานในเชิงรุกเพื่อก้าวและเติบโตไปกับการเปลี่ยนแปลงเมื่อ New Normal ก้าวเข้ามา มาฟังเทคนิคดีๆ เพื่อ Coaching to Win จาก อาจารย์เจี๊ยบ ดร. อัจฉรา จุ้ยเจริญ จาก ACCOMM Group โค้ชและวิทยากรคิวทอง ที่คว้ารางวัลในระดับสากล ด้าน Learning & Development และ Coaching และยังได้รับรางวัล Woman Leadership Award จาก CMO Asia อีกด้วย
การโค้ชสำคัญอย่างไรในช่วงวิกฤต ที่จะช่วยให้ทีมชนะไปด้วยกัน
อาจารย์เจี๊ยบกล่าวว่าในภาวะปกติการโค้ชทีมงานก็มีความสำคัญอยู่แล้ว แต่เมื่ออยู่ในภาวะวิกฤตการ Coaching ยิ่งทวีความสำคัญมากขึ้นไปอีก ซึ่งสรุปความสำคัญได้ใน 3 ประเด็นคือ
1. “Future oriented”
การคุยแบบโค้ชเน้นที่การมองไปสู่อนาคต มองหาความเป็นไปได้ใหม่ พาทีมเดินออกจาก Comfort zone ไปสู่ความหวังใหม่ๆ
2 . การโค้ชคือกาวใจให้ทีมได้เชื่อมกัน
ทำให้เกิดสื่อสารแบบสองทาง ในองค์กรต้องมี Human interaction ในภาวะวิกฤตที่เราอยู่ใน Social distancing ทำให้คนมีความเครียดและทำให้ Human interaction หรือการสื่อสารระหว่างกันลดลงไปเรื่อยๆ ถึงวิกฤตจะผ่านไปแต่ก็จะทิ้งคราบรอยเหล่านี้ไว้ซึ่งเราจะปล่อยบรรยากาศแบบนี้ไว้ไม่ได้ เพราะในการบริหารทีมต้องมี Two- way communication อาจารย์เจี๊ยบได้ยกตัวอย่างบริษัท IT แห่งหนึ่งที่เดิมพนักงานต่างคนต่างทำงานกับคอมพิวเตอร์ มีการสื่อสารทั้งระหว่างพนักงานกันเองและระหว่างหัวหน้ากับลูกน้องน้อยมาก เมื่อเกิดวิกฤต Cyber crime ขึ้นทำให้ทุกคนทำงานผ่านคอมพิวเตอร์ไม่ได้เหมือนเดิม แต่พนักงานยังต้องมาทำงานอยู่ มีผลให้พฤติกรรมของพนักงานเปลี่ยนไปมีการสื่อสารพูดคุยกันมากขึ้น มี Human interaction มากขึ้น มีการพูดคุยกันถึงไอเดียใหม่ๆ บรรยากาศในการทำงานดีขึ้น ผู้บริหารจึงพยายามสร้างวัฒนธรรมองค์กรที่มีการสื่อสารและการ มี Human interaction ไว้ต่อไป ผลคือ Customer satisfaction และ Employee engagement สูงขึ้นทั้งสองตัว การโค้ชจึงมีความสำคัญเพราะเป็นการสื่อสารที่ช่วยสร้างบรรยากาศที่ดีและส่งเสริมการสร้าง Innovation ที่จะทำให้องค์กรผ่านวิกฤตไปได้
3. ผลักดัน Strategic thinking ไปสู่ Strategic acting
ในช่วง Crisis recovery ทุกกิจการต่างก็อยากให้กิจการเติบโตเป็นรูปตัว V หรือ U ดังนั้นทุกองค์กรจึงต้องมีกลยุทธ์ แต่ปัญหาที่องค์กรพบคือ มีกลยุทธ์ที่ดีแต่ไม่สามารถผลักดัน กลยุทธ์ไปสู่การนำไปปฏิบัติจริงได้ ซึ่งที่มาของปัญหาหลักคือพฤติกรรมของคน องค์กรต้องการจะเปลี่ยนแต่พนักงานไม่ยอมเปลี่ยน จากผลการวิจัย ของ Harvard Business Review Analytics ในปี 2019 เรื่ององค์กรที่สามารถปรับใช้ กลยุทธ์ได้รวดเร็วต้องมีองค์ประกอบอะไรบ้าง ผลการศึกษาพบว่า 80% ขององค์กรที่ประสบความสำเร็จในการนำ กลยุทธ์ไปสู่การปฏิบัติ คือองค์กรที่ให้ความสำคัญกับการสร้างความสามารถในการโค้ชของผู้นำ
ทีมแบบไหนที่จะ Win ใน New Normal
ถ้าทีมจะ Win ผู้นำก็ต้อง win ทีมก็ต้อง win คือต้องชนะไปด้วยกัน แล้วจะวินด้วยกันได้อย่างไร
สิ่งที่ทำให้คนเครียดมากที่สุดคือ “การเปลี่ยนแปลง” “การสูญเสีย” และอีกหนึ่งในสิ่งที่ทำให้คนเครียดก็คือ โรคระบาด เพราะทำให้เราต้องควบคุมพฤติกรรมตัวเอง มีการทดลองที่น่าสนใจเพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการแก้ปัญหาที่ยากของกลุ่มทดลอง 2 กลุ่ม โดยทั้งสองกลุ่มมีสภาพแวดล้อมที่เหมือนกัน โดยกลุ่ม A กำหนดให้ทานคุ้กกี้ที่น่าทานมาก แต่ห้ามทานผักขม ส่วนกลุ่ม B ต้องทานผักขมให้หมดแต่ไม่ให้ทานคุ้กกี้ ซึ่งกลุ่ม B ต้องมีการควบคุมพฤติกรรมตัวเองให้ไม่ทำในสิ่งที่อยากทำ ต่อมาให้คนทั้งสองกลุ่มแก้ปัญหาที่ยากแล้วดูว่ากลุ่มไหนจะยอมแพ้ก่อน ผลปรากฏว่ากลุ่ม B ที่กินผักขมยอมแพ้ก่อนเพราะต้องใช้พลังงานในการควบคุมตัวเอง พอต้องมาใช้พลังในการแก้ปัญหาที่ยากทำให้เขายอมแพ้เร็วมาก ดังนั้นในการช่วยให้คนมี Can จึงต้องสร้างบรรยากาศในการเรียนรู้ให้เขารู้สึกปลอดภัยที่สุด
องค์ประกอบของบรรยากาศการเรียนรู้ที่ SAFE
S = Security
สื่อสารว่าในอนาคต competency ที่ต้องมีคืออะไร ให้เขาเห็นเส้นข้างหน้าชัดเจน
A = Autonomy
ให้อิสรภาพเขาในการที่จะเรียนรู้ ให้เขาเลือกได้ว่ารูปแบบการเรียนแบบไหนที่เขาต้องการ
F = Fairness ผลตอบรับ คำชมเชยต้องสมน้ำสมเนื้อกับการลงงาน ลงแรง
E = Engage อยู่ในบรรยากาศที่เป็นส่วนหนึ่งของทีม คือให้เขา Feel included
การโค้ชเน้นการสื่อสารสองทาง สร้างการเรียนรู้ใน safe space การสร้าง Trust ซึ่งต้องไว้เนื้อเชื่อใจซึ่งกันและกันทั้งสองฝ่าย และการโค้ชคือการที่ให้เขา commit ด้วยตัวเขาเองโดยที่โค้ชไม่ต้องไปบังคับ
การโค้ชช่วยให้ทีม Win อย่างไร?
การโค้ชคือทำให้ทีมปลดล็อคด้วยตัวเขาเอง ทีมต้องมี want ด้วยตัวเองและต้องรู้ก่อนว่าอะไรเป็นโซ่ที่ล่ามความคิดเขาเอาไว้ไม่ให้เดินไปข้างหน้า เพราะไม่มีใครรู้ว่าสถานการณ์จริงๆ ในชีวิตของคนๆ นั้นคืออะไร ตัวเขาเองที่รู้ดีที่สุด ดังนั้นโค้ชจึงทำหน้าที่ช่วยให้เขาเข้าใจตัวเอง
“ A good coach introduces you to yourself ”
เพราะโค้ชที่ดีไม่ใช้การบังคับและบอกให้เขาทำอย่างไร แต่การพูดคุยสื่อสาร 2 ทางจะทำให้ Coachee หรือผู้ได้รับการโค้ชรู้จักตัวเองได้ดีขึ้น ถ้าผู้นำอยากให้ทีมขจัดความคิดในเชิงลบหรือความกลัวออกไป ต้องทำให้เขาเข้าใจตัวเองก่อน เพราะถ้าเขาไม่รู้จักตัวเองก็กำจัดจุดอ่อนไม่ได้ “
You cannot get rid of something you don’t know
” โค้ชต้องทำให้ทีมคนนั้นรู้ว่าเขามีสิ่งใดอยู่ที่ฉุดเขาไว้ โค้ชทำให้เขาเห็นตัวเองว่าความคิดแบบไหนที่ไม่ก่อประโยชน์ต่อทีมและตัวเขาเอง และจริงๆ แล้ว 85% ในความคิดของเราเป็นเรื่องของอารมณ์ไม่ใช่เหตุผล ดังนั้นโค้ชที่ดีต้องฟังทั้งเหตุผลและอารมณ์และดูว่าเขามีอารมณ์ที่ไม่มีประโยชน์ต่อองค์กรเหล่านี้หรือไม่ ซึ่งเรียกง่ายๆ ว่า
3 ย
ซึ่งทั้ง 3 ความคิดจะทำให้ทีมไม่ win แต่โค้ชที่ดีจะไม่บอกหรือดุว่า แต่การพูดคุยที่ดีจะสะท้อนให้เขาเห็นว่าเขามีความคิดลบๆ แบบนี้อยู่หรือเปล่า ซึ่งจริงๆ เรื่องของความรู้สึกเหล่านี้แก้ยาก จึงต้องใช้การโค้ชเข้ามาช่วยเยอะมาก
ในโลกของ New Normal หลายสิ่งหลายอย่างจะเปลี่ยนไปเราต้องมองทุกอย่างแบบ Beginners eyes เพราะในสายตาของคนที่มองโลกว่าที่ทุกอย่างใหม่ ยังไม่รู้อะไรเลยจะทำให้เกิดการศึกษามากกว่าและมองเห็นความเป็นไปได้ใหม่ๆ เยอะกว่าคนที่มองว่าตัวเองเป็น Expert ที่จะเห็น Possibilities น้อยกว่า อาจารย์เจี๊ยบเล่าถึง ตัวอย่างจากบริษัทรถยนต์เมื่อย้อนกลับไปเมื่อช่วงที่มีวิกฤตการเงินในปี 2008 บริษัทรถยนต์ในอเมริกาใช้วิธีการลดราคาขาย โดยที่แทบไม่ได้กำไร แต่มีบริษัทหนึ่งคือฮุนไดซึ่งกลับมามองว่าวิธีการนี้ถูกต้องจริงหรือไม่ จึงเริ่มจากมุมมองแบบ Beginners eyes จึงทำการสำรวจลูกค้าเป้าหมาย ปรากฏว่าสิ่งที่พบคือไม่ใช่ว่าลูกค้าไม่มีเงินซื้อ แต่ลูกค้ากลัวว่าปีหน้าอาจจะตกงาน ฮุนไดจึงออกแคมเปญว่า ถ้าซื้อรถไปแล้วตกงานสามารถเอารถมาคืนได้ จะคืนเงินให้ ซึ่งสุดท้ายมีคนเอารถมาคืนเพียง 5 คัน ซึ่งการโค้ชช่วยให้ทีมมี
Beginners eyes ไม่ให้ตัดสินอะไรจากอดีตที่หมดอายุไปแล้ว
Do and Don' t ในการโค้ช
Do ประกอบด้วย 3 C
Don’t
ทีมจะก้าวไปสู่เป้าหมายได้ทุกคนในทีมทั้งผู้นำและลูกทีมต้องพายเรือไปในทิศทางเดียวกัน ในการสร้างพลังของความเป็นหนึ่งเดียว โดยเฉพาะหลังจากที่ทีมได้ผ่านวิกฤตและกำลังเดินเข้าสู่ New Normal ที่ทุกอย่างเปลี่ยนแปลงไป การสื่อสารแบบ 2 ทาง ด้วยความไว้เนื้อเชื่อใจซึ่งกันและกัน เรียนรู้ร่วมกันในสภาพแวดล้อมที่ปลอดภัยด้วยการโค้ชอย่างถูกวิธี จะกระตุ้นให้เกิดนวัตกรรมใหม่ๆ อย่างต่อเนื่อง ที่จะนำพาองค์กรไปสู่ความสำเร็จในโลกใหม่อย่างยั่งยืน
ดังนั้นบทบาทในการเป็นโค้ชของผู้นำจึงมีความสำคัญที่จะดึงศักยภาพและพลังบวกของพนักงานแต่ละคนออกมาและทำให้ทีมเดินไปสู่จุดหมายเพื่อ WIN ไปด้วยกัน
ที่มา : SCBTV โค้ชทีมอย่างไรหลังบริษัทกลับมาฟื้นฟูธุรกิจ ทาง Facebook SCB Thailand วันที่ 27 พฤษภาคม 2563